ก้นปล่อง | น. ชื่อยุงในสกุล Anopheles วงศ์ Culicidae ที่พบทั่วไป เช่น ชนิด A. dirus Peyton & Harrison, A. minimusTheobald, A. maculatus Theobald ยุงเหล่านี้เวลาเกาะหรือดูดเลือดคนหรือสัตว์ หัวจะปักลง ก้นชี้ขึ้น ผนังด้านล่างของส่วนท้องไม่มีเกล็ด ทั้งเพศผู้และเพศเมียมีรยางค์ปากยื่นยาวออกมา ๑ คู่ ทำให้เหมือนกับมีปากเป็นสามแฉก เพศเมียดูดเลือดและบางชนิดเป็นพาหะในการนำโรคมาสู่คนและสัตว์ เช่น ไข้มาลาเรีย เพศผู้กินนํ้าหรือนํ้าหวานจากเกสรดอกไม้. |
กรอก ๒ | (กฺรอก-) น. ชื่อนกยางขนาดเล็ก ในวงศ์ Ardeidae นอกฤดูผสมพันธุ์เพศผู้และเพศเมียสีลำตัวคล้ายกัน แต่ในฤดูผสมพันธุ์สีต่างกัน ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ยางกรอกพันธุ์จีน [ Ardeola bacchus (Bonaparte) ] หัวสีนํ้าตาลแดง หลังสีเทาดำ อกสีแดง ยางกรอกพันธุ์ชวา [ A. speciosa (Horsfield) ] หัวและคอสีเหลือง หลังสีเทาดำ อกสีเหลือง และยางกรอกพันธุ์อินเดีย [ A. grayii (Sykes) ] หัวและคอสีเหลือง หลังสีแดงเข้ม อกสีน้ำตาลเหลือง กินปลาและสัตว์น้ำ. |
กระจาบ | น. ชื่อนกขนาดเล็ก วงศ์ย่อย Ploceinae ในวงศ์ Ploceidae ปากหนารูปกรวย ปลายหางมน ขนหัวและขนตัวลาย ในฤดูผสมพันธุ์ขนหัวเพศผู้เปลี่ยนเป็นสีเหลือง มี ๓ ชนิด คือ กระจาบธรรมดาหรือกระจาบอกเรียบ[ Ploceus philippinus (Linn.) ] กระจาบอกลาย [ P. manyar (Horsfield) ] ทำรังด้วยหญ้าหรือฟางข้าวห้อยอยู่กับกิ่งไม้หรือต้นพืชน้ำเช่นกก ปากรังอยู่ด้านล่าง และกระจาบทอง [ P. hypoxanthu s (Sparrman) ] ทำรังด้วยหญ้าหรือฟางข้าวโอบหุ้มกิ่งไม้หรือใบพืชน้ำ ปากรังอยู่ทางด้านข้าง มักอยู่รวมกันเป็นหมู่ กินเมล็ดพืช. |
กระชอมดอก | น. ดอกเพศผู้ของพรรณไม้เลื้อย เช่น ฟักทอง บวบ ซึ่งเรียกกันว่า ดอกถวายพระ. |
กระดอ | น. อวัยวะสืบพันธุ์ของชายหรือสัตว์เพศผู้บางชนิด. |
กระโดน | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Careya sphaerica Roxb. ในวงศ์ Lecythidaceae ชอบขึ้นในป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้น ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมากเป็นพู่คล้ายดอกชมพู่ ขาว หอม ดอกบานเต็มที่กว้าง ๕-๘ เซนติเมตร ผลค่อนข้างกลม ใบอ่อนใช้เป็นผัก เปลือกใช้เบื่อปลาหรือทุบเป็นแผ่นปูหลังช้าง, โดน จิก ปุย ปุยกระโดน ปุยขาว หรือ ผ้าฮาด ก็เรียก. |
