พระเมรุ | เป็นเมรุที่ใช้สำหรับราชวงศ์ที่ทรงฐานานุศักดิ์ เมื่อตายใช้ราชาศัพท์ว่า ทิวงคต หรือสิ้นพระชนม์โดยที่ภายในพระเมรุไม่มีพระเมรุทอง [ศัพท์พระราชพิธี] |
ฟังก์ชัน | เซตของคู่ลำดับโดยที่คู่ลำดับทุกคู่ไม่มีสมาชิกตัวหน้าซ้ำกัน, Example: คำที่มักเขียนผิด คือ ฟังก์ชั่น [คำที่มักเขียนผิด] |
Amendments to the Charter of the United Nations | การแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติ กฎบัตรของสหประชาชาตินั้น เปิดโอกาสให้มีการแก้ไขได้โดยสมัชชาสหประชาชาติหรือโดยที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ของสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งอาจจะประชุมกัน ณ วันเวลาและสถานที่ตามแต่จะมีการตกลงกัน โดยคะแนนเสียง 2 ใน 3 ส่วนของสมัชชาใหญ่ และโดยคะแนนเสียงของสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงใด ๆ 7 เสียง ในที่ประชุมใหญ่นั้น สมาชิกแต่ละประเทศของสหประชาชาติจะมีเสียงลงคะแนน 1 เสียงการที่จะแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติให้เป็นผลสำเร็จ จะต้องได้เสียงสนับสนุนจากสมาชิกเป็นจำนวน 2 ใน 3 ส่วนของสมาชิกทั้งหมดในสมัชชาหรือจากที่ประชุมใหญ่ เมื่อการแก้ไขกฎบัตรเป็นที่รับรองแล้ว จะมีผลบังคับต่อสมาชิกทั้งหมดของสหประชาชาติ ก็ต่อเมื่อได้รับการสัตยาบันจากสมาชิก 2 ใน 3 ส่วนของจำนวนทั้งหมด รวมทั้งการรับรองจากสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงด้วยอาทิเช่น ในสมัยประชุมที่ 18 ของสมัชชาใหญ่ การแก้ไขกฎบัตรได้รับการรับรองเห็นชอบด้วย โดยผ่านข้อมติที่ 1991 (XVII) ในการแก้ไขครั้งนี้ได้เพิ่มจำนวนสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงจาก 11 เป็น 15 คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมจาก 18 เป็น 27 ประเทศ การแก้ไขดังกล่าวได้รับการลงมติรับรองเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1963 ในปัจจุบันนี้ ประเทศสมาชิกเป็นจำนวนมากกำลังเรียกร้องให้มีการปรับจำนวนสมาชิกถาวรของคณะ มนตรีความมั่นคงเสียใหม่ [การทูต] |
bold measures | มาตรการเข้มข้น หมายถึง มาตรการพิเศษที่กำหนดโดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 6 เมื่อเดือนธันวาคม 2541 เพื่อส่งเสริมการค้าและการเร่งรัดลงทุนจากต่างประเทศในอาเซียน ในอันที่จะช่วยประเทศในภูมิภาคฟื้นฟูเศรษฐกิจจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ [การทูต] |
Conference on Disamament | การประชุมว่าด้วยการลดอาวุธ จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2522 เพื่อเป็นเวทีเจรจาการลดอาวุธระหว่างประเทศ มีขอบเขตความรับผิดชอบเกี่ยวกับประเด็นด้านการลดอาวุธทุกด้าน และมีหน้าที่ รายงานต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติทุกปี ปัจจุบันมีสมาชิก 65 ประเทศ(ไทยมิได้เป็นสมาชิก) โดยที่ผ่านมาประสบผลสำเร็จในการเจรจาจัดทำความตกลงระหว่างประเทศ ด้านการลดอาวุธหลายฉบับ ที่สำคัญได้แก่ สนธิสัญญาไม่แพร่อาวุธนิวเคลียร์ อนุสัญญาห้ามเคมี อนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพ และสนธิสัญญาห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ [การทูต] |
High Seas | ทะเลหลวง คือทุกส่วนของทะเลที่มิได้อยู่ในทะเลอาณาเขต (Territorial Sea) ของประเทศใด โดยที่ถือว่าทะเลหลวงเป็นทรัพย์สินร่วมกันของทุกชาติ รัฐจะยึดเอาไปทำประโยชน์ของตนเองฝ่ายเดียวไม่ได้ และจะถือว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของทะเลหลวงอยู่ใต้อำนาจอธิปไตยของตนไม่ได้เช่นกัน [การทูต] |
