หนามแหลมไม่มีใครเสี้ยม | น. คนที่มีปฏิภาณไหวพริบตามธรรมชาติโดยไม่ต้องมีใครสอน, มักใช้เข้าคู่กับ มะนาวกลมเกลี้ยงไม่มีใครกลึง. |
หมาขี้ไม่มีใครยกหาง | น. คนที่ชอบยกตัวเอง, คนโอ้อวด. |
ขายไม่ออก | ก. ไม่มีใครมาขอแต่งงาน เช่น ลูกสาวคนเล็กอายุ ๓๐ ปีแล้ว ยังขายไม่ออกเลย. |
ข้าวปากหม้อ | น. ข้าวสุกที่อยู่ในส่วนบนสุดของหม้อ ยังไม่มีใครตักกิน ใช้ตักบาตร หรือใช้เป็นข้าวในการตั้งเครื่องสังเวยพลีกรรมต่าง ๆ. |
ขึ้นซัง | ก. เข้าอยู่ในที่ซึ่งไม่มีใครจะทำอันตรายได้แล้ว, นั่งซัง ก็ว่า. |
ชะตากรรม | ความเป็นไป, ความเป็นตายร้ายดี, มักใช้ในทางไม่ดี เช่น เขาหายไปนาน ไม่มีใครรู้ชะตากรรม. |
เชื่อหน้า | ก. เชื่อในความซื่อสัตย์หรือความสามารถ เช่น ไม่มีใครเชื่อหน้าเขา เพราะชอบยืมเงินแล้วไม่ยอมใช้คืน นักกีฬาคนนี้แข่งแพ้อยู่เรื่อยจนไม่มีใครเชื่อหน้า. |
เดี่ยว ๑ | ว. แต่ลำพังตัวโดยไม่มีใครหรืออะไรร่วมด้วย เช่น มาเดี่ยว ทำเดี่ยว ไล่เดี่ยว เทียมเดี่ยว, เรียกการเล่นกีฬาบางชนิดซึ่งมีผู้เล่นข้างละคน เช่น เทนนิสประเภทเดี่ยว แบดมินตันประเภทเดี่ยว. |
แดน | น. เขต, พื้นที่ที่กำหนดไว้โดยตรงหรือโดยหมายรู้กัน, เช่น ชายแดน ลํ้าแดน, ถิ่นที่มีคน สัตว์ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งประเภทเดียวกันอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น แดนผู้ร้าย แดนเสือโคร่ง แดนกล้วยไข่ แดนโลกีย์, โลก เช่น สตรีใดในพิภพจบแดน ไม่มีใครได้แค้นเหมือนอกข้า ด้วยใฝ่รักให้เกินพักตรา จะมีแต่เวทนาเป็นเนืองนิตย์ (อิเหนา). |
ทั้งนี้ทั้งนั้น | ว. จะเป็นเช่นนี้หรือจะเป็นเช่นนั้นก็ตาม เช่น ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่มีใครรู้ความจริง เสนอโครงการไปหลายโครงการ ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้วแต่ว่าจะได้งบประมาณหรือไม่. |
นั่งซัง | เข้าอยู่ในที่ซึ่งไม่มีใครจะทำอันตรายได้แล้ว, ขึ้นซัง ก็ว่า. |
เบื่อเป็นยารุ | ว. เบื่อมากเหมือนกับยารุที่ไม่มีใครอยากกิน เพราะมีกลิ่นเหม็นและรสขมเฝื่อน. |
ปากหอยปากปู | ไม่กล้าพูด, พูดไม่ขึ้นหรือพูดไม่มีใครสนใจฟัง (ใช้แก่ผู้น้อย). |
ปาปมุต | ว. ไม่มีใครถือโทษ. |
ปาว ๆ | ว. อาการที่พูดดัง ๆ ซ้ำ ๆ ซาก ๆ แต่ไม่มีใครสนใจฟัง เช่น ครูสอนอยู่ปาว ๆ มีคนมาตะโกนเรียกอยู่ปาว ๆ. |
ปิดทองหลังพระ | ก. ทำความดีแต่ไม่ได้รับการยกย่อง เพราะไม่มีใครเห็นคุณค่า. |
ไพ่ตาย | น. ไพ่ในมือที่รอเข้าตองเข้าเศียรอยู่แต่ไม่มีใครทิ้งให้หรือเขาทิ้งให้คนอื่นซึ่งตนไม่มีสิทธิ์เก็บมาใช้ได้ เช่น ไพ่ตายคามือ, โดยปริยายหมายถึง เรื่องสำคัญที่สามารถให้คุณให้โทษได้ซึ่งอีกฝ่ายหนึ่งกำเป็นความลับไว้ เช่น เขากำไพ่ตายของคนนั้นไว้ จะบีบก็ตายจะคลายก็รอด. |
ม้ามืด | น. ม้าแข่งที่ชนะโดยไม่มีใครนึกคาดไว้, โดยปริยายหมายถึงเรื่องอื่นในอาการเช่นนั้น. |
มารหัวขน | (มาน-) น. ลูกที่อยู่ในท้องซึ่งยังไม่ปรากฏว่าใครเป็นพ่อ หรือไม่มีใครรับว่าเป็นพ่อ. |
เมาะตาโยกัก | ว. มีชื่อเสียงโด่งดัง, เลื่องลือไม่มีใครเสมอ. |
แลเหลียว | ก. เอาใจใส่ (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ลูกกำพร้าไม่มีใครแลเหลียว, เหลียวแล ก็ว่า. |