กระเบา ๑ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Hydnocarpus วงศ์ Flacourtiaceae เช่น กระเบาใหญ่หรือกระเบานํ้า ( H. anthelminthicaPierre ex Laness.) เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลกลม เปลือกแข็ง มีขนสีนํ้าตาล ขนาดเท่าผลส้มโอขนาดย่อม เนื้อในเป็นแป้งสีเหลืองอ่อน ๆ กินได้ เมล็ดมีนํ้ามัน เคยใช้เป็นยาแก้โรคเรื้อน ต้นที่มีแต่ดอกเพศผู้ เรียกว่า แก้วกาหลง, กระเบากลักหรือกระเบียน ( H. ilicifolia King) เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ผลกลม เปลือกแข็ง มีขนสีดำ ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยง. |
กระสา ๑ | ชื่อนกยางขนาดใหญ่ ในวงศ์ Ardeidae ปากยาว ปลายแหลม ฤดูผสมพันธุ์เพศผู้มีขนยาวบริเวณท้ายทอย ๒ เส้น คอยาว เวลาบินคอโค้งงอ ขายาว เล็บของนิ้วกลางที่หันไปข้างหน้าหยักคล้ายซี่หวี ทำรังด้วยกิ่งไม้บนยอดไม้สูงปานกลาง กินปลาและสัตว์น้ำ ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ กระสานวล ( Ardea cinerea Linn.) กระสาแดง ( A. purpurea Linn.) และกระสาใหญ่ ( A. sumatrana Raffles). |
กระอาน | น. ชื่อเต่านํ้ากร่อยขนาดใหญ่ชนิด Batagur baska (Gray) ในวงศ์ Emydidae จมูกแหลมงอนคล้ายตะพาบ เมื่อยังเล็กกระดองค่อนข้างแบน เมื่อโตขึ้นกระดองโค้งรี เพศเมียหัวและกระดองสีน้ำตาล เพศผู้หัวและกระดองสีดำตาสีขาว ตีนมีพังผืดเต็ม สามารถปรับตัวอยู่ในนํ้าจืดได้ พบในบริเวณที่มีน้ำไหลทางภาคใต้โดยเฉพาะแถบจังหวัดสตูล, กะอาน ก็เรียก. |
กัญชา | (กัน-) น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Cannabis sativa L. ในวงศ์ Cannabaceae ใบมนแฉกลึกเข้าไปทางก้านหลายแฉก ดอกสีเขียว ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ใบและช่อดอกเพศเมียที่แห้งเรียก กะหลี่กัญชา ใช้สูบปนกับยาสูบ มีสรรพคุณทำให้มึนเมา เปลือกลำต้นใช้ทำเชือกป่าน และทอผ้า. |
การะเกด | น. ชื่อไม้พุ่มเพศผู้ชนิด Pandanus tectorius Parkinson ex Du Roi ในวงศ์ Pandanaceae มักขึ้นในที่ชื้นแฉะและริมนํ้า ใบแคบและยาว ขอบใบมีหนามห่าง ๆ ดอกสีเหลือง กลิ่นหอม, ลำเจียกหนู ก็เรียก. |
กิ้งก่า | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Agamidae มีขนาดลำตัวต่าง ๆ กัน สันกลางของคอถึงลำตัวมีหนามแหลมจำนวนและขนาดต่างกัน เพศผู้มีสีเข้มและปรับสีได้ดีแตกต่างจากเพศเมีย ตัวและขามีเกล็ด ขาและนิ้วเล็กเรียว เล็บแหลมคม หางยาว ส่วนใหญ่อาศัยบนต้นไม้ เช่น กิ้งก่าบ้านหัวนํ้าเงิน ( Calotes mystaceus Dumeril & Bibron) กิ้งก่าเขา [ Acanthosaura armata (Hardwicke & Gray) ], อีสานเรียก ปอม กะปอม กะทั่ง หรือ กะท้าง. |