Hugo Grotius (1583-1645) | บรมครูทางกฎหมายของเนเธอร์แลนด์ เป็นบุคคลแรกที่ได้ประกาศเสรีภาพของทะเล (Freedom of the Seas) ในตำราของท่านชื่อ Mare Liberumนักกฎหมาย รัฐบุรุษ และปรัชญาเมธีด้านมนุษยธรรมของเนเธอร์แลนด์ผู้นี้ ภายหลังเกิดมาได้ไม่กี่ปีก็ส่อให้เห็นว่าเป็นเด็กที่เฉลียวฉลาดอย่างน่า มหัศจรรย์ เขาเริ่มศึกษาวิชากฎหมายตั้งแต่มีอายุได้ 11 ขวบ ณ สถาบันศึกษาชั้นสูงแห่งเลย์เด็นในเนเธอร์แลนด์ และได้รับปริญญาเอกทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัย ณ เมืองออร์ลีนส์ ในประเทศฝรั่งเศสเมื่อมีอายุได้เพียง 15 ปี โดยที่เป็นผู้ฝักใฝ่ในการเมือง เขาได้ถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1618 ด้วยข้อหาทางการเมือง แต่ต่อมาใน ค.ศ. 1621 ได้หลบหนีไปยังประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ 1625 เขาได้แต่งตำรากฎหมายซึ่งถือกันว่าเป็นตำราอมตะชื่อว่า Jure Belli ac Pacis (แปลว่า เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยสงครามและสันติภาพ) เป็นงานเขียนที่เหมาะกับสมัย และเขียนอย่างนักวิชาการอันเยี่ยมยอดที่สุดไม่มีใครเหมือนในสมัยนั้น และด้วยความรู้สึกที่รักความยุติธรรมอย่างแรงกล้าด้วยเหตุนี้ ทั่วโลกจึงขนานนาม Hugo Grotius ว่าเป็นบิดาแห่งกฎหมายระหว่างประเทศหรือกฎหมายนานาชาติ (Father of the Law of Nations) [การทูต] |
International Civil Aviation Organization | เรียกโดยย่อว่า ICAO คือองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1947 หลังจากที่ประเทศสมาชิก 28 แห่ง ได้ให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือน ซึ่งได้ร่างขึ้นโดยที่ประชุมองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศในนครชิคาโก เมื่อปี ค.ศ.1944วัตถุประสงค์ของ ICAO คือการศึกษาปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการบินพลเรือนระหว่างประเทศ รวมทั้งจัดวางมาตรฐานระหว่างประเทศ และระเบียบข้อบังคับสำหรับการบินพลเรือนองค์การจะพยายามสนับสนุนให้มีการใช้ มาตรการว่าด้วยความปลอดภัย วางระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติให้เสมอเหมือนกันหมด และให้ใช้วิธีปฏิบัติที่สะดวกง่ายขึ้นตรงพรมแดนระหว่างประเทศ องค์การจะส่งเสริมการใช้วิธีการทางเทคนิคและอุปกรณ์เครื่องมือใหม่ ๆ ดังนั้น ด้วยความร่วมมือจากประเทศสมาชิก องค์การจะจัดวางแนวบริการทางอุตุนิยมวิทยา การควบคุมการจราจรทางอากาศ การคมนาคมสื่อสารไฟสัญญาณด้านวิทยุ จัดระเบียบการค้นหาและช่วยเหลือ รวมทั้งอุปกรณ์ความสะดวกอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นที่จะให้การบินระหว่างประเทศได้รับความปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังชักจูงให้รัฐบาลประเทศสมาชิกวางแนวทางปฏิบัติด้านศุลกากรให้สะดวกง่าย ขึ้น รวมทั้งการตรวจคนเข้าเมือง และระเบียบเกี่ยวกับสาธารณสุขที่ใช้กับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ นอกจากนี้ องค์การยังรับผิดชอบต่องานร่างกฎหมายเกี่ยวกับการบินระหว่างประเทศ ทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศในด้านเศรษฐกิจมาก มายหลายอย่างองค์การ ICAO ดำเนินงานโดยองค์การต่าง ๆ ดังนี้1. สมัชชา (Assembly) ประกอบด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ทำการประชุมกันปีละครั้ง และจะลงมติเกี่ยวกับมาตรการทางการเงิน และจะรับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่คณะมนตรีส่งมาให้ดำเนินการ2. คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากชาติต่าง ๆ 21 ชาติ ซึ่งสมัชชาเป็นผู้เลือก โดยคำนึงถึงประเทศที่มีความสำคัญในการขนส่งทางอากาศ รวมทั้งประทเศที่มีส่วนเกื้อกูลไม่น้อยในการจัดอำนวยอุปกรณ์ความสะดวกแก่การ เดินอากาศฝ่ายพลเรือนระหว่างประเทศ และจัดให้มีตัวแทนตามจำนวนที่เหมาะสมในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ ๆ ของโลก คณะมนตรีเป็นผู้เลือกตั้งประธาน (President) ขององค์การ3. เลขาธิการ (Secretary-General) ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ [การทูต] |
