ยักเยื้อง | ว. เลี่ยงไป, ไม่ตรงไปตรงมา, เช่น ถามเรื่องหนึ่ง แต่พูดยักเยื้องไปตอบอีกเรื่องหนึ่ง, ดัดแปลง เช่น ทำยักเยื้อง, เยื้องยัก ก็ว่า. |
ย่างเยื้อง | ก. เดินอย่างมีลีลา, เดินอย่างมีท่างาม, ใช้ในความประชดก็มี, เยื้องย่าง ก็ว่า. |
เยื่อง | ว. เยี่ยง, เยี่ยงอย่าง. |
เยื้อง | ก. เอี้ยว, ย้ายไป, เดินอย่างไว้ท่าทาง, เช่น เดินเยื้องตัวแล้วซัดแขนอย่างละครรำ. |
เยื้อง | ว. เฉียงจากจุดตรงข้ามเล็กน้อย เช่น ประตูวิมานเทเวศร์อยู่เยื้องกับประตูเข้ามหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตวังท่าพระ. |
เยื้องกราย | ก. เดินอย่างมีท่างาม เช่น นางแบบเยื้องกรายมาทีละคน ๆ |
เยื้องกราย | เดินก้าวเฉียงและกางแขนเพื่อดูท่าทีของคู่ต่อสู้อย่างการเยื้องกรายในการตีกระบี่กระบอง (ใช้แก่ศิลปะการต่อสู้). |
เยื้องพรายกฐิน | น. ชื่อท่ารำแบบหนึ่ง โดยมือข้างหนึ่งตั้งวงสูง แขนตึง ระดับไหล่ มืออีกข้างหนึ่งหงายจีบระดับชายพก เอียงศีรษะข้างเดียวกับมือที่ตั้งวง. |
เยื้องยัก | ก. เลี่ยงไป, ไม่ตรงไปตรงมา, ดัดแปลง, ยักเยื้อง ก็ว่า. |
เยื้องย่าง | ก. เดินอย่างมีลีลา, เดินอย่างมีท่างาม, ใช้ในความประชดก็มี, ย่างเยื้อง ก็ว่า. |
กระเดื่อง ๑ | น. อุปกรณ์ชนิดหนึ่ง เป็นไม้ท่อนยาว ปลายด้านหัวมีสากสำหรับตำข้าว ปลายด้านหางทำเป็นที่เหยียบ เจาะรูที่ด้านข้างเยื้องไปทางปลายด้านหาง และมีไม้เป็นแกนสอดตรึงติดกับเสาหรือหลักให้หมุนได้ เมื่อเหยียบที่ข้างหางและกดลง หัวจะกระดกขึ้น เมื่อปล่อยเท้าหัวก็จะกระแทกลง |
กระเดื่อง ๒ | แข็ง, กระด้าง, เช่น ยามเมื่อเจ้าเยื้องยุรยาตร ก็มิได้ย่างลงเหยียบดินกระเดื่องใด (ม. ร่ายยาว กุมาร), นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระด้าง เป็น กระด้างกระเดื่อง. |
กะปะ | น. ชื่องูพิษขนาดเล็กชนิด Calloselasma rhodostoma (Boie) ในวงศ์ Viperidae ตัวยาว ๕๐-๘๐ เซนติเมตร สีน้ำตาลอมแดงลายสีนํ้าตาลเข้ม บนหลังมีลายรูปสามเหลี่ยมสีนํ้าตาลแก่เรียงสลับเยื้องกันเป็นคู่ ๆ จมูกงอน ริมฝีปากเหลือง และมีแนวสีเหลืองพาดบนลูกตาถึงมุมปาก, ตัวที่มีสีคลํ้าเรียก งูปะบุก. |
กะยุ | ก. ยก, ย่าง, เยื้อง, เช่น กะยุบาทไคลคลา (เสือโค), กะยุบาทเบื้องปลายตีน (พิชัยสงคราม). |
คลี | การเล่นลูกกลมด้วยลีลาเยื้องกรายเพื่อบูชาเทพเจ้า เช่น นางเริ่มเดาะคลีบูชาพระศรีเทวี (กามนิต). |
คางคก ๒ | น. ชื่อปลาไม่มีเกล็ดชนิด Batrachoides grunniers (Bloch) และ Batrachomoeus trispinosus (Günther) ในวงศ์ Batrachoididae ปากกว้าง หัวทู่แบนลง ลำตัวกลมยาว มีสีนํ้าตาลเป็นด่างดวงทั่วไป ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร ครีบท้องอยู่เยื้องไปข้างหน้าครีบอก หางกลม เฉพาะชนิดแรกมีรูที่มุมบนด้านในของครีบอก อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล, กบ บู่ทะเล ผีหลอก หรือ อุบ ก็เรียก. |
จรลี | (จอระ-) ก. เดินเยื้องกราย. |