กุ้งนาง | น. กุ้งก้ามกรามเพศเมีย ลำตัวและก้ามมีขนาดเล็กกว่าเพศผู้เสมอเมื่อมีอายุเท่ากัน สีอ่อนกว่ากุ้งก้ามกรามซึ่งเป็นเพศผู้ วางไข่ติดหน้าท้อง ไข่ฟักเป็นตัวอ่อนในน้ำกร่อย แล้วมาอาศัยเจริญเติบโตจนเป็นตัวเต็มวัยในน้ำจืด. |
แก้วกาหลง | น. ต้นกระเบาใหญ่ที่มีแต่ดอกเพศผู้. (ดู กระเบา ๑). |
ควย | น. อวัยวะสืบพันธุ์ของชายหรือสัตว์เพศผู้บางชนิด. |
คางคกไฟ | น. ชื่อสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกชนิด Bufo parvus Boulenger ในวงศ์ Bufonidae ขนาดลำตัวเล็กที่สุดในกลุ่มคางคกที่พบในประเทศไทย บนหัวมีเส้นนูนเป็นสันโค้งตามความยาวของหัวคล้ายวงเล็บ ๒ เส้น ในช่วงฤดูผสมพันธุ์เพศผู้จะเปลี่ยนสีผิวหนังเป็นสีแดง จึงมีผู้เรียกว่า คางคกไฟ, คางคกหัวจีบ ก็เรียก. |
งวง ๑ | น. จมูกของช้างที่ยื่นยาวออกไป ตรงปลายมีจะงอยสำหรับจับของอย่างมือ, เรียกจั่นมะพร้าวและช่อดอกเพศผู้ของตาลเพื่อเตรียมทำนํ้าตาล, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น งวงครุ งวงผีเสื้อ |
จักจั่น ๑ | (จักกะ-) น. ชื่อแมลงในวงศ์ Cicadidae ลำตัวยาวตั้งแต่ ๒-๑๐ เซนติเมตร หัวและอกกว้าง ปีกมี ๒ คู่ เนื้อปีกส่วนใหญ่ใสเหมือนกันทั้ง ๒ คู่ เมื่อเกาะอยู่กับที่ปีกพับเป็นรูปหลังคาคลุมตัว มีปากชนิดเจาะดูด ตาโตเห็นได้ชัด เพศผู้มีอวัยวะทำเสียงอยู่ทางด้านล่างของส่วนท้องได้ยินไปไกล ส่วนใหญ่ลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ที่พบบ่อยเป็นชนิด Dundubia intermerata Walker. |
จิก ๒ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางหลายชนิดในสกุล Barringtonia วงศ์ Lecythidaceae ขึ้นในที่ชุ่มชื้นและที่นํ้าท่วมถึง ดอกสีขาว เกสรเพศผู้สีแดงมักออกเป็นช่อยาวห้อยเป็นระย้า เช่น จิกนา [ B. acutangula (L.) Gaertn. ] จิกบ้านหรือจิกสวน [ B. racemosa (L.) Spreng. ] จิกเล [ B. asiatica (L.) Kurz ]. |
จิ้งหรีด | น. ชื่อแมลงในวงศ์ Gryllidae หัวกับอกมีขนาดกว้างไล่เลี่ยกัน หนวดยาว ปากเป็นชนิดกัดกิน ลำตัวยาว ๑-๓ เซนติเมตร มีปีก ๒ คู่ ปีกคู่หน้าหนากว่าคู่หลัง ปีกเมื่อพับจะหักเป็นมุมที่ด้านข้างของลำตัว ปีกคู่หลังบางพับเก็บอยู่ใต้ปีกคู่หน้า เพศผู้ปีกคู่หน้ามีลวดลายเป็นสัน ทำเสียงได้โดยใช้ปีกคู่หน้าสีกัน กินใบพืช เช่น ทองดำ [ Gryllus bimaculatus (De Geer) ] ทองแดง [ Teleogryllus mitratus (Burmeister) ], จังหรีด ก็เรียก. |