Niccolo Machiavelli (1469-1527) | คือรัฐบุรุษและปรัชญาเมธีทางการเมืองของสาธารณรัฐ ฟลอเรนส์ (Florence) ระหว่างรับราชการ ท่านดำรงตำแหน่งฝ่ายธุรการหลายตำแหน่งซึ่งไม่สู้มีความสำคัญเท่าใด แต่สิ่งที่ท่านสนใจมากที่สุดได้แก่ศิลปะของการเมือง หนังสือสำคัญ ๆ ที่ท่านประพันธ์ขึ้นไว้คือ The Prince เล่มหนึ่ง อีกเล่มหนึ่งชื่อ The Art of War และอีกเล่มหนึ่งคือ Discourses on the First Ten Books of Livyมีนักเขียนหลายคนวิพากษ์ Machiavelli ที่แสดงความเห็นสนับสนุนว่า รัฐบาลใดก็ตมที่ต้องการรักษาอำนาจการปกครองตนให้เข้มแข็งไว้ ย่อมจะใช้วิถีทางใด ๆ ก็ได้ ถึงแม้หนทางเช่นนั้นจะผิดกฎหมายหรือไร้ศีลธรรมก็ตาม และก็มีนักเขียนอีกหลายคนสนับสนุนท่าน โดยชี้ให้เห็นว่า ท่านเป็นแต่เพียงตีแผ่ให้เห็นพฤติกรรมที่แท้จริงของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ในยุคสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่มากกว่าอย่างอื่น อาทิเช่น ในหนังสือ The Prince ของท่านตอนหนึ่งอ้างว่า การต่อสู้นั้นมีอยู่สองวิธี วิธีแรกเป็นการต่อสู้โดยวิถีทางกฎหมาย อีกวิธีหนึ่งคือการต่อสู้โดยใช้กำลัง (Force) วิธีแรกนั้นเป็นวิธีที่มนุษย์พึงใช้ ส่วนวิธีที่สองเป็นวิธีเยี่ยงสัตว์ป่า แต่การใช้วิธีแรกมักจะไม่ค่อยได้ผลเสมอไป เพราะไม่เพียงพอ ก็ย่อมจะหันเข้าใช้วิธีที่สองได้ ฉะนั้น ผู้ปกครองประเทศสมัยนั้น ซึ่ง Machiavelli เรียกว่า Prince จึงจำเป็นต้องรู้ดีว่าจะใช้ทั้งวิธีที่มนุษย์จะพึงใช้ และวิธีเยี่ยงสัตว์ป่าอย่างไร ด้วยเหตุนี้ ผู้ปกครองประเทศสมัยนั้นไม่จำเป็นต้องมีสัจธรรม หากการกระทำนั้น ๆ จะทำความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของประเทศ ท่านเห็นว่า หากมนุษย์ทุกคนเป็นคนดี กฎเช่นนี้ก็เป็นกฎที่ไม่ถูกต้อง แต่โดยที่มนุษย์ไม่ใช่คนดีทั้งหมด ในเมื่อเขาไม่ยอมให้ความศรัทธาความไว้วางใจในตัวท่าน ก็ไม่มีอะไรที่จะมาห้ามมิให้ท่านเลิกศรัทธากับเขาเหล่านั้นได้ [การทูต] |
persona non grata | บุคคลทางการทูตที่รัฐผู้รับไม่ยอมรับ เช่น กรณีนักการทูตทำผิดกฎหมายหรือข้อบังคับทางศาสนาในประเทศที่พำนักอยู่ จนทางรัฐบาลของประเทศนั้นไม่อาจยอมรับได้และต้องให้เดินทางกลับออกนอกประเทศ นั้น อย่างไรก็ตาม นักการทูตอาจถูกรัฐบาลของรัฐผู้รับให้ออกนอกประเทศเป็น persona non grata ด้วยเหตุผลของการดำเนินการโต้ตอบทางการเมืองระหว่างรัฐผู้รับและรัฐผู้ส่งก็ เป็นได้ โดยที่นักการทูตผู้นั้นมิได้กระทำผิดกฎหมายของรัฐผู้รับหรือกระทำผิดทาง ศาสนาของรัฐผู้รับแต่อย่างใด [การทูต] |
Presentation of Credentials | หมายถึง การยื่นสารตราตั้ง เป็นธรรมเนียมปฏิบัติทางการทูตว่า ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศใดประเทศหนึ่ง ก่อนที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ จะต้องนำสารตราตั้ง (Credentials) ไปยื่นต่อประมุขของรัฐนั้น ๆ พิธียื่นสารตราตั้งจะกระทำไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศ แล้วแต่จะพิจารณาเห็นความเหมาะสม และความเคร่งต่อธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นสำคัญ เช่น