วัชรยาน | น. ชื่อหนึ่งของลัทธิพุทธตันตระ ซึ่งถือว่ามีหลักปรัชญาสูงเหนือธรรมชาติ มีความแข็งเหมือนเพชร ใสเหมือนอากาศ ไม่มีใครต้านทานได้เหมือนสายฟ้า จึงเรียกหลักปรัชญานั้นว่า วัชระ และเรียกลัทธิว่า วัชรยาน. |
เว้ย | อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความสงสัยหรือไม่พอใจเป็นต้น เช่น เว้ย ! ไม่มีใครอยู่สักคนเลย, โว้ย ก็ว่า. |
โว้ย | อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความสงสัยหรือไม่พอใจเป็นต้น เช่น โว้ย ! ไม่มีใครอยู่สักคนเลย, เว้ย ก็ว่า. |
สาบสูญ | น. เรียกบุคคลซึ่งได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตลอดระยะเวลา ๕ ปี และศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ว่า คนสาบสูญ ระยะเวลา ๕ ปี ดังกล่าว ลดลงเหลือ ๒ ปี นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในการรบหรือสงคราม และหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว หรือนับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทางไป ได้อับปาง ถูกทำลายหรือสูญหาย หรือนับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิต นอกจากที่ระบุไว้ใน ๒ กรณีดังกล่าวข้างต้นได้ผ่านพ้นไป ถ้าบุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น. |
สิ้นฝีมือ | ไม่มีใครเทียบความสามารถได้ เช่น ม่านนี้ฝีมือวันทองทำ จำได้ไม่ผิดนัยน์ตาพี่ เส้นไหมแม้นเขียนแนบเนียนดี สิ้นฝีมือแล้วแต่นางเดียว (ขุนช้างขุนแผน). |
สุดเสียง | ว. อาการที่ตะโกนหรือเปล่งเสียงเต็มที่ เช่น ฉันตะโกนเรียกจนสุดเสียงแล้วเขาก็ยังไม่ได้ยิน เขาร้องให้คนช่วยจนสุดเสียง แต่ไม่มีใครมาช่วย. |
เส็งเคร็ง | ว. เลว, ไม่ดี, ไม่มีค่า, ไม่มีราคา, เช่น ของเส็งเคร็งไม่มีใครต้องการ ป่านี้ไม้ดี ๆ ถูกตัดไปหมดแล้ว เหลือแต่ไม้เส็งเคร็ง. |
เสมอ ๑ | (สะเหฺมอ) ว. เท่ากัน, พอ ๆ กัน, เหมือนกัน, เช่น กรรมการตัดสินให้เสมอกัน ไม่มีใครแพ้ใครชนะ |
เสมอเหมือน | ว. เทียบเท่า, เทียบเหมือน, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ผู้หญิงคนนี้งามไม่มีใครเสมอเหมือน เด็กคนนั้นซนไม่มีใครเสมอเหมือน. |
เสือกกะโหลก | (-กะโหฺลก) ว. สาระแนเข้าไปทำการโดยไม่มีใครต้องการให้ทำ. |
หมากลางถนน | น. หมาที่ไม่มีเจ้าของ, โดยปริยายใช้เป็นสำนวนเปรียบเทียบคนที่ไม่มีสังกัด ไม่มีญาติพี่น้อง ยากจนอนาถา ไม่มีใครเหลียวแล เช่น เขาตายอย่างหมากลางถนน. |
หมาหัวเน่า | น. คนซึ่งเป็นที่รังเกียจของคนอื่นจนไม่สามารถเข้ากับใครได้, คนที่ไม่มีใครรักหรือคบหา. |
หายกัน | ก. ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบกัน. |
เหลียวแล | ก. เอาใจใส่ดูแล เช่น พ่อแม่แก่แล้วต้องเหลียวแลท่านให้มาก เด็กคนนี้ไม่มีใครเหลียวแลเลย. |
เหลือเดน, เหลือเดนเลือก | ว. ที่ไม่มีใครต้องการแล้ว, เหลือจากที่ใคร ๆ เลือกกันหมดแล้ว. |
ใหม่ถอดด้าม, ใหม่เอี่ยม | ว. ใหม่ยังไม่มีใครใช้, ใหม่จริง ๆ. |
อาภัพเหมือนปูน | ทำดีแต่มักถูกมองข้ามไปหรือไม่มีใครมองเห็น คล้ายในการกินหมาก จะต้องมีหมาก พลู ปูน ๓ อย่างประกอบกัน แต่คนมักพูดว่า กินหมากกินพลู โดยมิได้พูดถึงปูนเลย จะพูดถึงบ้างก็เป็นไปในทางที่ไม่ดีว่า ปูนกัดปาก. |