จิ้งเหลนด้วง ๑ | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานจำพวกจิ้งเหลนที่ไม่มีขาหรืออาจมีร่องรอยของขาคู่หลังเหลืออยู่เล็กน้อย ในวงศ์ Dibamidae และวงศ์ Scincidae ลำตัวเรียวยาว ขนาดยาวตั้งแต่ ๗-๒๕ เซนติเมตร เกล็ดลำตัวเรียบ อาศัยอยู่ใต้ผิวดินที่ร่วนซุยหรือเป็นดินปนทรายซึ่งมีซากผุพังของพืชปกคลุม, ในวงศ์ Dibamidae เฉพาะเพศผู้มีร่องรอยของขาคู่หลังเป็นแผ่นแบนให้เห็นเล็กน้อย ที่พบในประเทศไทย ได้แก่ จิ้งเหลนด้วงสีม่วง ( Dibamus alfrediTaylor) ซึ่งพบทางภาคใต้ และจิ้งเหลนด้วงสมศักดิ์ ( D. somsakiHonda, Nabhitabhata, Ota & Hikida) ซึ่งพบที่เขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ส่วนในวงศ์ Scincidae ไม่มีขาทั้งเพศผู้และเพศเมีย ที่พบในประเทศไทย ได้แก่ ชนิด Isopachys anguinoides (Boulenger) พบที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, ชนิด I. roulei (Angel) พบที่จังหวัดชลบุรี, ชนิด I. gydenstolpeiLönnberg และ I. borealisLang & Bohme พบทางภาคตะวันตก ชนิด Davewakeum miriamaeHeyer พบที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. |
ชาย ๑ | น. มนุษย์เพศผู้ซึ่งโดยกำเนิดมีลึงค์เป็นอวัยวะสืบพันธุ์, ผู้ชาย ก็ว่า. |
ดอกถวายพระ | น. ดอกเพศผู้ของพรรณไม้เลื้อย เช่น ฟักทอง บวบ, กระชอมดอก ก็เรียก. |
ดาสวน | น. ชื่อแมลงพวกมวนชนิด Sphaerodema rusticum (Fabricius) และ S. molestum (Dufour) ในวงศ์ Belostomatidae ลักษณะคล้ายแมลงดานาแต่ตัวเล็กกว่ามาก ลำตัวยาวประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร ตัวอ่อนอยู่ในน้ำ กินแมลงหรือสัตว์น้ำขนาดเล็ก ตัวเต็มวัยมักบินเข้าหาแสงไฟ เพศเมียวางไข่บนหลังเพศผู้เป็นกลุ่มยึดติดกันด้วยสารเหนียว นำมาคั่วกับเกลือกินได้, แมลงดาสวน สีเสียด แมลงสีเสียด มวนหลังไข่ หรือ มวนก้าน ก็เรียก |
ตอน ๓ | ก. ตัดหรือทำลายอวัยวะซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสืบพันธุ์ของเพศผู้ เพื่อไม่ให้สืบพันธุ์ได้. |
ตัวผู้ | น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้ เสลดพังพอนตัวผู้ |
ตาล | (ตาน) น. ชื่อปาล์มชนิด Borassus flabellifer L. ในวงศ์ Palmae ใบใหญ่ ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ต้นเพศผู้ออกดอกเป็นงวง ต้นเพศเมียออกดอกเป็นช่อเดี่ยว ๆ ผลใหญ่กลมโตเป็นทะลาย ภายในผลมีเมล็ดเรียกว่าเต้า น้ำหวานที่ออกจากงวงของต้นเพศผู้ เรียกว่า น้ำตาลสด ใช้ทำน้ำตาลได้ ตอนหัวของผลอ่อน เรียกว่า หัวตาล ต้มแกงกินได้ เมื่อเต้ายังอ่อน เรียกว่า ลอนตาลหรือตาลเฉาะ เนื้อในนิยมกินสดหรือกินกับนํ้าเชื่อม จาวที่เกิดจากเมล็ดแก่ที่งอกแล้ว เรียกว่า จาวตาล เชื่อมกินได้, ตาลโตนด ก็เรียก |
ทองแดง ๔ | น. คนหรือสัตว์เพศผู้ที่มีอัณฑะเพียงลูกเดียว. |