อังกฤษเป็นประเทศหนึ่งที่พิธียื่นสารตราตั้งของเอกอัครราชทูตต่อองค์ประมุข ของประเทศค่อนข้างวิจิตรพิสดารมาก ส่วนบางประเทศมีพิธียื่นสารอย่างง่าย ๆ แทบจะไม่มีพิธีรีตองอย่างใดในสหรัฐอเมริกา ณ กรุงวอชิงตันดีซี พิธียื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดีของสหรัฐฯ กระทำอย่างเรียบง่าย กล่าวคือ พอถึงเวลาที่กำหนดในวันยื่นสารตราตั้ง อธิบดีกรมพิธีการทูตหรือผู้แทนของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จะนำรถยนต์ลีมูซีนสีดำไปยังทำเนียบของเอกอัครราชทูต เพื่อรับเอกอัครราชทูตและครอบครัวไปยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ณ ตึกทำเนียบขาว ( White House)มีข้อน่าสนใจอันหนึ่งคือ ทางฝ่ายสหรัฐฯ จะสนับสนุนให้เอกอัครราชทูตพาภรรยาและบุตรทั้งชายหญิงไปร่วมในการยื่นสารตรา ตั้งนั้นด้วย การแต่งกายของเอกอัครราชทูตก็สวมชุดสากลผูกเน็คไทตามธรรมดา ระหว่างที่ยื่นสารมีการปฏิสันถารกันพอสมควรระหว่างเอกอัครราชทูตกับ ประธานาธิบดีสหรัฐฯมีช่างภาพของทางราชการถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก และมอบภาพถ่ายให้แก่เอกอัครราชทูตในวันหลัง (ต่างกับพิธีของอังกฤษมาก) เอกอัครราชทูตไม่ต้องพาคณะเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตติดตามไปด้วย หลังจากพบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ แล้ว อธิบดีกรมพิธีการทูตจะนำเอกอัครราชทูตและครอบครัวกลับไปยังทำเนียบที่พักโดย รถยนต์คันเดิม เป็นอันเสร็จพิธียื่นสารตราตั้ง โดยที่ประเทศต่าง ๆ ในโลกต่างมีสถานเอกอัครราชทูตของตนตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซี ดังนั้น ในวันไหนที่มีการยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ทางการทำเนียบขาวมักจะกำหนดให้เอกอัครราชทูตใหม่จากประเทศต่าง ๆ เข้ายื่นสารในวันนั้นราว 4-5 ประเทศติดต่อกัน มิใช่วันละคนอย่างที่ปฏิบัติในบางประเทศทันทีที่เอกอัครราชทูตยื่นสารตรา ตั้งต่อประธานาธิบดีเรียบร้อยแล้ว เอกอัครราชทูตจะมีหนังสือเวียนไปยังหัวหน้าคณะทูตทุกแห่งในกรุงวอชิงตันดีซี แจ้งให้ทราบว่าในวันนั้น ๆ เขาได้ยื่นสารตราตั้งต่อประมุขของรัฐ ในฐานะเอกอัครราชทูตเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับแสดงความหวังในหนังสือว่าความสัมพันธ์อันดีที่มีอยู่ระหว่างคณะผู้ แทนทางการทูตทั้งสอง ทั้งในทางราชการและทางส่วนตัว จะมั่นคงเป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้นอีก จากนั้น เอกอัครราชทูตใหม่ก็จะหาเวลาไปเยี่ยมคารวะเอกอัครราชทูตของประเทศต่าง ๆ ที่ประจำอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซีทีละราย กว่าจะเยี่ยมหมดทุกคนก็กินเวลานานอยู่หลายเดือนทีเดียว [การทูต] |
Regional Organizations | คือองค์การส่วนภูมิภาค ในเรื่องนี้ ข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติได้บัญญัติไว้ว่า ?ไม่มีข้อความใดในกฎบัตรฉบับปัจจุบัน อันจักริดรอนสิทธิประจำตัวในการป้องกันตนเองโดยลำพังหรือโดยร่วมกัน หากการโจมตีโดยกำลังอาวุธบังเกิดแก่สมาชิกของสหประชาชาติ จนกว่าคณะมนตรีความมั่นคงจะได้ดำเนินมาตรการที่จำเป็น เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ มาตรการที่สมาชิกได้ดำเนินไปในการใช้สิทธิป้องกันตนเองนี้ จักต้องรายงานให้คณะมนตรีความมั่นคงทราบโดยทันที และจักไม่กระทบกระเทือนอำนาจและความรับผิดชอบของคณะมนตรีความมั่นคงภายใต้กฎ บัตรฉบับปัจจุบันแต่ทางหนึ่งทางใด ในอันที่จักดำเนินการเช่นที่เห็นจำเป็น เพื่อธำรงไว้หรือสถาปนากลับคืนมา ซึ่งสันติภาพความมั่นคงระหว่างประเทศ?