ขี้เรื้อน ๑ | น. โรคผิวหนังของสุนัข เกิดจากไรสุนัขชอนไช ทำให้ผิวหนังพุพองและขนร่วง. |
ขี้เรื้อน ๒ | ว. ไม่มีคุณค่า เช่น คนขี้เรื้อน ของขี้เรื้อน. |
เข้าเรื่อง | ว. ตรงประเด็นของเรื่อง |
เข้าเรื่อง | มีสาระ, ได้เรื่องได้ราว |
เข้าเรื่อง | มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น พูดไม่เข้าเรื่อง ทำไม่เข้าเรื่อง. |
คนละเรื่องเดียวกัน | น. เรื่องเดียวกันแต่มองต่างกัน. |
โครงเรื่อง | น. เค้าเรื่องที่กำหนดขึ้น. |
เดินเรื่อง | ก. เริ่มกล่าวเนื้อเรื่องเรื่อยไป |
เดินเรื่อง | ติดต่อวิ่งเต้นให้เรื่องราวสำเร็จลุล่วงไป. |
ต้นเรื่อง | น. มูลเหตุที่ทำให้เกิดเรื่องนั้น ๆ, เรื่องเดิม, เรื่องก่อนที่จะเริ่มเรื่องที่แต่ง, เช่น เรื่องนนทุกเป็นต้นเรื่องรามเกียรติ์. |
ตับเรื่อง | น. เพลงที่นำมารวมบรรเลงและขับร้องติดต่อกันโดยที่บทร้องเป็นเรื่องเดียวกันและดำเนินไปโดยลำดับ มีทั้งอัตราเดียวกันและอัตราผสม เช่น ตับนางลอย ตับนาคบาศ. |
ตามเรื่องตามราว | ว. ปล่อยให้เป็นไปเอง, สุดแต่จะเป็นไป. |
ท้องเรื่อง | น. เนื้อเรื่องที่ดำเนินไปตั้งแต่ต้นจนจบ. |
เนื้อเรื่อง | น. เรื่องราว, สาระของเรื่อง. |
พิษสุราเรื้อรัง | น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ซึ่งสมองและประสาทเสื่อมเนื่องจากดื่มสุรามากเป็นเวลานาน มีอาการมือสั่น เดินเซ สติปัญญาเสื่อม บางครั้งชักแบบลมบ้าหมู. |
มะเรื่อง | น. วันถัดจากวันมะรืนไปวันหนึ่ง. |
ไม่ได้เรื่อง, ไม่ได้เรื่องได้ราว | ว. ถือเป็นเรื่องเป็นราวไม่ได้, ถือเป็นสาระไม่ได้. |
ไม่เป็นเรื่อง, ไม่เป็นเรื่องเป็นราว | ว. ไม่มีสาระ เช่น เรื่องไม่เป็นเรื่อง. |
รกเรื้อ | ว. รกมาก เช่น สวนรกเรื้อไม่ได้ดูแลเสียนาน. |
ระเรื่อย | ว. เรื่อย ๆ, เฉื่อย, เสมอ, ไม่ขาด, ไม่หยุด, ไม่พัก. |
ราวเรื่อง | น. เรื่องที่ต่อเนื่องกันยืดยาว. |
รู้เรื่อง | ก. เข้าใจเรื่อง (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น พูดเท่าไร ๆ ก็ไม่รู้เรื่อง. |
เรื่อ | ว. อ่อน ๆ (มักใช้แก่สีแดงหรือสีเหลือง). |
เรื้อ | ก. ขาดการฝึกฝนเสียนาน เช่น ไม่ได้พูดภาษาฝรั่งเศสมานานเลยเรื้อไป, ห่างไปนาน เช่น เรื้อเวที เรื้อสังเวียน. |
เรื้อ | น. เรียกข้าวเปลือกที่ตกอยู่แล้วงอกขึ้นจนออกรวงอีก ว่า ข้าวเรื้อ, บางทีก็เรียกว่า ข้าวเรื้อร้าง, ใช้เรียกพืชผลบางชนิดที่เกิดขึ้นในทำนองนี้ เช่น แตงโม ว่า แตงโมเรื้อ. |
เรื้อรัง | ว. ยืดเยื้อ, นานหาย, (ใช้แก่โรค) เช่น วัณโรคเรื้อรัง แผลเรื้อรัง. |
เรื่อง | น. ภาวะหรือเนื้อหาของสิ่งซึ่งเนื่องกับข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เรื่องประวัติศาสตร์ เรื่องการเมือง เรื่องเศรษฐกิจ |
เรื่อง | เนื้อความ เช่น อ่านเอาเรื่อง, คดี, เหตุ, เช่น ไปก่อเรื่อง ไปมีเรื่อง. |
เรื่องราว | น. เรื่องที่พูดหรือเล่าติดต่อกันไป. |
