มะม่วงหิมพานต์ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Anacardium occidentale L. ในวงศ์ Anacardiaceae ผลรูปคล้ายไต เปลือกแข็ง ยางเป็นพิษ มีเมล็ดอยู่ภายใน คั่วแล้วกินได้ ก้านผลอวบนํ้า ลักษณะคล้ายผลชมพู่, คนทั่ว ๆ ไปมักเข้าใจว่าก้านผลนี้คือ ผล ส่วนผลรูปคล้ายไตว่า เมล็ด. |
สัตว์หิมพานต์ | (-หิมมะ-) น. สัตว์ในวรรณคดีที่เชื่อกันว่าอยู่ในป่าหิมพานต์ เช่น คชสีห์ กินนร นรสิงห์, รูปหุ่นที่ผูกเป็นรูปสัตว์ในวรรณคดี ใช้บรรทุกผ้าไตรแห่เข้าขบวนพระบรมศพในสมัยโบราณ. |
หิมพานต์ | (หิมมะ-) น. ชื่อป่าหนาวแถบเหนือของอินเดีย |
หิมพานต์ | ชื่อกัณฑ์ที่ ๒ แห่งเวสสันดรชาดก. |
กมล | (กะมน) ว. เหมือนบัว เช่น เต้าสุวรรณกมลคนที (ม. คำหลวง หิมพานต์), บางทีใช้ว่า กระมล. |
กัณฑ์ | (กัน) น. ข้อความที่แต่งเป็นคำเทศน์เรื่องหนึ่ง ๆ ที่จบลงคราวหนึ่ง ๆ, ตอนหนึ่ง ๆ ของคำเทศน์ที่เป็นเรื่องยาว เช่น มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ทศพร กัณฑ์หิมพานต์, ลักษณนามของเทศน์ เช่น เทศน์กัณฑ์หนึ่ง เทศน์ ๒ กัณฑ์ |
กามท-, กามทท | (กามมะทะ-, กามมะทะทะ, กามมะทด) น. การให้ตามที่ปรารถนา, ผู้ให้สิ่งที่น่าปรารถนา เช่น หนึ่งโสดกามทราช จักประพาศยลราชี ตามวิถีแนวไม้ไพรระเรียง (ม. คำหลวง หิมพานต์). |
การเวก ๑ | (การะ-) น. ชื่อนกในเรื่องปรัมปรา เชื่อกันว่ามีอยู่ในป่าหิมพานต์ บินสูงเหนือเมฆ ร้องเพราะ สัตว์ทั้งหลายได้ยินก็หยุดชะงักไป. |
กำทวน | ว. สนั่น, หวั่นไหว, ก้อง, เช่น เสียงมฤคคชสีหไกรสร สีหนาทกำธร กำทวนข้างป่าหิมพานต์ (สมุทรโฆษ). |
โกษีย์ | น. โกสีย์ เช่น สมเด็จท้าวโกษีย์ (ม. คำหลวง หิมพานต์). |
ฉัททันต-, ฉัททันต์ | (ฉัดทันตะ-) น. ชื่อสระใหญ่สระ ๑ ในสระทั้ง ๗ ในป่าหิมพานต์. |
ชมเชย | แสดงกิริยาเสน่หา เช่น จักปราไสสอง ทรามรัก เล็งพระภักตร์แล้วชมเชย (ม. คำหลวง หิมพานต์). |
ทศมาส | น. ๑๐ เดือน เช่น เมื่อพระนางเธอทรงพระครรภ์ถ้วนทศมาส ปรารถนาจะประพาสชมพระนคร (ม. ร่ายยาว หิมพานต์). |
ทัณฑิมา | (ทันทิ-) น. ชื่อนกในพวกสัตว์หิมพานต์ มีศีรษะเป็นรูปนกอินทรีมีหงอนเผล้ไปข้างหน้า กายเป็นอย่างมนุษย์ ขาเป็นอย่างไก่ ถือไม้เท้ายาว. |
นรสีห์ | (นอระ-) น. คนที่เก่งกล้าดุจราชสีห์, สัตว์หิมพานต์พวกหนึ่ง ท่อนบนเป็นมนุษย์ผู้ชาย ท่อนล่างเป็นราชสีห์. |
นักงาน | น. หน้าที่ เช่น อันการสงครามครั้งนี้ ไว้นักงานพี่จะช่วยหัก (รามเกียรติ์ ร. ๑), เจ้าพนักงาน เช่น เหวยนักงานเอ๋ย เร่งรุกเร็วบัดนี้พลัน จงแสดงทุกข์แห่งโอรส ให้ปรากฏโดยคดี ว่าบัดนี้หมู่สีพีลงโทษ โกรธจอมธรรม์ (ม. คำหลวง หิมพานต์). |
มักกะลีผล | น. ชื่อต้นไม้ในนิยาย ว่ามีอยู่ที่ป่าหิมพานต์ ออกผลเป็นรูปหญิงสาวงดงามห้อยย้อยเป็นระย้า ผลเมื่อครบ ๗ วันก็เน่า, นารีผล ก็เรียก. |
มุจลินท์ | ชื่อสระใหญ่ในป่าหิมพานต์ ซึ่งขอบสระประกอบด้วยต้นจิก. |
เรือรูปสัตว์ | น. เรือหลวง มีทั้งประเภทเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้นกับเรือเสริมกราบ มีลักษณะพิเศษตรงศีรษะเรือต่อไม้ขึ้นไปแล้วสลักเป็นรูปสัตว์หิมพานต์ หรือรูปอมนุษย์ต่าง ๆ เช่น ครุฑ อสุรปักษา พญานาค ตอนท้ายเรือต่อไม้ทำเป็นทวนเชิดงอนไปล่ปลิวไปทางด้านหลัง เช่น เรือเอกไชยเหินหาว เรือพาลีรั้งทวีป เรือครุฑเหินระเห็จ เรืออสุรปักษี, บางทีเรียกว่า เรือกระบวนปิดทอง. |
หอมยับ | ก. รวบเก็บไว้ เช่น ข้าแต่พระองค์ผู้เปนเครื่องประดับซึ่งให้หอมยับทรัพย์หนใด (ม. คำหลวง หิมพานต์). |
หิมวัต | ศัพท์นี้แผลงใช้ได้หลายอย่างคือ ๑. หิมวาท (แผลงจาก ส. หิมวตฺ) ๒. หิมวาน ๓. หิมพาน (รูปประถมแห่ง ส. หิมวตฺ) ๔. หิมวันต์ (ป. หิมวนฺต) ๕. หิมพานต์ (แผลงจาก ป. หิมวนฺต) ๖. หิมวา (รูปประถมแห่ง ป. หิมวนฺต). |
หิมวาส, หิมเวศ | (หิมมะวาด, หิมมะเวด) น. ที่อยู่อันหนาว คือ ป่าหิมพานต์ |
อโนดาต | น. ชื่อสระ ๑ ในสระทั้ง ๗ ในป่าหิมพานต์ ได้แก่ ๑. สระอโนดาต ๒. สระกัณณมุณฑะ ๓. สระรถการะ ๔. สระฉัททันตะ ๕. สระกุณาละ ๖. สระมัณฑากินี ๗. สระสีหัปปปาตะ. |
อุปกาศ | (อุปะกาด, อุบปะกาด) ก. แจ้งข่าว เรื่อง หรือข้อความ เช่น เขือไปอุปกาศแล้ว เขือมา (ลอ), ร้องอุปกาศสารแก่กรุงสญชัยปิตุราช (ม. ร่ายยาว หิมพานต์). |