จะเห็นได้ว่า ประเทศต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันมักจะทำข้อตกลงกันในส่วนภูมิภาค โดยอาศัยสนธิสัญญา และโดยที่อาศัยอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใกล้เคียงกัน ( Geographical Propinquity ) หรือมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และมีวัตถุประสงค์ที่จะอำนวยความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเมืององค์การส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่งที่พอจะหยิบยก มาเป็นตัวอย่างได้ คือ องค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) ซึ่งบัดนี้ได้ยุบเลิกไปแล้วเพราะหมดความจำเป็น องค์การรัฐอเมริกัน (Organization of American States-OAS) องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต้ (NATO) องค์การร่วมมือระหว่างออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา (ANZUS) เป็นต้น องค์การภูมิภาคเหล่านี้ตั้งขึ้นโดยอาศัยข้อ 51 ของกฎบัตร สหประชาชาติ ซึ่งกล่าวถึงสิทธิของประเทศสมาชิกที่จะทำการป้องกันตนเองโดนลำพังหรือโดย ร่วมกัน หากถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ [การทูต] |
Southeast Asia Collective Defense Treaty (Mahila Pact) | สนธิสัญญาซีโต้ สนธิสัญญานี้ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1954 ประเทศที่ลงนามในสนธิสัญญามีประเทศออสเตรเลีย ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ประเทศไทย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา สนธิสัญญาได้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1955ในภาคอารัมภบทของสัญญานี้ บรรดาประเทศสมาชิกต่างแสดงความปรารถนาที่จะประสานความพยายามของตนที่จะ ป้องกันร่วมกัน เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคง โดยเฉพาะข้อ 4 ของสนธิสัญญาเป็นข้อสำคัญที่สุด คือ แต่ละประเทศภาคีคู่สัญญาตกลงเห็นพ้องกันว่า หากดินแดนของประเทศใดถูกรุกรานจาการโจมตีด้วยกำลังอาวุธ ประเทศภาคีทั้งหมดที่เหลือจะถือว่าเป็นอันตรายร่วมกัน และจะปฏิบัติการเพื่อเผชิญหน้ากับอันตรายร่วมกัน หรือถ้าหากพื้นที่ภายในเขตครอบคลุมของสนธิสัญญาถูกคุกคามด้วยประการใด ๆ ประเทศภาคีทั้งหมดจะปรึกษากันในทันที เพื่อตกลงในมาตรการเพื่อการป้องกันร่วมกันสำนักงานใหญ่ขององค์การซีโต้ตั้ง อยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยที่สถานการณ์ทางการเมืองของโลกได้เปลี่ยนไปมากทำให้องค์การซีโต้หมดความ จำเป็น และได้ยุบเลิกไปนานแล้ว [การทูต] |
betatron | เครื่องบีตาตรอน, เป็นเครื่องเร่งอิเล็กตรอนแบบหนึ่ง โดยที่อิเล็กตรอนถูกเร่งให้วิ่งเป็นวงกลมที่มีรัศมีคงที่ โดยใช้แรงกระทำที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็ก เครื่องเร่งที่มีลักษณะเป็นรูปโดนัท รัศมีวงจรประมาณ 0.75-1.00 เมตร เครื่องนี้สามารถเร่งอิเล็กตรอนให้มีพลังงานสูงถึง 340 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ บีตาตรอนเครื่องแรกสร้างโดย Donald W. Kerst ในปี พ.ศ.2483 ที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ (University of Illinois) ประเทศสหรัฐอเมริกา เร่งอิเล็กตรอนให้มีพลังงาน 2.5 ล้านอิเล็กตรอน [พลังงาน] |
Biosensor | ไบโอเซ็นเซอร์, อุปกรณ์ตรวจจับ บันทึก แสดง หรือส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา โดยที่อุปกรณ์ดังกล่าวทำงานโดยอาศัยสารชีวภาพ ในขั้ตอนใดขั้นตอนหนึ่งของการตรวจวัดสารเคมีหรือชีวโมเลกุลจำเพาะชนิดใดชนิดหนึ่ง [เทคโนโลยีชีวภาพ] |