เรื่องสั้น | น. บันเทิงคดีร้อยแก้วรูปแบบหนึ่ง มีลักษณะคล้ายนวนิยาย แต่สั้นกว่า โดยมีเหตุการณ์ในเรื่องและตัวละครน้อย มักจบแบบพลิกความคาดหมายหรือจบแบบทิ้งให้คิดเป็นต้น เช่น เรื่องสร้อยคอที่หาย ของประเสริฐอักษร เรื่องจับตาย ของมนัส จรรยงค์ เรื่องมอม ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช. |
เรื้อง | ว. เรือง. |
เรื้อน | โรคติดต่อเรื้อรัง เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิด Mycobacterium leprae ทำให้เกิดอาการที่ผิวหนังเป็นผื่น วงด่างสีขาวหรือแดง หรือนูนหนาเป็นตุ่มหรือเป็นแผ่น ไม่เจ็บไม่คัน แห้ง เหงื่อไม่ออก และขนร่วง อาจทำให้เกิดความพิการที่นิ้วมือนิ้วเท้างอหรือกุดได้, ขี้ทูด หรือ กุฏฐัง ก็เรียก. |
เรื้อนกวาง | น. ชื่อโรคผิวหนังเรื้อรังชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นผื่นคัน ทำให้ผิวหนังหน้า หยาบ และอาจแตกมีน้ำเหลืองไหลหรือตกสะเก็ดในระยะหลัง มักเป็นตามบริเวณข้อเท้า หัวเข่า หรือบริเวณที่มือเอื้อมไปเกาถึง. |
เรื่อย, เรื่อย ๆ | ว. มีลักษณะอาการอันต่อเนื่องกันไปไม่ขาดระยะ เช่น ทำงานเรื่อยไม่หยุดเลย เดินไปเรื่อย ๆ พูดไปเรื่อย ๆ |
เรื่อย, เรื่อย ๆ | เฉื่อย, เฉื่อย ๆ, เช่น ลมพัดมาเรื่อย ๆ เขาเป็นคนเรื่อย ๆ. |
เรื่อยเจื้อย | ว. อาการที่พูดยืดยาว แต่มีสาระน้อย, เลื้อยเจื้อย ก็ว่า. |
เรื่อยเฉื่อย | ว. เอื่อย ๆ, ตามสบาย, ไม่กระตือรือร้น, ไม่รีบร้อน, เช่น เขาเป็นคนเรื่อยเฉื่อย. |
เรื่อยเปื่อย | ว. เรื่อย ๆ ไปโดยไม่มีจุดหมาย เช่น พูดเรื่อยเปื่อย เดินเรื่อยเปื่อย. |
เรื้อย | ก. ล่ามไว้ด้วยเส้นเชือกยาว. |
สืบสาวราวเรื่อง | ก. ค้นคว้าให้ได้เรื่อง เช่น ไฟไหม้ครั้งนี้สืบสาวราวเรื่องได้ว่าเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร. |
เสกสรรปั้นแต่ง, เสกสรรปั้นเรื่อง | ก. แต่งเรื่องขึ้นมาโดยจะมีความจริงหรือไม่ก็ได้เพื่อให้เข้าใจผิด เช่น คนคนนี้ช่างเสกสรรปั้นเรื่องมาเล่าให้ผู้ใหญ่ผิดใจกันอยู่เสมอ. |
หมาขี้เรื้อน | น. คนที่น่ารังเกียจ ไม่ควรคบหาสมาคมด้วย (ใช้กล่าวถึงผู้อื่นด้วยความดูถูกเหยียดหยาม). |
หัวเรื่อง | น. ถ้อยคำหรือวลีที่แสดงสาระสำคัญของเรื่องซึ่งเขียนไว้ที่ต้นเรื่อง. |
หาเรื่อง | ก. ทำให้เกิดเหตุ เช่น อยู่ดี ๆ ก็ไปหาเรื่อง, เอาความไม่ดีมาให้ เช่น เด็กคนนี้หาเรื่องให้ปวดหัวอยู่เรื่อย |
หาเรื่อง | หาสาเหตุเพื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น หาเรื่องกินเหล้ากัน |
หาเรื่อง | ชวนวิวาท เช่น พวกเรานั่งอยู่ดี ๆ มาหาเรื่องกันได้. |
หูหาเรื่อง | น. หูที่รับฟังแล้วตีความไปอีกอย่างหนึ่งซึ่งมีลักษณะไปในทางที่ไม่ดี. |
เอาเรื่อง | ก. ถือเป็นเรื่องเป็นราว เช่น เจ้าของเขาจะเอาเรื่อง. |
เอาเรื่อง | ว. ยิ่งกว่าธรรมดา, มาก, เช่น เผ็ดเอาเรื่อง |
เอาเรื่อง | เอาจริง, เอาจริงเอาจัง เช่น เขาเป็นคนเอาเรื่อง. |