นากบุด | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Mesua nervosa Planch. et Triana ในวงศ์ Guttiferae กลีบดอกสีขาว มีเกสรเพศผู้สีเหลืองจำนวนมาก. |
ปั่นใย | น. ชื่อแมลงอันดับ Embioptera ลักษณะลำตัวเป็นรูปทรงกระบอก ยาว ๐.๕-๒.๐ เซนติเมตร เพศเมียทุกตัวและเพศผู้บางตัวไม่มีปีก ตีนมี ๓ ข้อ สามารถสร้างใยได้จากต่อมสร้างใยอยู่ที่ตีนข้อแรกของขาคู่หน้าที่โป่งพองออก อาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มภายในอุโมงค์ เส้นใยมักพบตามใต้เปลือกไม้ รอยแตกในดินและหิน ที่พบบ่อย เช่น ชนิด Oligotoma saundersii Westwood ในวงศ์ Oligotomidae, ชักใย ก็เรียก. |
ผู้ชาย | น. มนุษย์เพศผู้ซึ่งโดยกำเนิดมีลึงค์เป็นอวัยวะสืบพันธุ์, ชาย ก็ว่า |
พยับเมฆ ๒ | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Orthosiphon aristatus (Blume) Miq. ในวงศ์ Labiatae ดอกเล็กสีขาวอมม่วงอ่อน ออกเป็นช่อยาว เกสรเพศผู้ยาว ใบใช้ทำยาได้, หญ้าหนวดแมว ก็เรียก. |
แม่ม่ายลองไน | น. ชื่อจักจั่นขนาดใหญ่ที่มีแถบสีดำ ขาว เหลือง หรือส้มพาดขวางเด่นตามลำตัวและปีก เฉพาะเพศผู้มีอวัยวะทำเสียงบริเวณด้านล่างของส่วนท้อง เสียงนั้นก้องได้ยินไปไกล มีหลายชนิด ชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ ชนิด Tosena melanoptera (White) ในวงศ์ Cicadidae เมื่อหุบปีกวัดจากหัวถึงปลายปีกยาว ๙-๑๐ เซนติเมตร, ลองไน ก็เรียก. |
ยุง | น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Culicidae โดยทั่วไปลำตัวยาว ๓-๖ มิลลิเมตร มีปีก ๑ คู่ ปีกมีส่วนคล้ายเกล็ดปกคลุมอยู่ตามเส้นปีกและอาจคลุมไปถึงหัวและลำตัวด้วย หนวดยาวลักษณะเป็นพู่ พู่ขนของเพศเมียสั้น ของเพศผู้ยาว ปากเป็นชนิดเจาะดูด เฉพาะตัวเมียดูดกินเลือดและเป็นพาหะนำโรคสู่คนและสัตว์ เพศผู้ดูดกินน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ เช่น ยุงรำคาญ ในสกุล Culex ยุงลาย ในสกุล Aedesยุงก้นปล่อง ในสกุล Anopheles. |
เรไร ๑ | น. ชื่อตั๊กแตนหนวดยาวหลายชนิด หลายสกุล ในวงศ์ Tettigoniidae วัดจากหัวถึงปลายปีกยาวประมาณ ๑๐ เซนติเมตร ส่วนใหญ่สีเขียวหรือน้ำตาล เพศผู้มีด้านบนของโคนปีกคู่หน้าเป็นสันขรุขระ เมื่อสีกันทำให้เกิดเสียงกังวาน กินหญ้า เช่น ชนิด Mecopoda elongata (Linn). |