จำหล่อ | น. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสาสูงราว ๒ ศอก มีไม้เสาทับหลัง ขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง, จังหล่อ จั้นหล่อ จำหลอ หรือ ผนบบ้านหล่อ ก็เรียก. |
เชิดหนัง | ก. ยกชูตัวหนังตะลุงขึ้นทาบหลังจอ ให้เงาเคลื่อนไหวไปตามบทพากย์, ยกชูตัวหนังใหญ่ขึ้นทาบหน้าจอ แล้วผู้เชิดเยื้องกรายประกอบไปตามบทพากย์. |
ดำหนัก | น. ตำหนัก, เรือนของเจ้านาย, เช่น ผิธยลเยื้องไพรพระดำหนัก เจ้าจอมจักรจงบอกรา (ม. คำหลวง ชูชก). |
ถงาด | (ถะหฺงาด) ก. ทำท่าเผ่น, เยื้องท่า, ชะโงก, เงื้อม, ผ่านไป. |
นวย | ก. เยื้องกราย, กรีดกราย, เช่น งามหัตถ์งามกรช่างอ่อนระทวย ช่างนาดช่างนวยสวยยั่วนัยนา (ฉุยฉายพราหมณ์) |
นวยนาด | ก. เยื้องกราย, กรีดกราย |
นาคาวโลก | (-คาวะ-) น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายห้อยเยื้องมาข้างหน้าประทับไว้ที่พระเพลาข้างซ้าย พระหัตถ์ขวาห้อยลงข้างพระองค์ตามปรกติ เอี้ยวพระกายผินพระพักตร์ไปทางซ้าย (เป็นกิริยาทอดพระเนตรพระนครไพศาลีอย่างไว้อาลัย ด้วยจะเป็นการเห็นครั้งสุดท้าย). |
บรัด | (บะหฺรัด) ก. แต่ง. น. เครื่องแต่ง, เครื่องประดับ เช่น ทรงบรัดผัดหน้า แต่งแง่ทรงสะอิ้งผ้า ย่างเยื้องมาหา แม่รา (ลอ.), โบราณเขียนเป็น บรัส ก็มี เช่น เครื่องพิษยศรีกษัตริย์ อนนควรบรัสแห่งพระองค์ (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). |
ไบ่ ๆ | ว. อาการที่เคี้ยวสิ่งของทำปากเยื้องไปมา เช่น หยิบพานมาว่าจะกินหมาก มันผิดปากส่งไพล่ไปรูหู เคี้ยวเล่นไบ่ไบ่ได้แต่พลู เพื่อนบ่าวเขารู้หัวเราะฮา (ขุนช้างขุนแผน). |
พลิกแพลง | (-แพฺลง) ว. ยักเยื้องถ่ายเทเป็นอย่างอื่น ๆ, ที่เปลี่ยนแปลงให้ผิดไปจากแบบปรกติธรรมดา, เช่น พูดพลิกแพลง ทำพลิกแพลง เล่นพลิกแพลง เตะตะกร้อท่าพลิกแพลง. |
พิลาส | (พิลาด) ก. กรีดกราย, เยื้องกราย |
ฟันปลา | น. เรียกสิ่งที่มีรูปอย่างฟันปลา, เรียกลักษณะที่สับหว่างสลับเยื้องกันอย่างฟันปลา ว่า สลับฟันปลา เช่น นั่งสลับฟันปลา ยืนสลับฟันปลา |
มุมแย้ง | น. มุมที่เกิดจากเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นขนานคู่หนึ่ง อยู่เยื้องกันคนละข้างของเส้นตัดภายในเส้นขนานคู่นั้น รวมกันแล้วได้ ๑๘๐ องศา หรือ ๒ มุมฉาก. |
ยัก ๑ | อาการที่ของบางอย่างเยื้องไม่ได้ระดับกัน เช่น สวมเสื้อไหล่ยักไปข้างหนึ่ง |
เยี่ยง, เยี่ยงอย่าง | ว. เช่น, ใช้ว่า เยื่อง ก็มี. |
เยือง ๑ | ก. เยื้อง. |
ลีลา | น. ท่าทาง, ท่าทางอันงาม, การเยื้องกราย, เช่น พุทธลีลา |
ลีฬหา | (ลีนหา) น. การเยื้องกราย |
ไลลา | ก. ไปมา, เยื้องกราย. |
สลับฟันปลา | ว. สับหว่างสลับเยื้องกันอย่างฟันปลา เช่น นั่งสลับฟันปลา ยืนสลับฟันปลา. |
สับหว่าง | ว. เยื้องระหว่างแถว จะเป็น ๒ แถวหรือหลายแถวก็ได้ เช่น นั่งสับหว่าง ยืนสับหว่าง. |
เส้นแผลง | (-แผฺลง) น. เส้นที่เยื้องไปเยื้องมามีลักษณะเหมือนฟันปลา ใช้เขียนแบ่งภาพเป็นตอน ๆ ในงานจิตรกรรมฝาผนัง. |