Ad hoc Group on Article 13 | (คณะกรรมการ) ที่จัดตั้งโดยที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ สมัยแรก, (คณะกรรมการ) ที่จัดตั้งโดยที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ สมัยแรก เพื่อหาทางช่วยเหลือรัฐบาลที่เกี่ยวข้องในการขจัดอุปสรรคที่อาจประสบในการดำเนินการตามพันธกรณี [Climate Change] |
Gasohol | ก๊าซโซฮอล์หรือแก๊สโซฮอล์, ก๊าซโซฮอล์หรือแก๊สโซฮอล์ ส่วนผสมที่ได้จากน้ำมันเบนซิน 90 เปอร์เซ็นต์กับเอทิลแอลกอฮอล์ 10 เปอร์เซ็นต์ โดยที่เอทิลแอลกอฮอล์ที่ใช้มักได้จากพืช เช่น ข้าวโพด อ้อย และมันสำปะหลัง เป็นต้น [เทคโนโลยีชีวภาพ] |
Field or Fresh latex | น้ำยางธรรมชาติที่ได้จากต้นยางพารา มีลักษณะเป็นของเหลวสีขาวคล้ายน้ำนม มีสภาพเป็นคอลลอยด์หรือสารแขวนลอย มีความหนาแน่นอยู่ระหว่าง 0.975-0.980 กรัมต่อมิลลิลิตร มีค่า pH ประมาณ 6.5-7.0 ความหนืดของน้ำยางมีค่าประมาณ 12-15 เซนติพอยส์ โดยที่จะเติมหรือไม่เติมสารรักษาสภาพ (preservative) ก็ได้ ขึ้นกับระยะเก็บก่อนที่จะนำไปทำให้เข้มข้น หรือไปผ่านกระบวนการอื่นๆ ต่อไป [เทคโนโลยียาง] |
Viscoelasticity | สมบัติหยุ่นหนืด คือ พฤติกรรมการตอบสนองต่อความเค้นที่กระทำของวัสดุ เช่น พลาสติก ยาง เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวจะแสดงสมบัติของแข็งที่ยืดหยุ่น (elastic) และของเหลวหนืด (viscous) โดยที่สมบัติทางด้านการเปลี่ยนแปลงรูปร่างดังกล่าวนี้ขึ้นอยู่กับเวลา อุณหภูมิ ความเค้น (stress) และอัตราความเครียด (strain rate) [เทคโนโลยียาง] |
ตัวกระตุ้นทางใจ | ตัวกระตุ้นทางใจ, สิ่งที่ไปเร้าจิตใจให้เกิดการกระทำจัดการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่สิ่งนั้นอาจสร้างผลดีหรือผลเสียได้หลายรูปแบบ เช่น ความสับสน (Confusion) ความกดดัน (Pressure) ความเครียด (Stress) ความคับข้องใจ (Frustration) ความขัดแย้ง (Conflict) เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้ย้ [สุขภาพจิต] |
ความสุข | ความสุข, สิ่งที่ใช้บ่งบอกระดับสภาวะจิตใจของบุคคล ณ ช่วงเวลา หรือ สถานการณ์หนึ่ง ๆ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามที่บุคคลนั้นรู้สึก (ปัจจัยภายนอกตัวบุคคล) และรับรู้ (ปัจจัยภายในบุคคล) จากสิ่งกระตุ้น โดยที่การรับรู้จะมีอิทธิพลเหนือกว่าความรู้สึก เพราะใช้สร้างสมดุลของร่างกายแล [สุขภาพจิต] |
Embryo splitting | Embryo splitting, การโคลนนิ่งตัวอ่อน (embryo cloning) เนื่องจากเป็นการทำให้เกิดตัวอ่อนหลายตัวที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกัน โดยที่เซลล์ของตัวอ่อนจะถูกแบ่งออกไปตั้งแต่เซลล์ยังอยู่ในระยะที่สามารถ แบ่งตัวเพื่อเกิดตัวอ่อนที่เหมือนกันได้ และเซลล์ที่ถูกแยกไปจะสามารถพัฒนาเป็นตัว [ชีวจริยธรรม] |
double fertilization | การปฏิสนธิคู่, การปฏิสนธิที่พบในพืชดอกโดยที่สเปิร์มนิวเคลียสหนึ่งเข้าผสมกับเซลล์ไข่ ส่วนอีกสเปิร์มนิวเคลียสหนึ่งเข้าผสมกับโพลาร์นิวเคลียสภายในออวุลเดียวกัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
trial and error | การลองผิดลองถูก, พฤติกรรมที่สัตว์ตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยที่ยังไม่ทราบแน่ว่าจะมีผลดีหรือผลเสียต่อตัวเอง ต่อเมื่อได้ทดลองตอบสนองสิ่งเร้านั้นแล้ว ภายหลังจะเลือกตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่จะเป็นผลต่อตัวเองเท่านั้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
cleavage | คลีเวจ, ระยะที่ไซโกตมีการแบ่งเซลล์ เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ โดยที่ขนาดของไซโกตไม่เปลี่ยนแปลง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