ไรน้ำเค็ม | น. ชื่อสัตว์น้ำเค็มขาปล้องหลายชนิด ในสกุล Artemiaวงศ์ Artemiidae ขนาดยาว ๒ เซนติเมตรหรือมากกว่า รยางค์อกมี ๑๑ คู่ แต่ละคู่มีเหงือก เพศผู้มีอวัยวะเพศที่ปล้องท้องปล้องที่ ๑ และ ๒ เพศเมียมีรังไข่ ๑ คู่ที่ปล้องอกปล้องท้าย ๆ สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ กินตะไคร่น้ำเป็นส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ได้ในทุกระดับความเค็ม พบทั่วโลก นำเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อเพาะเลี้ยงเป็นอาหารของสัตว์น้ำ เช่น ชนิด A. franciscanaKellogg, ไรสีน้ำตาล หรือ อาร์ทีเมีย ก็เรียก. |
ละองละมั่ง | น. ชื่อกวางชนิด Cervus eldi McClelland ในวงศ์ Cervidae เป็นกวางขนาดกลาง ตัวสีนํ้าตาลอ่อน คอยาวกว่ากวางชนิดอื่น ตัวผู้เขาโค้งปลายชี้ไปด้านหน้า ตัวเมียไม่มีเขา ลูกเกิดใหม่มีจุดขาวตามลำตัว กินหญ้าและใบไม้ เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย, บ้างเรียกเพศผู้ว่า ละอง เรียกเพศเมียว่า ละมั่ง. |
ลำเจียก | น. ชื่อเรียกต้นเพศผู้ของเตยในสกุล Pandanus วงศ์ Pandanaceae ขอบใบและกาบหุ้มดอกมีหนาม ดอกมีกลิ่นหอม, ปาหนัน ก็เรียก, พายัพเรียก เกี๋ยงคำ. |
เสือแมลงวัน | น. ชื่อแมงมุมขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Salticidae อาศัยอยู่ตามบ้านเรือน กระโดดจับแมลงวันกิน ที่พบบ่อยได้แก่ ชนิด Plexippus petersi (Karsch) ขนาด ๖-๙ มิลลิเมตร พื้นลำตัวสีขาวเทา เพศผู้เล็กกว่าเพศเมียและมีแต้มสีดำที่ด้านหลัง ส่วนเพศเมียไม่มีแต้ม. |
หางหนู | ส่วนของแขนงช่อดอกของหมากและมะพร้าวที่ดอกเพศผู้ร่วงหมดแล้ว. |
หิ่งห้อย | น. ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Lampyridae ลำตัวเป็นรูปทรงกระบอก ด้านปลายของส่วนท้องมีปล้องทำแสง ๒ ปล้องในเพศผู้ และ ๑ ปล้องในเพศเมีย โดยแสงเกิดจากสารลูซิเฟอรินทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ความถี่และช่วงของแสงนั้นแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด บางชนิดตัวเมียไม่มีปีก ที่พบมากตามแหล่งน้ำจืด เช่น ชนิด Luciola aquatilis Thaneharoen ที่พบตามป่าชายเลน เช่น ชนิด Pteroptyx malaccae (Gorham), ทิ้งถ่วง แมลงแสง หรือ แมลงไฟ ก็เรียก. |
เหลือบ ๑ | (เหฺลือบ) น. ชื่อแมลงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Tabanidae รูปร่างคล้ายแมลงวันแต่ตัวโตกว่า มีปีกคู่เดียวซึ่งมักใส แต่บางชนิดเป็นลายสีต่าง ๆ เช่น นํ้าตาล นํ้าเงิน รวมทั้งสีเลื่อมพราย จึงเรียกว่า ตัวเหลือบ หนวดปล้องปลายมีลักษณะเรียวโค้งงอคล้ายเคียว ปากมีอวัยวะเป็นแผ่นคมคล้ายใบมีด และมีอวัยวะเป็นท่อใช้ดูดของเหลวกิน เพศเมียดูดกินเลือดคนและสัตว์ เพศผู้ดูดกินน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ บางชนิดเป็นพาหะนำโรคโดยเฉพาะในสัตว์ใหญ่ ส่วนใหญ่อยู่ในสกุล Tabanus และ Chrysops. |