ขลุ่ยอู้ | น. ชื่อขลุ่ยชนิดหนึ่ง มีขนาดยาวและใหญ่กว่าขลุ่ยเพียงออ มีเสียงต่ำ ใช้เฉพาะในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์. |
ซออู้ | น. ชื่อซอชนิดหนึ่ง มีสาย ๒ สาย กะโหลกซอตัดจากกะโหลกมะพร้าว มีเสียงทุ้มกังวาน ใช้บรรเลงรวมอยู่ในวงเครื่องสาย วงมโหรี วงปี่พาทย์ไม้นวม และวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์. |
บ้านเคยอยู่ อู่เคยนอน | น. สถานที่ตนเคยอยู่อาศัยมาก่อน. |
อุดอู้ | ว. อับ, ไม่โปร่ง, (ใช้แก่สถานที่). |
อู่ | น. เปลเด็ก, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระอู่ |
อู่ | ที่เดิม ในคำว่า มดลูกเข้าอู่ |
อู่ | แหล่งที่เกิด เช่น อู่ข้าว อู่นํ้า |
อู่ | ที่ที่ต่อหรือซ่อมรถหรือเรือ |
อู่ | ที่ที่ไขนํ้าเข้าออกได้ สำหรับเก็บเรือหรือซุง. |
อู่น้ำ | น. อู่ซ่อมเรือชนิดหนึ่ง เมื่อนำเรือเข้าในอู่แล้ว ปรับระดับนํ้าภายในอู่ให้เรือลอยอยู่ในระดับที่ต้องการเพื่อให้ซ่อมได้โดยสะดวก. |
อู่ลอย | น. อู่ซ่อมเรือชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้ายแพ เคลื่อนที่ได้ และสามารถปรับระดับให้จมหรือลอยอยู่ในระดับลึกที่ต้องการ เมื่อนำเรือเข้าอู่แล้ว ปรับระดับอู่ให้ลอยตัวยกเรือขึ้นพ้นนํ้าเพื่อซ่อมท้องเรือภายนอก. |
อู่แห้ง | น. อู่ซ่อมเรือชนิดหนึ่ง เมื่อนำเรือเข้าอู่แล้ว สูบนํ้าภายในอู่ออกให้หมด ทำให้สามารถซ่อมท้องเรือภายนอกได้. |
อู้ ๑ | ว. มีเสียงอย่างเสียงลมพัด |
อู้ ๑ | มาก ในคำว่า บ่นอู้. |
อู้ ๑ | น. ชื่อซอ ๒ สายชนิดหนึ่ง ตัวกะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าวชนิดกลมรี ใช้หนังแพะหรือหนังลูกวัวขึงขึ้นหน้า คันสีหรือคันชักทำด้วยไม้จริงหรืองา สายทำด้วยขนหางม้า มีเสียงทุ้มในเวลาสี เรียกว่า ซออู้. |
อู้อี้ | ว. มีเสียงไม่ชัดเจนอย่างเสียงคนจมูกบี้หรือคนบ่น. |
อู้ ๒ | ก. ถ่วง, แกล้งทำให้เสร็จช้าลง, เช่น อู้งาน, รอเวลาไว้เพื่อหวังเอาประโยชน์ ในความว่า อู้ไว้กินบ้อ (ในการเล่นบ้อหุ้น). |
อู๋อี๋ | ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงชักคันซอ. |
กล่อมมดลูก | ก. เร่งให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้นโดยการประคบบริเวณท้อง. |
การพาณิชยนาวี | น. การขนส่งทางทะเล การประกันภัยทางทะเล การเดินเรือ กิจการอู่เรือ กิจการท่าเรือ และกิจการที่เกี่ยวเนื่องหรือเป็นส่วนประกอบกับกิจการดังกล่าว. |
ขลุ่ย | (ขฺลุ่ย) น. ชื่อเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า มักทำจากไม้รวก ไม้ชิงชัน ไม้พะยูง งาช้าง ปัจจุบันใช้วัสดุอื่นก็มี เช่น พลาสติก เจาะรูตามยาวมีระยะห่างพอควร สำหรับเอานิ้วปิดและเปิดให้เป็นเพลงเมื่อเป่า, มีหลายชนิด เช่น ขลุ่ยอู้ ขลุ่ยหลีบ ขลุ่ยเพียงออ, ลักษณนามว่า เลา. |
ช้าลูกหลวง | น. การขับกล่อมพระราชโอรสพระราชธิดาในพระราชพิธีสมโภชขึ้นพระอู่. |
ซอ ๒ | น. ชื่อเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสี ใช้คันชักสีกับสายซอที่ขึงตึงเพื่อให้เกิดเสียง มีหลายชนิด เช่น ซอสามสาย ซออู้ ซอด้วง, ลักษณนามว่า คัน. |
ตั้วสิว | ก. ซ่อมแซม เช่น ต้องตั้วสิวสำเภาเอาเข้าอู่ (เพลงยาวของกรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์). |
บ้อ, บ้อหุ้น | น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง เขียนตารางสี่เหลี่ยมหรือวงกลมลงบนพื้น มีผู้เล่น ๒ ฝ่าย แต่ละฝ่ายออกสตางค์ฝ่ายละ ๒-๓ อัน เอามารวมกัน ฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้โยนสตางค์ทั้งหมดลงในตารางหรือวงกลมนั้นให้กระจาย อีกฝ่ายหนึ่งจะชี้สตางค์อันใดอันหนึ่งให้ฝ่ายโยน ฝ่ายโยนจะต้องใช้สตางค์อีกอันหนึ่ง เรียกว่า “อีตัว” โยนลงให้ประกบสตางค์อันที่เขาชี้ให้ ถ้าโยนลงไปประกบได้ ก็เป็นฝ่ายชนะ ได้สตางค์ทั้งหมด ถ้าโยนถูกสตางค์อันอื่น ก็เป็นฝ่ายแพ้ ต้องเสียสตางค์ทั้งหมดให้ฝ่ายชี้ แต่ถ้าฝ่ายโยนไม่มั่นใจว่าจะโยนอีตัวไปประกบได้ ก็อาจโยนอีตัวลงไปในที่ว่าง เรียกว่า “อู้ไว้” หมายความว่า กินไม่ได้ แล้วอีกฝ่ายหนึ่งก็จะเป็นผู้โยนบ้าง ฝ่ายที่โยนก่อนก็เปลี่ยนมาเป็นผู้ชี้บ้าง. |
ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ | ก. ทำตามความพอใจของผู้ที่จะได้รับผลโดยตรง, มักพูดเข้าคู่กับ ผูกอู่ตามใจผู้นอน เป็น ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน. |
พระราชพิธี | น. พิธีที่พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดไว้ตามราชประเพณี เช่น พระราชพิธีฉัตรมงคล พระราชพิธีสงกรานต์ พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี. |
เห่ | น. ทำนองที่ขับร้องในบางพระราชพิธี, ถ้าใช้เมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่งในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรียกว่า เห่เรือ, ถ้าใช้ในพระราชพิธีขึ้นพระอู่พระเจ้าลูกเธอ เรียกว่า เห่กล่อม |