commensalism | ภาวะอิงอาศัย, ความสัมพันธ์แบบหนึ่งของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกันโดยที่ฝ่ายหนึ่งได้รับประโยชน์จากการอยู่ร่วมกันนั้นและอีกฝ่ายหนึ่งไม่เสียประโยชน์แต่อย่างใด เช่น กล้วยไม้ที่เกาะบนต้นไม้ใหญ่ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
reflex | รีเฟล็กซ์, พฤติกรรมที่อยู่นอกอำนาจจิตใจแสดงออกโดยที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายตอบสนองในทันทีทันใดต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
gigantism | คนที่มีรูปร่างใหญ่มากกว่าปกติ, สภาวะที่ร่างกายเติบโตสูงใหญ่กว่าปกติโดยที่อวัยวะต่าง ๆ เจริญได้สัดส่วนกัน สภาวะดังกล่าวเกิดจากร่างกายสร้างฮอร์โมนโซมาโตโทรฟินมากเกินไปในวัยเด็ก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
random sampling | การสุ่มตัวอย่าง, การเลือกตัวอย่างสมาชิกของประชากรโดยที่ทุกสมาชิกในกลุ่มมีโอกาสได้รับเลือกเท่า ๆ กันโดยไม่เจาะจง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
power | เลขยกกำลัง, จำนวนจริงที่เขียนอยู่ในรูป xn โดยที่ x เป็นจำนวนจริงใด ๆ ที่ไม่เท่ากับศูนย์ และ n เป็นจำนวนนับใด ๆ ในบางครั้งใช้ในความหมายเดียวกับเลขชี้กำลัง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
characteristic of logarithm | แคแรกเทอริสติกของลอการิทึม, แคแรกเทอริสติกของ log N คือ n เมื่อ N = N0 x 10n โดยที่ 1< N0 < 10 และ n เป็นจำนวนเต็ม log N0 เรียกว่า แมนทิสซาและจะมีค่าเป็นบวกเสมอ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
cartesian product | ผลคูณคาร์ทีเซียน, ผลคูณคาร์ทีเซียนของเซต A และเซต B เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ A x B หมายถึงเซตของคู่อันดับ (a, b) ทั้งหมดโดยที่ a A และ b B [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
cosine function | ฟังก์ชันโคไซน์, ฟังก์ชันตรีโกณมิติชนิดหนึ่ง เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ cosine θ = x โดยที่ θ เป็นจำนวนจริง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
sine function | ฟังก์ชันไซน์, ฟังก์ชันตรีโกณมิติชนิดหนึ่ง อาจนิยามโดยอาศัยวงกลมหนึ่งหน่วยเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ sine q = y โดยที่ q เป็นจำนวนจริงที่แทนด้วยความยาวของส่วนโค้งที่วัดจากจุด (1, 0) บนวงกลมหนึ่งหน่วย ไปตามส่วนโค้งของวงกลม(โดยคิดทิศทาง) และมี (x, y) เป็นจุดปลายของส่วนโค้งที่ย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
natural logarithms [ Napierian logarithms ] | ลอการิทึมฐาน e, ลอการิทึมที่ใช้ฐาน e โดยที่ e เป็นสัญลักษณ์ใช้แทนจำนวนอตรรกยะจำนวนหนึ่งที่มีค่า 2.7182818 โดยประมาณ นิยมเขียนลอการิทึมฐาน e โดยไม่มีฐานกำกับ เช่น loge10 จะเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ In 10 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
remainder | เศษเหลือ, เมื่อหารจำนวนเต็มบวก m ด้วยจำนวนเต็มบวก n แล้วได้ผลลัพท์เป็นจำนวนเต็มบวก q ซึ่ง m = nq + r โดยที่ 0 < r < n เรียก r ว่าเศษ (ดู quotient ประกอบ) [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
fraction | เศษส่วน, จำนวนที่เขียนอยู่ในรูป a/b โดยที่ a และ b เป็นจำนวนเต็ม และ b ¹ 0 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
monomial | เอกนาม, จำนวนที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปของการคูณของจำนวนคงตัวใด ๆ กับตัวแปรตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป โดยที่กำลังของตัวแปรแต่ละตัวเป็นศูนย์หรือจำนวนเต็มบวก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
metallic bond | พันธะโลหะ, พันธะที่ยึดอะตอมของโลหะในก้อนโลหะไว้ด้วยกัน โดยที่อะตอมต่าง ๆ ใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
ionic bond | พันธะไอออนิก, พันธะที่ยึดเหนี่ยวอะตอมของธาตุให้อยู่ร่วมกัน โดยที่อะตอมของธาตุหนึ่งให้อิเล็กตรอนและอะตอมของอีกธาตุหนึ่งรับอิเล็กตรอน แล้วเกิดเป็นสารประกอบไอออนิก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
mixture | สารผสม, สารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปผสมกันอยู่โดยที่สารเหล่านี้ยังมีสมบัติเหมือนเดิมและสามารถแยกออกจากกันได้โดยวิธีง่าย ๆ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
parallel connection | การต่อแบบขนาน, การต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า(เช่นตัวต้านทาน)เข้ากับวงจรโดยที่ปลายทั้งสองของอุปกรณ์ต่อกับจุด 2 จุดร่วมกัน เพื่อแบ่งกระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์คร่อมอุปกรณ์แต่ละอันมีค่าเท่ากัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
heat conduction | การนำความร้อน, การถ่ายโอนความร้อนผ่านตัวกลางโดยที่ตัวกลางไม่เคลื่อนที่ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
latent heat | ความร้อนแฝง, ปริมาณความร้อนที่สารให้หรือรับไว้เพื่อใช้ในการเปลี่ยนสถานะ โดยที่สารนั้นมีอุณหภูมิคงตัว ความร้อนแฝงที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะของสารหนึ่งหน่วยมวลเรียกว่า ความร้อนแฝงจำเพาะ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
octave | คู่แปด, ช่วงระหว่างเสียง 2 เสียงใด ๆ โดยที่เสียงหนึ่งมีความถี่เสียงเป็น 2 เท่าของอีกเสียงหนึ่ง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
covalent bond | พันธะโคเวเลนซ์, พันธะที่ยึดเหนี่ยวอะตอมของธาตุให้อยู่ร่วมกัน โดยที่อะตอมคู่สร้างพันธะให้และใช้อิเล็กตรอนร่วมกันแล้วเกิดเป็นสารประกอบโคเวเลนซ์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
half-open interval | ช่วงครึ่งเปิด, ช่วงครึ่งเปิดของจำนวนจริง a, b เมื่อ a < b ใช้สัญลักษณ์ [ a, b) หรือ (a, b ] โดยที่ [ a, b) หมายถึง { x | a x < b } (a, b ] หมายถึง { x | a < x b } เช่น [ 2, 5) หมายถึงจำนวนจริงที่อยู่ระหว่าง 2 ถึง 5 โดยนับรวม 2 แต่ไม่ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
percentile | เปอร์เซ็นไทล์, ค่าของข้อมูล ณ จุด 99 จุด ที่แบ่งข้อมูลซึ่งเรียงจากน้อยไปหามากออกเป็น 100 ส่วน โดยที่แต่ละส่วนมีจำนวนข้อมูลเท่า ๆ กัน เรียกว่า เปอร์เซ็นไทล์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
eclipse of the moon[ lunar eclipse ] | จันทรุปราคา, ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ โลกและดวงจันทร์ โคจรเข้ามาอยู่ในแนวเดียวกัน โดยที่โลกจะอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ จึงบังแสงอาทิตย์ไว้ทำให้เกิดเงามืดบนดวงจันทร์ชั่วระยะเวลาหนึ่ง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
eclipse of the sun [ solar eclipse ] | สุริยุปราคา, ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรเข้ามาอยู่ในแนวเดียวกันโดยที่ดวงจันทร์จะอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก จึงบังแสงอาทิตย์ไว้ทำให้เกิดเงามืดบนพื้นโลกชั่วระยะเวลาหนึ่ง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |