ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: จะต้อง, -จะต้อง- |
Bumiputera | (n) (การเมือง) ภูมิบุตร หมายถึง ชาวมาเลย์ที่เป็นมุสลิมและมีถิ่นฐานอยู่ในอาณาเขตของประเทศมาเลเซียปัจจุบัน เช่น minimum 30% Bumiputera shareholding requirement หมายถึงจะต้องมีผู้ถือหุ้นเป็นชาวมาเลย์ดังกล่าวเกิน 30% ของผู้ถือหุ้นทั้งหมด, See also: S. Bhumiputera |
| sugar' syndrome | (n) Sugar' Syndrome = เป็นอาการของคนที่มักมองคนที่พิการทางร่างกายว่าจะต้องมีอาการพิการทางสมองไปด้วยและไม่เคยถามกันซึ่งๆหน้า (physically disabled people assumed to be mentally disabled too and never asked directly) | ฌาณ | (n) ฌาณ หรือ อธิจิต(supraconscious) เป็นจิตที่เป็นที่สุดของปัญญา คือความรู้ชัดธรรมชาติของมนุษย์ว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(คือความรู้มรรค 8 การคิดปฏิบัติเพื่อดับทุกข์) เป็นจิตที่อยู่เหนือและสามารถ ควบคุมหรือข่ม ได้ทั้งจิตสำนึก(consious) และจิตใต้สำนึก(subconsious) ซึ่งเป็นความรู้ที่สูดของวิญญาณคือความรู้แจ้งของธรรมชาติของมนุษย์ว่า นี้สุข นี้ทุกข์ นี้มิใช่ทุกข์ มิใช่สุข อธิจิตใช้สำหรับดับกิเลส ซึ่งสามารถทำให้เกิดนิมิตขึ้นมาได้ เพื่อดับกิเลสในเวลาที่เกิดกิเลสขึ้น พระผู้มีพระภาค(พระพุทธเจ้า)ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ไว้ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์๑๐. วิตักกสัณฐานสูตรว่าด้วย อาการแห่งวิตก การเรียกอธิจิตของตนเอง ถ้าไม่มีพรสวรรค์หรือบารมีที่สะสมมาแต่ปางก่อน จะเรียกไม่ได้ เพราะจิตยังไม่มั่นคงพอ จะต้องเรียนรู้และทำความเพียรที่ทนได้ยาก ฝึกฝน จนเกิดความชำนาญ ซึ่งข้าพเจ้ามีความสามารถที่จะให้คนทั่วไปเรียกอธิจิตของตนเองได้ เช่นให้ผู้ป่วยเรียกอธิจิตของเขาออกมารักษาโรคภัยไข้เจ็บทั้งทางกายและใจของเขาที่เป็นอยู่ โดยสั่งให้จิตของเขาตกอยู่ในภาวะภวังค์ ด้วยการสั่งระงับจิตหยาบที่ทำให้เขาเกิดโรคทั้งทางกายและทางใจ เพื่อเขาจะได้มีจิตที่มั่นคงถึงอธิจิตแล้วสั่งยาหรือภูมิต้านทานในตัวของเขาออกมารักษาโรค ซึ่งได้ผลดีกว่าแพทย์แผนปัจจุบัน และแพทย์ทางเลือกวิธีอื่น นี่คือประโยชน์จากการเรียกหรือฝึกเรียกอธิจิตของตนเอง ซึ่งพระพุทธเจ้าสามารถเรียก Stem cell ในพระวรกายของพระองค์ออกมารักษาโรคได้นานมาแล้วหรือมากกว่า 2554 ปี ส่วนนักวิทยาศาสตร์พึ่งจะมาค้นพบวิธีใช้ Stem cell รักษาบางโรคเมื่อ 50 ปีมานี้เอง การรักษายังมีข้อบ่กพร่องและเงื่อนไขในการรักษาเพื่อจะได้ผลลัพท์จนเป็นที่น่าพอใจของแพทย์อยู่อีกมาก แต่วิธีของพระพุทธองค์ไม่มีเงื่อนไข ถ้าคนป่วยสามารถเรียกอธิจิตของตนเองได้ ข้าพเจ้าได้ใช้อธิจิตรักษา โรคปวดตามอวัยวะและโรคหวัดป่วยของข้าพเจ้าเอง และรักษาโรคปวดและอัมพาลให้กับคนป่วยแล้วหลายราย ซึ่งได้รับผลเป็นที่น่าพอใจของข้าพเจ้าและของคนป่วย |
|
| กฐิน, กฐิน- | คำ กฐิน นี้ ใช้ประกอบกับคำอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [ กะถินนะกาน ] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมคํ่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่าเทศกาลกฐิน [ เทดสะกานกะถิน ] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจำนงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทำพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กำหนดไว้ในพระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอันเป็นบริวารสำหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [ บอริวานกะถิน ] เมื่อนำผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวนแห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐินตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [ อะนุโมทะนากะถิน ] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของการทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน , ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน). | กรสุทธิ์ | (กะระ-) น. “การชำระมือให้หมดจด”, พิธีอย่างหนึ่งของพราหมณ์ ก่อนที่จะประกอบพิธีใด ๆ จะต้องชำระมือให้สะอาดเสียก่อน, กระสูทธิ์ ก็ว่า. | กระวายกระวน | ก. กระวนกระวาย, วุ่นวายใจ, แสดงอาการวุ่นวายไม่เป็นสุข, เช่น เมื่อเราอยู่ที่นี้จะต้องกระวายกระวนด้วยเหลือบยุงริ้นร่าน (ม. ร่ายยาว สักบรรพ). | กรับเสภา | น. กรับชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้แก่นเช่นไม้ชิงชัน มี ๔ ด้าน ด้านหนึ่งโค้งสำหรับกระทบให้เกิดเสียง ยาวประมาณ ๒๐ เซนติเมตร หนาประมาณ ๕ เซนติเมตร ลบเหลี่ยมเล็กน้อยเพื่อมิให้บาดมือและให้สามารถกลิ้งตัวกระทบกันได้สะดวก ใช้ขยับประกอบในการขับเสภา โดยผู้ขับเสภาจะต้องใช้กรับ ๒ คู่ ประคองไว้ในอุ้งมือข้างละคู่ ขณะที่ขับเสภาก็ขยับกรับแต่ละคู่ให้กระทบกันให้สอดคล้องกับท่วงทำนองขับ, กรับขยับ ก็ว่า. | กลอนบทละคร | น. กลอนเล่าเรื่อง ใช้เป็นบทแสดง วรรคแรกจะต้องขึ้นต้นด้วย เมื่อนั้น บัดนั้น หรือ มาจะกล่าวบทไป. | กำหนดการ | น. ระเบียบการที่บอกถึงขั้นตอนของงานที่จะต้องทำตามลำดับ. | กินข้าวลิง | ก. กินสิ่งที่พอจะหาได้ เพราะไปตกอยู่ในที่ที่ไม่มีอาหารจะกิน เช่น ไปเที่ยวป่าคราวก่อน หลงทางอยู่นาน เกือบจะต้องกินข้าวลิงเสียแล้ว. | ขว้างจักร | (-จัก) น. กรีฑาประเภทลานอย่างหนึ่ง ผู้แข่งขันจะต้องยืนอยู่ในวงเขตที่กำหนด แล้วขว้างจานไม้กลมตรงกลางนูนทั้ง ๒ ข้างออกไปให้ไกลที่สุด. | ขิ่ง | ก. พยายามทำสิ่งที่ยากอันตนจะต้องทำให้เสร็จ เช่น ท้าวธผู้ข้อนขิ่งทำทาน (ม. คำหลวง ชูชก). | เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า | ก. ให้มีความรอบคอบอย่าประมาท เช่นเดียวกับเวลาจะเข้าป่าจะต้องหามีดติดตัวไปด้วย. | ความรู้สึกเขื่อง, ความรู้สึกเด่น | น. ความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถเหนือกว่าหรือดีเด่นกว่าผู้อื่น ความรู้สึกนี้ไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในจิตใต้สำนึก แต่ถ้าเกิดขึ้นเสมอ ๆ และมิได้แก้ไขหรือได้รับการสนับสนุน เช่นในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ก็อาจเก็บสะสมไว้เกิดเป็นนิสัยของบุคคลนั้นได้ | ความรู้สึกด้อย | น. ความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถไม่เท่าเทียมบุคคลทั่วไป ความรู้สึกนี้ไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในจิตใต้สำนึกและผู้นั้นไม่จำเป็นต้องมีปมด้อย อาจเกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมหรือในบางขณะเท่านั้น แต่ถ้าเกิดขึ้นเสมอ ๆ และมิได้แก้ไข ก็อาจเก็บกดไว้จนเกิดเป็นปมด้อยได้ | คับขัน | ว. จำเป็นเฉพาะหน้าที่จะต้องทำหรือต้องสู้ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้, เข้าที่ลำบากหรือจำเป็น, ขับขัน ก็ว่า. | คู่โค | น. นาที่ต้องเสียค่านาตามหน้าโฉนดทุก ๆ ปี ผิดกับนาฟางลอย ซึ่งต้องเสียค่านาแต่เฉพาะในปีที่ปลูกข้าว. [ “ที่เรียกว่า นาคู่โค เพราะวิธีเก็บหางข้าวนาชนิดนี้นับจำนวนโค (กระบือ) ที่ใช้ทำนาในที่นั้น ๆ ด้วยถือเป็นยุติว่า โคคู่หนึ่งคงจะทำนาในที่เช่นนั้นได้ผลประมาณปีละเท่านั้น เอาเกณฑ์จำนวนโคขึ้นตั้งเป็นอัตราหางข้าวที่จะต้องเสีย เพราะฉะนั้น นาคู่โค ถึงจะทำหรือมิทำจึงต้องเสียหางข้าว” พงศ. ร. ๒ ]. | จับตาย | ก. จับตัวมาให้ได้แม้ว่าจะต้องทำให้ตาย. | ฉุกเฉิน | ว. ที่เป็นไปโดยปัจจุบันทันด่วนและจะต้องรีบแก้ไขโดยฉับพลัน เช่น เหตุฉุกเฉิน, ที่อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร เช่น ภาวะฉุกเฉิน สถานการณ์ฉุกเฉิน. | เฉพาะหน้า | ว. ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ๆ และจะต้องรีบแก้ไขให้ทันท่วงที เช่น ปัญหาเฉพาะหน้า เหตุการณ์เฉพาะหน้า. | ซ่อนหา, ซ่อนแอบ | น. การเล่นอย่างหนึ่งของเด็ก คนหนึ่งหา คนอื่นไปซ่อน คนที่ถูกพบคนแรกจะต้องเปลี่ยนมาเป็นฝ่ายหาต่อไป. | เซปักตะกร้อ | น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง ใช้ลูกตะกร้อส่งข้ามตาข่ายโต้กันไปมา โดยใช้ขา เท้า เข่า ลำตัว และศีรษะ เพื่อรับส่งลูก มีผู้เล่นฝ่ายละ ๓ คน การเริ่มส่งลูกแต่ละครั้ง ฝ่ายส่งจะต้องยืนอยู่ในตำแหน่งที่กำหนดไว้ การเล่นแบ่งเป็น ๓ เซต ฝ่ายที่ชนะ ๒ ใน ๓ เซต คือ ฝ่ายชนะ. | ตราไปรษณียากร | น. แสตมป์, (กฎ) บัตรตราใด ๆ ซึ่งจัดให้มีขึ้น เพื่อใช้เป็นค่าไปรษณียากร หรือค่าธรรมเนียมอื่น หรือจำนวนเงินที่จะต้องเสียในการส่งไปรษณียภัณฑ์ รวมทั้งตราไปรษณียากรสำหรับผนึก หรือตราไปรษณียากรที่พิมพ์ ดุน หรือแสดงไว้โดยวิธีอื่นบนซอง กระดาษห่อ ไปรษณียบัตร หรือสิ่งอื่น ๆ. | ต้องกัน | ว. ตรงกัน, พ้องกัน, ถูกกัน, เช่น ฤๅวาสนาน้องจะต้องกัน (อิเหนา), พยานให้การต้องกัน. | ถอย | เลิก, ไม่ทำต่อ, เช่น งานนี้หนักมาก ทำต่อไปไม่ไหวแล้วเห็นจะต้องถอย. | ถอยฉาก | ก. ถอยหลังพร้อมกับเบี่ยงตัวหลบทันที, หลบอย่างมีชั้นเชิง, โดยปริยายหมายความว่า หลบไป หรือ เลี่ยงกัน เช่น งานนี้สู้ไม่ไหว เห็นจะต้องถอยฉากไปก่อน. | ทัณฑกรรม | โทษทางวินัยสถานหนึ่งตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารและกฎหมายว่าด้วยวินัยตำรวจ คือ ให้ทำงานโยธา งานสุขา งานสาธารณประโยชน์ หรือให้อยู่เวรยาม นอกจากหน้าที่ประจำซึ่งตนจะต้องปฏิบัติอยู่แล้ว. | ทุก ๑, ทุก ๆ | ว. แต่ละหน่วย ๆ ของจำนวนทั้งหมด, ทั้งหมดโดยหมายแยกเป็นหน่วย ๆ, เช่น คนที่เกิดมาแล้วมีปัญญาด้วยกันทุกคน แต่ทุกคนมีปัญญาไม่เท่ากัน ทุก ๆ คนจะต้องช่วยเหลือกัน. | นรก | (นะ-) น. แดนหรือภูมิที่เชื่อกันว่าผู้ทำบาปจะต้องไปเกิดและถูกลงโทษ, โดยปริยายหมายถึงแดนที่มีแต่ความทุกข์ทรมาน. | บ้อ, บ้อหุ้น | น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง เขียนตารางสี่เหลี่ยมหรือวงกลมลงบนพื้น มีผู้เล่น ๒ ฝ่าย แต่ละฝ่ายออกสตางค์ฝ่ายละ ๒-๓ อัน เอามารวมกัน ฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้โยนสตางค์ทั้งหมดลงในตารางหรือวงกลมนั้นให้กระจาย อีกฝ่ายหนึ่งจะชี้สตางค์อันใดอันหนึ่งให้ฝ่ายโยน ฝ่ายโยนจะต้องใช้สตางค์อีกอันหนึ่ง เรียกว่า “อีตัว” โยนลงให้ประกบสตางค์อันที่เขาชี้ให้ ถ้าโยนลงไปประกบได้ ก็เป็นฝ่ายชนะ ได้สตางค์ทั้งหมด ถ้าโยนถูกสตางค์อันอื่น ก็เป็นฝ่ายแพ้ ต้องเสียสตางค์ทั้งหมดให้ฝ่ายชี้ แต่ถ้าฝ่ายโยนไม่มั่นใจว่าจะโยนอีตัวไปประกบได้ ก็อาจโยนอีตัวลงไปในที่ว่าง เรียกว่า “อู้ไว้” หมายความว่า กินไม่ได้ แล้วอีกฝ่ายหนึ่งก็จะเป็นผู้โยนบ้าง ฝ่ายที่โยนก่อนก็เปลี่ยนมาเป็นผู้ชี้บ้าง. | บุพกิจ | น. กิจที่จะต้องทำก่อน. | เบี้ยบ้ายรายทาง | น. เงินที่จะต้องใช้จ่ายหรือเสียไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ทำธุรกิจสำเร็จ. | เบี้ยประกันภัย | น. จำนวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องชำระให้แก่ผู้รับประกันภัยตามสัญญา เพื่อที่จะได้รับเงินผลประโยชน์หรือค่าสินไหมทดแทนเมื่อตนเสียชีวิต หรือเมื่อได้รับความเสียหายตามชนิดของภัยที่ได้เอาประกันภัยไว้. | เบี้ยปรับ | เงินค่าปรับที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรจะต้องเสียเพิ่มขึ้นจากจำนวนภาษีอากรที่ต้องชำระ ในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนดไว้. | ประจำ | ที่กำหนดให้มีเป็นปรกติ เช่น งานประจำปี, เรียกรถโดยสารที่วิ่งอยู่บนเส้นทางใดเส้นทางหนึ่งเป็นปรกติ ว่า รถประจำทาง, เรียกครูหรืออาจารย์ที่สอนและดูแลรับผิดชอบนักเรียนชั้นใดชั้นหนึ่งเป็นปรกติ ว่า ครูหรืออาจารย์ประจำชั้น, เรียกบัตรที่ออกให้ไว้เฉพาะบุคคลและจะต้องเก็บไว้กับตัวเป็นปรกติ ว่า บัตรประจำตัว, เรียกลูกจ้างที่จ้างไว้เป็นปรกติ ไม่ใช่ชั่วคราว ว่า ลูกจ้างประจำ, เรียกผู้ที่มาติดต่อหรือไปมาหาสู่กันเสมอเป็นปรกติ เช่น ลูกค้าประจำ ขาประจำ, ลักษณะการฝากเงินไว้กับธนาคารโดยจะได้รับดอกเบี้ยเมื่อฝากครบตามเวลาที่กำหนดไว้ เรียกว่า ฝากประจำ. | ประทับฟ้อง | ก. รับฟ้องคดีอาญาไว้พิจารณาต่อไป ในคดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์ศาลจะต้องไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อนและถ้าปรากฏว่าคดีมีมูลแล้ว ศาลจึงจะประทับฟ้องไว้พิจารณาต่อไป. | ประเมินภาษี | ก. กำหนดจำนวนเงินที่จะต้องเสียเป็นภาษี, กำหนดจำนวนเงินที่เจ้าพนักงานเรียกเก็บเป็นภาษีจากผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามที่ได้ประเมินไว้แล้ว ซึ่งอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้. | ปริยัติธรรม | (ปะริยัดติทำ) น. ธรรมที่จะต้องเล่าเรียนได้แก่พระไตรปิฎก. | ปริศนาอักษรไขว้ | น. ปริศนาที่จะต้องตอบโดยการเติมคำลงในตารางสี่เหลี่ยมที่กำหนดให้ช่องละ ๑ อักษร แล้วให้อ่านได้ใจความทั้งในแนวยืนและแนวนอน. | ปริสัญญู | (ปะ-) น. ผู้รู้จักประชุมชนและกิริยาที่จะต้องประพฤติต่อประชุมชนนั้น ๆ ว่า หมู่นี้เมื่อเข้าไปหาจะต้องทำกิริยาอย่างนี้ จะต้องพูดอย่างนี้ เป็นต้น. | ปลงสังขาร | ก. พิจารณาเห็นว่าเราจะต้องตายเป็นแน่แท้. | ผูกพัน | ก่อให้เกิดพันธะที่จะต้องปฏิบัติตาม | พอ | ว. เท่าที่ต้องการ, ควรแก่ความต้องการ, เต็มเท่าที่จำเป็น, เต็มตามต้องการ, เช่น ในการเดินทางจะต้องเตรียมเงินไปเท่าไรจึงจะพอ | พิกัด ๑ | น. กำหนด (ของต้องพิกัด หมายความว่า ของเข้ากำหนดที่จะต้องเสียภาษีอากร). | พึง | ว. คำช่วยกริยาอื่น หมายความยอมตาม แปลว่า ควร เช่น พึงไป ว่า ควรไป, หมายความจำเป็น แปลว่า ต้อง เช่น กิจที่สงฆ์จะพึงทำ ว่า กิจที่สงฆ์จะต้องทำ. | ภาระติดพัน | น. ความผูกพันที่จะต้องกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง. | ภาษาแบบแผน | น. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียวกันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า “ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม...” และลงท้ายว่า “ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...”, ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคลสำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับพิธีการ ก็เรียก. | มอญซ่อนผ้า | น. ชื่อการเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง โดยผู้เล่นนั่งล้อมวง ผู้ซ่อนผ้าจะถือผ้าซึ่งมักฟั่นให้เป็นเกลียวเดินวนอยู่นอกวง เมื่อเห็นผู้ใดเผลอก็ทิ้งผ้านั้นไว้ข้างหลังและทำเสมือนว่ายังไม่ได้ทิ้งผ้า แล้วเดินวนอีก ๑ รอบ ถ้าผู้ที่มีผ้าวางอยู่ข้างหลังยังไม่รู้สึกตัว ก็หยิบผ้านั้นขึ้นมาตี ผู้ถูกตีจะต้องลุกขึ้นวิ่งหนีไป ๑ รอบ แล้วกลับไปนั่งที่เดิม ผู้ซ่อนผ้าก็จะเดินวนต่อไปหาทางทิ้งผ้าให้ผู้อื่นใหม่ แต่ถ้าผู้นั้นรู้ตัวก่อน ก็จะหยิบผ้าลุกขึ้นไล่ตีผู้ซ่อนผ้าให้วิ่งไป ๑ รอบ ผู้ซ่อนผ้าก็จะมานั่งแทนที่ ผู้ที่ไล่ตีนั้นก็จะเป็นผู้ซ่อนผ้าต่อไป. | มั่นใจ | ก. แน่ใจ, เชื่อใจ, เช่น คราวนี้มั่นใจว่าจะต้องสอบได้. | มั่นเหมาะ | ว. แน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง เช่น พูดไว้เป็นมั่นเหมาะว่าวันนี้จะต้องพบกัน. | ไม้สูง | น. งานช่างไม้ที่ต้องใช้ศิลปะชั้นสูง ทำสิ่งเกี่ยวกับเครื่องยอดเครื่องสูง เช่น ยอดปราสาท ยอดเจดีย์ ยอดบุษบก, เรียกช่างที่ทำงานในลักษณะเช่นนี้ ว่า ช่างไม้สูง, เรียกการละเล่นที่ผู้เล่นจะต้องต่อขาให้สูงขึ้นด้วยไม้คู่หนึ่ง ส่วนมากเป็นไม้กระบอก มีลูกทอยสำหรับเหยียบ ว่า เล่นเดินไม้สูง, เรียกการละเล่นไต่ลวดตีลังกา ว่า เล่นไม้สูง | ไม้หวงห้าม | น. ไม้ซึ่งการทำไม้และการเคลื่อนย้ายจะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือได้รับสัมปทานตามกฎหมายป่าไม้. | ไม้หึ่ง | น. ชื่อการเล่นซึ่งประกอบด้วยไม้แม่หึ่งยาวประมาณศอกคืบ ๑ อัน และลูกหึ่งยาวประมาณ ๑ คืบ ๑ อัน โดยแบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๓-๕ คน ฝ่ายหนึ่งจะเอาลูกหึ่งวางขวางบนหลุมซึ่งขุดเป็นรางยาวประมาณ ๑ คืบ เรียกว่า รางไม้หึ่ง แล้วใช้ไม้แม่หึ่งปักปลายลงในราง งัดลูกหึ่งออกไปให้อีกฝ่ายหนึ่งรับ เมื่อฝ่ายรับรับลูกหึ่งได้ก็จะมาเป็นฝ่ายส่งบ้าง แต่ถ้าฝ่ายรับรับลูกไม่ได้ก็จะต้องวิ่งร้องหึ่งมาที่หลุม ในแต่ละถิ่นมีวิธีการเล่นต่าง ๆ กัน. |
| | ถวายพระพรลา | กระทำภายหลังจากที่พระสงฆ์สวดบท ภวตุ สพฺพมงฺคลํ เสร็จเรียบร้อยแล้ว พระสงฆ์รูปที่ ๒ จะต้องเป็นผู้กล่าวถวายพระพรลา ซึ่งมีข้อความดังต่อไปนี้ คือ "ขอถวายพระพร เจริญพระราชสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล พระชนมสุขทุกประการ จงมีแด่สมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภาร พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ เวลานี้สมควรแล้ว อาตมภาพทั้งปวง ขอถวายพระพรลา แด่สมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภาร พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ขอถวายพระพร" [ศัพท์พระราชพิธี] | Cost, Insurance and Freight | ประเภทของสัญญาซื้อขายน้ำมันที่ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบในการส่งน้ำมันไปถึงผู้ซื้อ , ประเภทของสัญญาซื้อขายน้ำมันที่ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบในการส่งน้ำมันไปถึงผู้ซื้อ และจะต้องเป็นผู้จ่ายค่าขนส่งและค่าประกันภัยแทนผู้ซื้อ [ปิโตรเลี่ยม] | Daily Contract Quantity | ปริมาณก๊าซที่ผู้ขายจะต้องส่งมอบตามสัญญาให้แก่ผู้ซื้อในแต่ละวัน [ปิโตรเลี่ยม] | Fish/Fishing | อุปกรณ์การเจาะ, อุปกรณ์การเจาะ เช่น ก้านเจาะ ที่หลุดและติดค้างอยู่ในหลุมเจาะซึ่งจะต้องกู้และนำออกจากหลุมเจาะก่อนที่จะทำการเจาะต่อไปได้ [ปิโตรเลี่ยม] | Free on Board | สัญญาการซื้อขายน้ำมัน, สัญญาการซื้อขายน้ำมันประเภทที่ผู้ขายรับผิดชอบในการขนถ่ายน้ำมันลงเรือของผู้ซื้อ ณ ท่าเรือขนถ่าย ความสูญเสียหรือภัยอันตรายที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางผู้ซื้อจะต้องรับผิดชอบเอง [ปิโตรเลี่ยม] | Safety culture | วัฒนธรรมความปลอดภัย, พฤติกรรมขององค์กรและบุคคลในองค์กร ที่สะท้อนการได้รับการปลูกจิตสำนึกด้านความปลอดภัย ทั้งจากการอบรม การเรียนรู้และการถ่ายทอด จนเกิดเป็นนิสัยและเจตคติที่ให้ความสำคัญต่อการระวังป้องกันเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ตัวอย่างเช่น ผู้ปฏิบัติงานทางนิวเคลียร์และรังสี ย่อมรู้ดีว่าจะต้องใช้อุปกรณ์ใดบ้างเพื่อให้เกิดความปลอดภัย เช่น ต้องติดมาตรปริมาณรับรังสี ต้องใช้เครื่องมือหยิบจับสารกัมมันตรังสี มีวัสดุและอุปกรณ์กำบังรังสีที่พอเพียง รวมทั้งการสวมแว่นตาและหน้ากากกันไอระเหย ให้เหมาะสมตามลักษณะของงาน [นิวเคลียร์] | Radioprotector | สารลดผลของรังสี, สารหรือยาลดประสิทธิภาพของรังสีในการทำลายเซลล์ เช่น สารประกอบที่มีกลุ่มซัลฟ์ไฮดริล (sulfhydryl, -SH) ทั้งนี้เซลล์จะต้องมีสารกลุ่มนี้อยู่ในขณะที่ได้รับรังสีจึงจะเกิดผลในการป้องกันการทำลายเซลล์ ถึงแม้เซลล์ได้รับสารนี้ในทันทีหลังการได้รับรังสี ก็จะไม่มีผลในการป้องกันใดๆ [นิวเคลียร์] | Radiation disinfestation | การยับยั้งการแพร่พันธุ์ของแมลงด้วยรังสี, การฉายรังสีอาหารหรือผลิตผลการเกษตรด้วยปริมาณรังสีไม่เกิน 1 กิโลเกรย์ เพื่อทำลายแมลงและยับยั้งการแพร่พันธุ์ ทั้งนี้อาหารหรือผลิตผลการเกษตรจะต้องบรรจุในภาชนะที่เหมาะสมเพื่อป้องกันแมลงที่จะมาทำลายหลังการฉายรังสีแล้ว อาหารหรือผลิตผลการเกษตรที่ใช้กรรมวิธีนี้ เช่น มะม่วง มะละกอ เมล็ดโกโก้ ถั่ว ข้าว ข้าวสาลี ปลาแห้ง ปลารมควัน ดอกกล้วยไม้ <br>(ดู food irradiation ประกอบ) </br> [นิวเคลียร์] | supercomputer | ซูเปอร์คอมพิวเตอร์, คอมพิวเตอร์ที่มีขีดความสามารถสูง คิดคำนวณได้เร็วมากกว่าคอมพิวเตอร์ประเภทอื่นๆ ชื่อซูเปอร์คอมพิวเตอร์นี้เดิมที่ตั้งขึ้นเพื่อเรียกคอมพิวเตอร์ Cray-1 ซึ่งเป็นเครื่องที่ผลิตโดยบริษัท Cray Research และต่อมามีผู้พัฒนาเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์อีกมาก รวมทั้งบริษัทคอมพิวเตอร์ในญี่ปุ่นด้วย ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีความเร็วสูงมาก และโดยทั่วไปถือว่าจะต้องเร็วกว่า 300 MFLOPS คือคำนวณเลขจุดลอยตัวได้เกินกว่า 300 ล้านคำสั่งต่อวินาที ซูเปอร์คอมพิวเตอร์นั้นอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงยิ่ง (high performance computer) [คอมพิวเตอร์] | syntax error | ผิดไวยากรณ์, ความผิดพลาดในโปรแกรมอันเกิดจากการสะกดคำสั่งผิดบ้าง หรือใช้รูปแบบคำสั่งผิดบ้าง โปรแกรมทีเขียนด้วยภาษาระดับสูงนั้นจะต้องนำไปแปลเป็นภาษาเครื่องก่อนจึงจะนำไปใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ได้ ในการแปลนั้นตัวแปลภาษาจะตรวจสอบการใช้ไวยากรณ์ในโปรแกรมนั้นไปด้วย ถ้าหากมีที่ผิดตัวแปลภาษาก็จะรายงานความผิดพลาดให้ทราบ เพื่อที่เราจะได้นำไปพิจารณาแก้ไข [คอมพิวเตอร์] | Irradiated food | อาหารฉายรังสี, อาหารที่ผ่านการฉายรังสีด้วยปริมาณรังสีที่เหมาะสม ซึ่งไม่ก่อให้เกิดสารกัมมันตรังสี หรือมีรังสีตกค้างแต่ประการใด จึงไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค อาหารที่ผ่านการฉายรังสีเพื่อการพาณิชย์ภายในประเทศจะต้องมีฉลากแสดงข้อความ และเครื่องหมายว่าผ่านการฉายรังสีแล้ว พร้อมทั้งระบุวัตถุประสงค์ของการฉายรังสี ชื่อ ที่ตั้ง ของผู้ผลิต และผู้ฉายรังสี วัน เดือน ปี ที่ฉายรังสี, Example: [นิวเคลียร์] | Agreement | การที่รัฐที่ผู้จะไปประจำตำแหน่งในรัฐนั้นได้ตกลง เห็นชอบกับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอชื่อให้เป็นผู้แทนทางการทูต อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้ บัญญัติไว้ว่า1. รัฐผู้ส่งไม่จำเป็นต้องทำให้เป็นที่แน่นอนว่า รัฐผู้รับได้ให้ความเห็นชอบแล้ว สำหรับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอจะแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไปยังรัฐนั้น2. รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องให้เหตุผลแก่รัฐผู้ส่งในการปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตซึ่งรอการถวายสารตราตั้งจะต้องเริ่มดำเนิน การเพื่อเดินทางไปยังรัฐผู้รับในเรื่องนี้ มีตัวอย่างไม่น้อยที่รัฐผู้รับปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบด้วยเหตุผลบางอย่าง นับตั้งแต่อ้างว่า การเสนอชื่อผู้รับการแต่งตั้งได้กระทำกะทันหันเกินไป และมิได้แจ้งข้อเท็จจริงมาก่อน หรือว่าผู้ที่ได้รับการเสนอให้เป็นผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเคยกล่าวตำหนิ วิพากษ์รัฐผู้รับ หรือผู้รับการเสนอชื่อมมีภรรยาเป็นชาวยิว หรือผู้รับการเสนอชื่อถือศาสนาโรมันคาทอลิก หรือผู้นั้นเคยปฏิบัติไม่ดีต่อชนชาติของรัฐผู้รับ หรือผู้นั้นในขณะนั้นกำลังอยู่ในระหว่างถูกฟ้องร้อง ถูกกล่าวหาว่าฉ้อโกง เป็นต้นกล่าวโดยย่อ agr?ment คือ การให้ความเห็นชอบของรัฐผู้รับ แก่บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อจากรัฐผู้ส่งให้เป็นผู้แทนทางการทูตนั่นเอง [การทูต] | ASEAN Industrial Cooperation Scheme | โครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมอาเซียน เป็นมาตรการเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัตถุดิบการผลิตในรูปสินค้าสำเร็จ รูป/กึ่งสำเร็จรูป เพื่อใช้ในการผลิตทางอุตสาหกรรมระหว่างบริษัทที่ตั้งอยู่ในประเทศอาเซียน อันจะเป็นการสนับสนุนการแบ่งกันผลิตและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของภาค อุตสาหกรรมในอาเซียน โดยจะต้องเป็นความร่วมมือตั้งแต่สองประเทศขึ้นไป และมีคนชาติประเทศสมาชิกอาเซียนมีหุ้นส่วนอยู่ในแต่ละบริษัทอย่างน้อยร้อยละ 30 สินค้าที่ได้รับอนุมัติให้อยู่ในโครงการจะได้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรใน อัตราร้อยละ 0-5 ในทันที โดยไม่ต้องรอให้เขตการค้าเสรีอาเซียนมีผลบังคับใช้ [การทูต] | Aide-memoire หรือ Memoire | แปลตามตัวอักษรว่า ช่วยความจำ เป็นหนังสือโต้ตอบทางการทูตประเภทหนึ่ง คือ บันทึกสังเขปของการเจรจาที่ได้กระทำกันเสร็จสิ้นแล้ว บันทึกช่วยจำเช่นนี้ไม่มีการกล่าวนำเป็นทางการและไม่มีการลงชื่อ ซึ่งจะมอบให้แก่กันเมื่อเสร็จการเจรจากันแล้ว ความมุ่งหมายของบันทึกนี้คือ เพื่อบันทึกข้อเท็จจริงไว้เป็นหลักฐานซึ่งผู้รับบันทึกทราบดีแล้วบันทึกช่วย จำก็คือ บันทึกสรุปการสนทนาทางการทูตอย่างไม่เป็นทางการ ระหว่างผู้แทนหรือพนักงานทางการทูตกับหัวหน้าหรือพนักงานของกระทรวงการต่าง ประเทศ จุดประสงค์ตามที่ชื่อบ่งอยู่แล้วว่า เป็นการสรุปประเด็นต่าง ๆ ในการสนทนาเพื่อเตือนความจำนั้นเอง ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ทางการทูตจะมอบบันทึกนี้ไว้กับกระทรวงการต่างประเทศ ในบันทึกนั้นบรรทัดแรกจะระบุว่าใครเป็นผู้ส่งและใครเป็นผู้รับบันทึก ผู้ส่งบันทึกจะต้องลงชื่อย่อกำกับบันทึกไว้ด้วยบันทึกช่วยจำอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า pro memoria โดยปกติภาษาที่ใช้ใน pro memoria จะมีลักษณะถ้อยคำเป็นทางการมากกว่า aide-memoire [การทูต] | Amendments to the Charter of the United Nations | การแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติ กฎบัตรของสหประชาชาตินั้น เปิดโอกาสให้มีการแก้ไขได้โดยสมัชชาสหประชาชาติหรือโดยที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ของสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งอาจจะประชุมกัน ณ วันเวลาและสถานที่ตามแต่จะมีการตกลงกัน โดยคะแนนเสียง 2 ใน 3 ส่วนของสมัชชาใหญ่ และโดยคะแนนเสียงของสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงใด ๆ 7 เสียง ในที่ประชุมใหญ่นั้น สมาชิกแต่ละประเทศของสหประชาชาติจะมีเสียงลงคะแนน 1 เสียงการที่จะแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติให้เป็นผลสำเร็จ จะต้องได้เสียงสนับสนุนจากสมาชิกเป็นจำนวน 2 ใน 3 ส่วนของสมาชิกทั้งหมดในสมัชชาหรือจากที่ประชุมใหญ่ เมื่อการแก้ไขกฎบัตรเป็นที่รับรองแล้ว จะมีผลบังคับต่อสมาชิกทั้งหมดของสหประชาชาติ ก็ต่อเมื่อได้รับการสัตยาบันจากสมาชิก 2 ใน 3 ส่วนของจำนวนทั้งหมด รวมทั้งการรับรองจากสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงด้วยอาทิเช่น ในสมัยประชุมที่ 18 ของสมัชชาใหญ่ การแก้ไขกฎบัตรได้รับการรับรองเห็นชอบด้วย โดยผ่านข้อมติที่ 1991 (XVII) ในการแก้ไขครั้งนี้ได้เพิ่มจำนวนสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงจาก 11 เป็น 15 คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมจาก 18 เป็น 27 ประเทศ การแก้ไขดังกล่าวได้รับการลงมติรับรองเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1963 ในปัจจุบันนี้ ประเทศสมาชิกเป็นจำนวนมากกำลังเรียกร้องให้มีการปรับจำนวนสมาชิกถาวรของคณะ มนตรีความมั่นคงเสียใหม่ [การทูต] | Bangkok Declaration : Global Dialogue and Dynamic Engagement | ปฏิญญากรุงเทพ : การหารือและการมีส่วนร่วมอย่างมีพลวัตของประชาคมโลก " หนึ่งในสองของเอกสารผลการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ที่แสดงฉันทามติของประเทศสมาชิกอังค์ถัด 190 ประเทศ เกี่ยวกับผลกระทบของกระแสโลกาภิวัตน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งแสดงเจตนารมณ์ร่วมทางการเมืองของประเทศสมาชิกอังค์ถัดที่จะร่วมมือ กันดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศเพื่อทำให้สมาชิกทั้งหมด โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ได้รับประโยชน์จากกระบวนการโลกาภิวัตน์ในด้านการค้า การเงิน การลงทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม อีกทั้งเพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจโลก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบของกระบวนการโลกาภิวัตน์ได้ แม้ปฏิญญากรุงเทพจะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่ก็เป็นเอกสารที่มีผลผูกพันทางการเมือง เป็นสัญญาประชาคมที่ทุกประเทศสมาชิกอังค์ถัดมีพันธะที่จะต้องปฏิบัติตามแนว นโยบายที่ได้ร่วมกันแถลงไว้ในเอกสารดังกล่าว และเอกสารนี้สามารถใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการเจรจาหารือระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศในเรื่องของการเงิน การค้า การลงทุน และการพัฒนาได้ " [การทูต] | Break of Diplomatic Relations | การตัดความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อสองรัฐตัดความสัมพันธ์ทางการทูตซึ่งกันและกัน เพราะมีการไม่ลงรอยกันอย่างรุนแรง หรือเพราะเกิดสงคราม จึงไม่มีหนทางติดต่อกันได้โดยตรง ดังนั้น แต่ละรัฐมักจะขอให้มิตรประเทศที่เป็นกลางแห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ยอมรับของรัฐอีกฝ่ายหนึ่ง ช่วยทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในอีกรัฐหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ช่วยดูแลคนชาติของรัฐนั้น ตัวอย่างเช่น ในตอนที่สหรัฐอเมริกากับคิวบาได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกดัน สหรัฐอเมริกาได้ขอให้คณะผู้แทนทางการทูตของสวิส ณ กรุงฮาวานา ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในประเทศคิวบา ในขณะเดียวกัน สถานเอกอัครราชทูตเช็คโกสโลวาเกียในกรุงวอชิงตัน ก็ได้รับการขอจากประเทศคิวบา ให้ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในสหรัฐอเมริกาถึงสังเกตว่า การตัดความสัมพันธ์ทางการทูตนี้ มิได้หมายความว่าความสัมพันธ์ทางกงสุลจะต้องตัดขาดไปด้วย มาตรา 45 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติว่า ?ถ้าความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองรัฐขาดลง หรือถ้าคณะผู้แทนถูกเรียกกลับเป็นการถาวรหรือชั่วคราวก. แม้ในกรณีการขัดแย้งกันด้วยอาวุธ รัฐผู้รับจะต้องเคารพและคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทนด้วยข. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการพิทักษ์สถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทน ให้แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับแก่รัฐผู้รับก็ได้ค. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการอารักขาผลประโยชน์ของคนและคนชาติของตน แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับได้แก่รัฐผู้รับก็ได้ [การทูต] | Classes of Consuls | เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ กงสุลอาชีพ (Consules de Carriere) กับกงสุลกิตติมศักดิ์ (Honorary Consuls) กงสุลอาชีพเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง และจะประจำทำงานเต็มเวลาในที่ทำการทางกงสุล ส่วนกงสุลกิตติมศักดิ์นั้นไม่มีฐานะเป็นกงสุลอาชีพ โดยมากเป็นนักธุรกิจในต่างประเทศ ซึ่งจะประจำทำงานเพียงส่วนหนึ่งของวัน (ไม่ใช่เต็มวัน) ในสถานที่ทำการทางกงสุลของตน และอาจจะเป็นคนชาติของรัฐที่เขาเป็นตัวแทนอยู่ หรือไม่เป็นคนชาติของรัฐนั้นก็ได้ ความแตกต่างอื่นๆ ระหว่างกงสุลอาชีพกับกงสุลกิตติมศักดิ์ มีดังนี้1. กงสุลอาชีพจะได้รับเงินเดือนประจำ แต่กงสุลกิตติมศักดิ์ไม่มีเงินเดือน2. กงสุลอาชีพมีตำแหน่งหน้าที่ถาวร ส่วนกงสุลกิตติมศักดิ์มีตำแหน่งว่าจ้างเพียงชั่วคราว 3. ส่วนมากกงสุลอาชีพจะต้องเป็นผู้ได้รับการฝึกอบรมหรือมีประสบการณ์มาก่อน ส่วนกงสุลกิตติมศักดิ์ไม่ต้องเป็นเช่นนั้น4. กงสุลอาชีพมีสิทธิได้รับความคุ้มกัน (immunities) และการยกเว้นต่าง ๆ มากกว่ากงสุลกิตติมศักดิ์สำหรับบุคคลที่เป็นหัวหน้าในที่ทำการทางกงสุลนั้น มีตำแหน่งตามลำดับชั้น คือ1) กงสุลใหญ่ (Consuls-general)2) กงสุล (Consuls)3) รองกงสุล (Vice-consuls) [การทูต] | Commencement of the Functions of the Head of Diplomatic Mission | การเริ่มต้นรับหน้าที่ของหัวหน้าคณะผู้แทนทางการ ทูต กล่าวคือ เมื่อหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตเดินทางไปถึงนครหลวงของประเทศผู้รับแล้ว ควรรีบแจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศทราบว่า ตนได้เดินทางมาถึงแล้วและขอนัดเยี่ยมคารวะ ตามปกติกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นหน้าที่ของอธิบดีกรมพิธีการทูตจะดำเนินการตระเตรียมให้หัวหน้าคณะ ผู้แทนทางการทูตได้เข้ายื่นสารตราตั้งต่อไประหว่างนั้น หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตจะต้องไม่ไปพบเยี่ยมผู้ใดเป็นทางการ จนกว่าจะได้ยื่นสารตราตั้งเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ดี หัวหน้าคณะผู้แทนอาจขอพบเป็นการภายในกับหัวหน้าของคณะทูตานุทูต (Dean หรือ Doyen of the Diplomatic Corps) ได้ เพื่อขอทราบพิธีการปฏิบัติในการเข้ายื่นสารตราตั้งต่อประมุขของประเทศผู้รับ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนา ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 13 ว่า1. พึงถือได้ว่าหัวหน้าคณะผู้แทนได้เข้ารับภารกิจหน้าที่ของตนในรัฐผู้รับ เมื่อตนได้ยื่นสารตราตั้งหรือเมื่อตนได้บอกกล่าวการมาถึงของตน พร้อมทั้งได้เสนอสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้งต่อกระทรวงการต่างประเทศของ รัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกันในแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในรัฐผู้รับ ซึ่งจะต้องใช้ในทำนองอันเป็นเอกรูป2. ลำดับของการยื่นสารตราตั้ง หรือสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้ง จะได้พิจารณากำหนดตามวันและเวลาของการมาถึงของหัวหน้าคณะผู้แทน [การทูต] | Conduct of Diplomatic Mission Towards the Receiving State | ในการปฏิบัติของคณะผู้แทนทางการทูตต่อรัฐผู้รับ นั้นหน้าที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งของนักการทูตคือ จะต้องละเว้นจากการเข้าแทรกแซงใด ๆ ในกิจการภายในของรัฐผู้รับ อนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้ในมาตราที่ 41 ว่า1. โดยไม่เสื่อมเสียแก่เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของตน เป็นหน้าที่ของบุคคลทั้งมวลซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเช่นนี้ ที่จะเคารพกฎหมายรวมทั้งข้อบังคับของรัฐผู้รับ บุคคลเหล่านี้มีหน้าที่ที่จะไม่แทรกสอดในกิจการภายในของรัฐนั้นด้วย2. ธุรกิจในทางการทั้งมวลกับรัฐผู้รับ ซึ่งรัฐผู้ส่งได้มอบหมายแก่คณะผู้แทนให้กระทำกัน โดยผ่านกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นเช่นที่อาจจะตกลงกัน3. สถานที่ของคณะผู้แทนต้องไม่ใช้ไปในทางที่ไม่ต้องด้วยกับการหน้าที่ของคณะผู้ แทน ดังที่ได้กำหนดลงไว้ในอนุสัญญานี้ หรือโดยกฎเกณฑ์อื่นของกฎหมายระหว่างประเทศทั่วไป หรือด้วยการตกลงพิเศษอื่นใดที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ ข้อ 42 ของอนุสัญญากรุงเวียนนายังได้บัญญัติด้วยว่า ตัวแทนทางการทูตจะต้องไม่ปฏิบัติกิจกรรมใดทางวิชาชีพหรือพาณิชย์เพื่อ ประโยชน์ส่วนตัวในรัฐผู้รับตามบทบัญญัติข้างต้นของอนุสัญญากรุงเวียนนา พอจะตีความหมายได้ว่า ผู้แทนทางการทูตจะต้องเคารพกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ เพื่อที่จะธำรงรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของประชาชน รวมทั้งความปลอดภัยในรัฐผู้รับ การปฏิบัติใดๆ ที่ถูกต้องของผู้แทนทางการทูตนั้นย่อมเป็นเครื่องประกันอย่างดีที่สุด ที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตนั้นจะถูกล่วงละเมิดมิได้ตามที่กล่าวอ้าง [การทูต] | Consul | ข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งอย่างถูกต้องและได้รับ มอบหมายให้ไปประจำยังต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประเทศทั้งในด้าน พาณิชย์ การเดินเรือ คุ้มครองความเป็นอยู่อันดีของพลเมืองของประเทศตน พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่บางอย่างด้านธุรการ หรือวางระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ ตลอดจนด้านการเป็นสักขีพยานการลงนามในเอกสาร เพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทางกฎหมาย (Notary) การให้การตรวจลงตรา รวมทั้งการรับรองเอกสารที่แท้จริง (มิใช่เอกสารปลอม) และจัดการการสัตย์สาบานตนหรืออีกนัยหนึ่ง ภาระหน้าที่ของกงสุลอาจแบ่งออกได้เป็น 5 ประการ ดังต่อไปนี้1 ทำหน้าที่ส่งเสริมผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ของประเทศที่ตนเป็นผู้แทนอยู่2 ควบคุมดูแลผลประโยชน์ด้านการเดินเรือ3 คุ้มครองผลประโยชน์ของคนชาติของประเทศที่แต่งตั้งให้ตนไปประจำอยู่4 ทำหน้าที่สักขีพยานในการลงนามในเอกสารเพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทาง กฎหมาย5 ทำหน้าที่ธุรการเบ็ดเตล็ดอื่นๆ หรือระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ เช่น การออกหนังสือเดินทาง การให้การตรวจลงตรา (Visas) การจดทะเบียนคนเกิด คนตาย ฯลฯอนุสัญญากรุงเวียนนา ภาคที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลข้อที่ 5 ได้กำหนดภาระหน้าที่ของฝ่ายกงสุลไว้ดังต่อไปนี้ ก. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่ง และของคนในชาติของรัฐผู้ส่ง ทั้งเอกชนและบรรษัทในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตข. เพิ่มพูนการพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านการพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาการ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกันในทางอื่น ตามบทแห่งอนุสัญญานี้ค. สืบเสาะให้แน่โดยวิถีทางทั้งปวงอันชอบด้วยกฎหมายถึงภาวะและความคลี่คลายใน ทางพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและวิทยาการของรัฐผู้รับ แล้วรายงานผลของการนั้นไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่ง และให้ข้อสนเทศแก่บุคคลที่สนใจง. ออกหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทางให้แก่คนในชาติของรัฐผู้ส่ง ตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือออกเอกสารที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางไปยังรัฐผู้ส่งจ. ช่วยเหลือคนในชาติของรัฐผู้ส่งทั้งเอกชนและบรรษัทฉ. ทำหน้าที่นิติกรและนายทะเบียนราษฎร์ และในฐานะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ปฏิบัติการหน้าที่บางประการอันมีสภาพทางธุรการ หากว่าการหน้าที่นั้นไม่ขัดกับกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับช. พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ และบุคคลไร้ความสามารถ ซึ่งเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง ภายในขีดจำกัดที่ได้ตั้งบังคับไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องมีความปกครองหรือภาวะทรัสตีใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลเหล่านั้นฌ. แทนคนชาติของรัฐผู้ส่ง หรือจัดให้มีการแทนอย่างเหมาะสมในองค์กรตุลาการ และต่อเจ้าหน้าที่ที่อื่นของรัฐผู้รับ เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มา ซึ่งมาตรการชั่วคราวสำหรับการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของคนในชาติเหล่านี้ ไว้ตามกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ ในกรณีที่คนในชาติเหล่านี้ไม่สามารถเข้าทำการป้องกันสิทธิและผลประโยชน์ของ ตนในเวลาอันเหมาะสมได้ เพราะเหตุของการไม่อยู่หรือเหตุอื่นใด ทั้งนี้ ให้อยู่ภายในข้อบังคับแห่งทางปฏิบัติ และวิธีดำเนินการซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับญ. ส่งเอกสารทางศาล หรือเอกสารที่มิใช่ทางศาล หรือปฏิบัติตาม หนังสือของศาลของรัฐผู้ส่งที่ขอให้สืบประเด็น หรือตามการมอบหมายให้สืบพยานให้แก่ศาลของรัฐผู้ส่งนั้น ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ใช้บังคับอยู่ หรือเมื่อไม่มีความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่านั้น โดยทำนองอื่นใดที่ต้องด้วยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับด. ใช้สิทธิควบคุมดูแลและตรวจพินิจตามที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของ รัฐผู้ส่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับเรือที่มีสัญชาติของของรัฐผู้ส่ง หรืออากาศยานที่จดทะเบียนในรัฐนั้น รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับลูกเรือของเรือและอากาศยานดังกล่าวต. ให้ความช่วยเหลือแก่เรือและอากาศยานที่ระบุไว้ในอนุวรรค (ด) ของข้อนี้ รวมทั้งลูกเรือของเรือและอากาศยานนั้น บันทึกถ้อยคำเกี่ยวกับการเดินทางของเรือ ตรวจดูและประทับตรากระดาษเอกสารของเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใด ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างนายเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใดๆ ที่ได้เกิดขั้นในระหว่างนายเรือ เจ้าพนักงาน และกะลาสี ตราบเท่าที่การนี้อาจได้อนุมัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง ทั้งนี้ จะต้องไม่เป็นการเสื่อมเสียแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับถ. ปฏิบัติการหน้าที่อื่นใดที่รัฐผู้ส่งมอบหมายแก่สถานีทำการทางกงสุล ซึ่งมิได้ต้องห้ามโดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ หรือซึ่งไม่มีการแสดงข้อคัดค้านโดยรัฐผู้รับ หรือซึ่งมีอ้างถึงไว้ในความตกลงระหว่างประเทศ ที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับ [การทูต] | Consular office Declared ?Non grata? | เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลจะถูกประกาศว่าไม่พึงปรารถนา หรือไม่พึงโปรดได้ ดังข้อ 23 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติไว้ด้วยข้อความดังนี้?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ว่าพนักงานฝ่ายกงสุลเป็น บุคคลที่ไม่พึงโปรด หรือบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีนั้นรัฐผู้ส่งจะเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นต่อสถานที่ทำการทางกงสุล แล้วแต่กรณี2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธหรือไม่นำพาภายในเวลาอันสมควรที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีของ ตนตามวรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับอาจเพิกถอนอนุมัติบัตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น หรือเลิกถือว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลก็ได้ แล้วแต่กรณี3. รัฐผู้รับอาจประกาศว่า บุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล เป็นผู้ที่ไม่อาจยอมรับได้ ก่อนที่บุคคลนั้นจะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับ หรืออยู่ในรัฐผู้รับแล้ว แต่ก่อนเข้ารับหน้าของตนต่อสถานที่ทำการทางกงสุลก็ได้ ในกรณีใด ๆ เช่นว่านั้น รัฐผู้ส่งจะเพิกถอนการแต่งตั้งบุคคลนั้น4. ในกรณีที่ได้บ่งไว้ในวรรค 1 และ 3 ของข้อนี้ รัฐผู้รับไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการวินิจฉัยของตนแก่รัฐผู้ส่ง?การ ที่รัฐผู้รับปฏิเสธที่จะออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตรหลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วนั้น เป็นสิทธิของรัฐผู้รับอันจะถูกโต้แย้งมิได้ ประเด็นที่เป็นปัญหาก็คือ รัฐผู้รับมีพันธะที่จะต้องอธิบายเหตุผลอย่างใดหรือไม่ ในการที่ปฏิเสธไม่ยอมออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตร หลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วข้อนี้ น้ำหนักของผู้ทรงอำนาจหน้าที่ดูแลจะเห็นคล้อยตามทรรศนะที่ว่า รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผลใด ๆ ทั้งสิ้นในการกระทำดังกล่าวเหตุผลของการไม่ยอมออกอนุมัติบัตรให้นั้นคือว่า ผู้ที่ไม่เห็นด้วย หรือไปแสดงสุนทรพจน์อันมีข้อความเป็นที่เสื่อมเสียแก่รัฐผู้รับ หรือเคยมีส่วนร่วมในการก่อการกบฏต่อรัฐผู้รับหรือเข้าไปแทรกแซงกิจการการ เมืองภายในของรัฐผู้รับ เป็นต้น [การทูต] | Dean (หรือ Doyen) of the Diplomatic Corps | หัวหน้า (Dean) ของคณะทูตานุทูตในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ได้แก่ ตัวทูตที่อาวุโสที่สุด (คือเป็นทูตอยู่ในประเทศนั้นๆ เป็นเวลานานที่สุด) ตัวหัวหน้าคณะทูตานุทูตจะมีลำดับอาวุโสเหนือทุกคนในคณะทูตานุทูต ทำหน้าที่เป็นโฆษกของคณะทูตเมื่อถึงความจำเป็น และเป็นผู้ดูแลและคุ้มครองบรรดาเอกสิทธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่คณะ ทูตานุทูตมีอยู่ แต่หน้าที่ที่แท้จริงนั้น โดยมากเกี่ยวกับเรื่องพิธีการทูตมากกว่า อาทิเช่น เมื่อถึงวันที่ระลึกครบรอบวันเกิดประมุขของรัฐ (เช่นวันเฉลิมพระชนมพรรษาในประเทศไทย) Dean ของคณะทูตจะเป็นผู้กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสดังกล่าวในนามของคณะทูตทั้งหมด แต่การที่จะเรียกหรือขอให้บุคคลในคณะทูตไปประชุมเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง นั้น เป็นสิ่งที่ Dean ไม่พึงกระทำ อย่างไรก็ตาม จะไม่มีผู้แทนทางการทูตคนใดไปร่วมการประชุมระหว่างบุคคลในคณะทูตด้วยกัน เกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศโดยมิได้รับคำสั่งโดยเฉพาะจากรัฐบาลของตนก่อน ภริยาของ Dean หรือ Doyen นั้นเรียกว่า Doyenneเมื่อหัวหน้าคณะทูตวายชนม์ขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่ บุคคลในคณะทูตที่มีอาวุโสรองลงมาหรือเป็นบุคคลที่สองจะเป็นผู้รับช่วงงาน ทันที และมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Chargé d?Affaires ad interim) ทั้งจะต้องดูว่า เอกสารทางราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะเอกสารลับหรือปกปิด จะไม่ทิ้งรวมอยู่กับ เอกสารส่วนตัวของทูตผู้วายชนม์อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูต ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1961 จากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับการติดต่อและความคุ้มกันทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ข้อ 39 (3) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามี สิทธิที่จะได้รับไปจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป(4) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว ให้รัฐผู้รับอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่ส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้ามในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในคราอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดกและการรับมรดกนั้น ๆ ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับ เพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่ฝ่ายเดียวของผู้วายชนม์ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทนอนึ่ง อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1963 ได้บัญญัติไว้ว่า ?ข้อ 51 ในกรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล หรือของคนในครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว รัฐผู้รับ(ก) จะอนุญาตให้ส่งออกซึ่งสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ โดยมีข้อยกเว้นแก่ทรัพย์สินเช่นว่า ทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาในรัฐผู้รับนั้น ซึ่งการส่งออกของทรัพย์ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลดังกล่าวถึงแก่มรณกรรม(ข) จะไม่เรียกเก็บอากรกองมรดก อากรสืบช่วงมรดกหรืออากรรับมรดก และอากรการโอน ไม่ว่าจะเป็นอากรของชาติ ของภูมิภาค หรือของเทศบาล จากสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการที่สังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ในรัฐผู้รับก็เนื่องมาแต่ฝ่ายเดียว จากการที่ผู้วายชนม์อยู่ในรัฐนั้นฐานะบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุลหรือใน ฐานะคนในครอบครัวของบุคคลในที่ทำการกงสุล? ?ข้อ 53(5) กรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล คนในครอบครัวซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว จะคงได้รับอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ประสาทให้แก่ตนต่อไป จนกว่าตนจะออกไปจากรัฐผู้รับ หรือจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะสามารถให้ตนกระทำดังนั้นได้ แล้วแต่ว่าเวลาไหนจะมาถึงก่อนกัน? [การทูต] | Diplomatic Pouch | ถุงเมล์ทางการทูตที่บรรจุหนังสือโต้ตอบทางราชการ ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาล กับสถานเอกอัครราชทูตต่าง ๆ ใน ต่างประเทศ ถุงเมล์ทูตจะถูกปิดประทับตราของทางราชการ และผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ แม้แต่เจ้าหน้าที่ศุลกากรก็ขอตรวจไม่ได้ คือได้รับการละเว้นจากการแทรกแซงใด ๆ ทั้งสิ้นเรื่องถุงเมล์ทางการทูตนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ว่า?1. ในรัฐผู้รับจะอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ทั้งมวลในการติดต่อกับคณะรัฐบาลและกับคณะผู้แทน และสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่งไม่ว่าตั้งอยู่ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางเหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้สื่อสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการทูตของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการทูตหมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงเมล์ทางการทูตจะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูตจะต้องมีเครื่องหมายติดไว้ภายนอกที่เห็น ชัดเจน แสดงลักษณะของถุงทางการทูตและอาจบรรจุเอกสารหรือสิ่งของทางการทูต ซึ่งได้เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่านั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการ แสดงสถานภาพของตนและจำนวนหีบห่อ ซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ และจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ในกรณีที่ ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการ แสดงจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุง แต่ไม่ให้ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางการทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรงและโดย เสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน?คำว่าถุงทางการทูตนี้ กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษเรียกว่า ?Diplomatic bag? ส่วนในภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า ?Valise Diplomatique? [การทูต] | Diplomatic Privilege of Accommodation | มาตรา 21 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตบัญญัติไว้ว่า ?1. รัฐผู้ต้อนรับจะต้องอำนวยความสะดวกตามบทกฎหมายของประเทศของตน ในการจัดการให้ได้มาซึ่งดินแดนของตนให้แก่รัฐผู้ส่ง ซึ่งจำเป็นแก่การปฏิบัติภาระหน้าที่ของรัฐนั้น หรือช่วยเหลือให้รัฐผู้ส่งได้รับอาคารที่พำนักด้วยวิธีการหนึ่งใด 2. ในกรณีจำเป็น รัฐผู้รับจะต้องช่วยให้คณะเจ้าหน้าที่ทางการทูต ได้มีสถานที่อยู่อาศัยอย่างเหมาะสม?เมื่อตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่ง ตั้งได้เดินทางไปถึงประเทศที่เขาจะเข้าดำรงตำแหน่ง ซึ่ง ณ ที่นั้นมีคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลของเขาประจำทำงานอยู่แล้ว ตามปกติตัวแทนทูตดังกล่าวจะมีสำนักงานทางการทูตตั้งอยู่แล้วในสถานที่เหมาะ สม มีอุปกรณ์เครื่องใช้ไม้สอยสำหรับการปฏิบัติงานโดยครบครัน และผู้ที่ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าเขาหรืออุปทูตชั่วคราวมักจะเตรียมการไว้ก่อน แล้วเกี่ยวกับที่พักอาศัย เรียกว่าทำเนียบ นอกจากว่าจะมีทำเนียบตั้งอยู่ภายในบริเวณตึกสถานเอกอัครราชทูตซึ่งรัฐบาลของ เขาเป็นเจ้าของเองแต่ถ้าหากตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งใหม่ จะต้องตั้งคณะผู้แทนทางการทูตในประเทศที่เขาเข้าดำรงตำแหน่งเป็นครั้งแรก ก็จะต้องประสบกับปัญหาเรื่องหาสถานที่สำหรับใช้เป็นที่ตั้งสถานเอกอัคร ราชทูตขึ้น ในกรณีเช่นนี้จึงจำเป็นจะต้องอาศัยคำแนะนำและความช่วยเหลือจากกระทรวงการ ต่างประเทศของรัฐผู้รับ กระทรวงการต่างประเทศของบางประเทศจะมีแผนกหนึ่งทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกแก่คณะทูตต่างประเทศโดยเฉพาะ เป็นแผนกหนึ่งในกรมพิธีการทูต ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องทำนองนี้อยู่แล้ว [การทูต] | Diplomatist หรือ Diplomat | ใช้กับราชการทุกคนที่ประจำทำงานในด้านทางการทูต ไม่ว่าจะประจำอยู่ในกระทรวงการต่างประเทศ หรือในราชการต่างประเทศ คือ ในสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล หรือในสำนักงานทางทูตอื่นๆในทรรศนะของ เซอร์แฮโรลด์ นิโคลสัน นักการทูตยอดเยี่ยมคนหนึ่งของอังกฤษ ได้ระบุไว้ว่า นักการทูตหรือ Diplomat จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ ยึดถือความเป็นจริง มีความแม่นยำ สงบเยือกเย็น มีความอดกลั้น อารมณ์ดี มีความสงบเสงี่ยมและมีความจงรักภักดี ทั้งยังจะต้องเป็นผู้ที่มีสติปัญญา มีความรู้ มองเห็นการณ์ไกล มีความสุขุมรอบคอบ ใจดีกับแขกและผู้แปลกหน้า มีเสน่ห์ มีความอุตสาหะวิริยะ มีความกล้า และมีปฏิภาณในทำนองเดียวกัน Francoise de Callieres (1645-1717) นักการทูตชั้นเยี่ยมของฝรั่งเศส ซึ่งเคยเป็นเอกอัครราชทูตประจำโปแลนด์ ซาวอย ฮอลแลนด์ บาวาเรีย และลอเรน ได้เขียนหนังสือไว้เล่มหนึ่งชื่อว่า De la miniere avec les souverains เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการเจรจาทางการทูต ซึ่งจนถึงปัจจุบันยังเป็นที่รับรองกันทั่วไปว่าเป็นหนังสือที่ดีเยี่ยมเล่ม หนึ่ง หรือเป็นจินตกวีนิพนธ์เรื่องการดำเนินการทูตกับเจ้าผู้ครองนคร (Princes) สมัยนั้นCallieres ได้วางมาตรฐานของนักการทูตไว้สูงมากเพราะเขาเห็นว่า ไม่มีงานราชการใด ๆ ที่จะยากยิ่งไปกว่าการเจรจา ในการเจรจานั้น ผู้เจรจาจะต้องสามารถมองเห็นเหตุการณ์ทะลุปรุโปร่ง หรือมีสติปัญญาเฉียบแหลม มีความคล่องแคล่วกระฉับกระเฉง มีความละมุนละไม มีความรอบรู้และความเข้าใจอย่างกว้างขวาง ตลอดจนข้อสำคัญที่สุด ต้องเป็นผู้มีความสุขุมคัมภีรภาพ สามารถมองเห็นการณ์ไกลชนิดเจาะลึกทีเดียว นอกจากนี้ จะต้องเป็นผู้มีอารมณ์ขันอย่างสม่ำเสมอ ไม่โกรธง่าย มีจิตใจสงบเยือกเย็น มีความอดกลั้น พร้อมเสมอที่จะรับฟังทุกคนที่เขาพบด้วยความตั้งอกตั้งใจ พูดจาอย่างเปิดเผย และมีอารมณ์ร่าเริงไม่หน้าเง้าหน้างอ มีอัธยาศัยไมตรี รวมทั้งมีกิริยาท่าทางเป็นที่ต้องตาต้องใจกับทุกคน ในฐานะนักเจรจา (Negotiator) นักการทูตจะต้องมีคุณลักษณะและคุณสมบัติตามที่กล่าวมานี้เป็นอย่างน้อย เนื่องจากมีการเจรจาเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดของนักการทูตนั่นเอง [การทูต] | Exemption from Customs Duties and Inspection of Diplomatic Mission?s Articles | การยกเว้นจากอากรศุลกากร และการตรวจสิ่งของเครื่องใช้ของคณะผู้แทนทางการทูต การยกเว้นดังกล่าวนี้ไม่ถือว่าเป็นสิทธิ แต่เป็นเรื่องของการแสดงอัธยาศัยไมตรีระหว่งประเทศที่ให้ต่อกันมากกว่า กฎหมายระหว่างประเทศก็มิได้กำหนดพันธะที่จะต้องให้การยกเว้นจากอากรศุลกากร อย่างไรก็ดี รัฐส่วนมากได้แสดงอัธยาศัยไมตรีโดยให้ผู้แทนทางการทูตได้รับการยกเว้นอากร ศุลกากรแก่สินค้าและเครื่องใช้ที่นำเข้ามาใช้ในส่วนตัวเองอนุสัญญากรุง เวียนนาได้ระบุไว้ในมาตรที่ 36 ว่า1. รัฐผู้รับจะอนุญาตให้นำเข้าและอำนวยให้มีการยกเว้นจากอากรศุลกากร ภาษี ตลอดจนค่าภาระที่เกี่ยวข้องทั้งมวล นอกจากค่าภาระในการเก็บรักษา การขนส่งและบริการ ให้ทำนองเดียวกันตามกฎหมายหรือข้อบังคับ ซึ่งรัฐผู้รับอาจกำหนดไว้แก่ก. สิ่งของสำหรับใช้ในทางการของคณะผู้แทนข. สิ่งของสำหรับใช้ส่วนบุคคลของตัวแทนทางการทูต หรือคนในครอบครัวของตัวแทนทางการทูต ซึ่งประกอบเป็นส่วนครัวเรือนของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสิ่งของที่แสดงเจตนาสำหรับการตั้งถิ่นฐานของตัวแทนทางการทูตด้วย2. หีบห่อส่วนบุคคลของตัวแทนทางการทูต ให้ได้รับยกเว้นจากการตรวจตรา นอกจากมีมูลเหตุอันร้ายแรงที่ทำให้สันนิษฐานได้ว่า หีบห่อส่วนตัวนั้นบรรจุสิ่งของซึ่งไม่อยู่ในข่ายแห่งการยกเว้นที่ได้ระบุไว้ ในวรรค 1 ของข้อนี้ หรือสิ่งของซึ่งการนำเข้าหรือส่งออกนั้นต้องห้ามทางกฎหมาย หรือถูกควบคุมตามข้อบังคับว่าด้วยการกักตรวจโรคของรัฐผู้รับ การตรวจตราเช่นว่านี้ให้กระทำต่อหน้าตัวแทนทางการทูต หรือต่อหน้าผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจของตัวแทนทางการทูตเท่านั้น [การทูต] | Extradition | การส่งผู้ร้ายข้ามแดน การที่ชาติหนึ่งยอมส่งคนในชาติของตนให้แก่อีกชาติหนึ่ง คือคนในชาติที่ถูกกล่าวหา หรือต้องโทษฐานกระทำความผิดภายนอกเขตแดนของตน และเป็นความผิดที่กระทำขึ้นในเขตอำนาจของอีกชาติหนึ่ง ซึ่งมีความสามารถที่จะตัดสินคดี รวมทั้งลงโทษบุคคลที่ถูกกล่าวหานั้นข้ออ้างว่า ในกรณีที่ชนชาติหนึ่งซึ่งถูกกล่าวหาว่าประกอบอาชญากรรมแล้วหลบหนีไปยังต่าง ประเทศนั้น รัฐของผู้ที่ประกอบอาชญากรรมมีสิทธิที่จะขอให้ต่างประเทศนั้นส่งตัวผู้กระทำ ผิดกลับคืนมา เพื่อส่งตัวขึ้นศาลเพื่อพิจารณาลงโทษได้ แต่หลายคนยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่ในข้อนี้ มีไม่น้อยที่สนับสนุนหลักการที่ว่า กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองหน้าที่ที่จะต้องส่งผู้ร้ายข้ามแดน กล่าวคือ นอกจากสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่มีต่อกันแล้ว กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองสิทธิที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่กัน อย่างไรก็ดี ตามสนธิสัญญาที่มีต่อกัน ผู้ร้ายที่หนีความยุติธรรมจะถูกส่งไปให้อีกประเทศหนึ่งตามสนธิสัญญานั้น จักกระทำโดยวิถีทางการทูต ส่วนผู้หลบหนีเจ้าหน้าที่เพราะเหตุผลทางการเมือง จะส่งข้ามแดนอย่างผู้ร้ายไม่ได้ และเมื่อหลบหนีไปยังอีกประเทศหนึ่งได้สำเร็จ ประเทศนั้นๆ มักจะให้อาศัยพักพิงในประเทศของตนเป็นในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง [การทูต] | Exequatur | คำนี้แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า ?let him perform? เป็นหนังสือหรืออนุมัติบัตรแสดงการรับรองผู้ที่ดำรงตำแหน่งกงสุลโดยประมุข หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัฐซึ่งกงสุลผู้นั้นได้ถูกส่งไป ประจำ Exequatur เป็นอนุมัติบัตรที่มอบให้กงสุล แสดงว่ามีอำนาจที่จะปฏิบัติตามหน้าที่ของกงสุลทั้งหมด สามารถเป็นหลักฐานที่ใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นภายในเขตอาณัติของกงสุล ด้วย รัฐที่ปฏิเสธไม่ออก Exequatur ให้นั้น ไม่จำเป็นต้องบอกเหตุผลแก่รัฐผู้ส่งว่าเพราะเหตุผลใดจึงปฏิเสธ ในเรื่องนี้ข้อ 12 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลได้บัญญัติไว้ว่า?1. หัวหน้า สถานที่ทำการทางกงสุล จะเข้าปฏิบัติการหน้าที่ของตนได้ โดยอนุมัติจากรัฐผู้รับเรียกว่า อนุมัติบัตรไม่ว่าการให้อนุมัติจะเป็นไปในรูปใดก็ตาม 2. รัฐซึ่งปฏิเสธไม่ให้อนุมัติบัตรไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการปฏิเสธ เช่นว่านั้นแก่รัฐผู้ส่ง 3. ภายในข้อบังคับแห่งบทของข้อ 13 และ 15 หัวหน้าสถานที่ทำการทางกงสุลจะไม่เข้ารับหน้าที่ของตนจนกว่าจะได้รับอนุมัติ บัตรแล้ว? [การทูต] | Exercise by Diplomatic Missions of Consular functions | การปฏิบัติหน้าที่กงสุลโดยคณะผู้แทนทางการทูต ตามข้อ 70 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ได้บัญญัติไว้ว่า1. บทของอนุสัญญานี้ใช้แก่ปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลโดยคณะผู้แทนทางการทูตด้วย เท่าที่บริบทจะอำนวยให้2. ชื่อของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานในแผนกกงสุล หรือมิฉะนั้นได้รับภาระให้ปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลของคณะผู้แทนนั้น จะต้องแจ้งไปยังกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่กระทรวงนั้นที่แต่งตั้งไว้3. ในการปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุล คณะผู้แทนทางการทูตอาจติดต่อกับก. เจ้าหน้าที่ท้องที่ของเขตกงสุลนั้นข. เจ้าหน้าที่ส่วนกลางของรัฐผู้รับ ถ้าหากกระทำได้ตามกฎหมาย ข้อบังคับ และจารีตประเพณีของรัฐผู้รับ หรือตามความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง4. เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูตที่อ้างถึงในวรรค 2 ของข้อนี้ จะยังคงอยู่ในบังคับแห่งกฎเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับความ สัมพันธ์ทางการทูต [การทูต] | Fast Track | กลุ่มสินค้าที่จะต้องเร่งลดภาษี (ในกรอบเขตการค้าเสรีอาเซียน) " ซึ่งมีอยู่ 15 รายการ ได้แก่ ปูนซีเมนต์ ปุ๋ย เยื่อกระดาษ เฟอร์นิเจอร์ไม้และหวาย ผลิตภัณฑ์หนัง สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ น้ำมันพืช เคมีภัณฑ์ เภสัชภัณฑ์ พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์เซรามิกและแก้ว และแคโทดที่ทำจากทองแดง " [การทูต] | Freedom of Communication | เสรีภาพในการติดต่อและสื่อสาร ถือเป็นสิทธิทางกฎหมาย (ไม่ใช่เพียงเอกสิทธิ์เท่านั้น) ที่สำคัญอันหนึ่งของนักการทูตย่อมจะเห็นได้ชัดว่า คณะทูต จะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างพึงพอใจ นอกจากจะมีอิสระอย่างสมบูรณ์ในการที่จะมีหนังสือหรือวิถีทางอื่นๆ เพื่อติดต่อกับรัฐบาลของตน หรือจะส่งและรับจดหมาย หรือหนังสือต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่ถือสารพิเศษ หรือโดยถุงทางการทูต (Diplomatic pouch) สำหรับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ดังนี้?1. ให้รัฐผู้รับอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ในทางการทั้งมวลเพื่อการติดต่อกับรัฐบาล และกับคณะผู้แทนและสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่ง ไม่ว่าตั้งอยู่ ณ ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางที่เหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้ถือสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการ หมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงทางการทูต (Diplomatic Pouch) จะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูต จะต้องมีเครื่องหมายภายนอกที่เห็นได้ชัดเจน สามารถแสดงลักษณะของถุงทางการทูต ซึ่งอาจบรรจุเพียงเอกสารหรือสิ่งของทางการทูตที่เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่า นั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการแสดงสถานภาพของตน และจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ส่วนบุคคลจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ ในกรณีที่ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการแสดงจำนวนหีบห่อซึ่ง รวมเป็นถุง แต่ไม่ใช่ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรง และโดยเสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน? [การทูต] | Genocide | การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อน เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1946 สมัชชาสหประชาชาติได้ยืนยันเป็นเอกฉันท์ว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือการฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อนนั้นให้ถือเป็นอาชญากรรม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งโลกที่บรรลุความเจริญแล้วประณามอย่างรุนแรงอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกัน และการลงโทษอาชญากรรมเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้ สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติรับรองเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญานี้ได้นิยามคำว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) หมายถึงการประกอบอาชญากรรมบางอย่าง โดยมีเจตนาที่จะทำลายล้างกลุ่มชนชาติ กลุ่มเผ่าพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนา ในบางส่วนหรือทั้งหมดก็ตาม การประกอบกรรมซึ่งถือเป็นการฆ่าล้างชาตินั้นได้แก่ การฆ่า การทำให้เกิดความเสียหายอย่างสาหัส ทั้งต่อร่างกายหรือจิตใจ และการบังคับให้มีสภาวะการครองชีพที่เจตนาจะให้ชีวิตร่ายกายถูกทำลาย ไม่ว่าจะเพียงส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดก็ตาม ตลอดจนออกมาตรการกีดกันมิให้มีลูกและโยกย้ายเด็ก ๆ ไม่เพียงแต่การฆ่าล้างชาติอย่างเดียว หากแต่การคบคิดหรือการยุยงให้มีการฆ่าล้างชาติ รวมทั้งความพยายามที่จะฆ่าล้างชาติและสมรู้ร่วมคิดในอาชญากรรมดังกล่าว ย่อมถูกลงโทษได้ตามนัยแห่งอนุสัญญานี้ บรรดาผู้ที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกลงโทษไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ ปกครอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง หรือเอกชนส่วนบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดของตามกฎหมายก็ตามบรรดาประเทศที่ภาคี อนุสัญญานี้จำเป็นต้องออกกฎหมายของตนเพื่อรองรับ และจะต้องตกลงเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนในกรณีที่บุคคลนั้นๆ มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติ และบุคคลที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกพิจารณาลงโทษในประเทศที่มีการ ประกอบอาชญากรรมดังกล่าวขึ้น หรือโดยศาลระหว่างประเทศที่มีอำนาจครอบคลุมถึงเจตนารมณ์ของสนธิสัญญานี้ เพื่อต้องการป้องกัน และลงโทษอาชญากรรมฆ่าล้างชาติ ไม่ว่าจะประกอบขึ้นในยามสงครามหรือในยามสงบก็ตามอนุสัญญาดังกล่าวได้เริ่มมี ผลบังคับเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1951 เป็นเวลา 90 วันหลังจากที่ 20 ประเทศได้ให้สัตยาบัน หรือให้ภาคยานุวัติตามที่ระบุอยู่ในอนุสัญญา อนุสัญญานี้จะมีผลบังคับเป็นเวลา 10 ปี และมีการต่ออายุสัญญาทุก 5 ปี สำหรับประเทศที่มิได้บอกเลิกสัญญา หากประเทศที่ยังเป็นภาคีอนุสัญญามีจำนวนเหลือไม่ถึง 16 ประเทศ อนุสัญญานี้จะเลิกมีผลบังคับทันที [การทูต] | Good Offices และ Mediation | วิธีการที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐโดยฉันมิตร คำว่า Good Offices หมายถึง การช่วยเป็นสื่อกลาง ส่วน Mediation หมายถึง การไกล่เกลี่ยศัพท์ทั้งสองนี้หมายถึงวิธีการที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ โดยฉันมิตร กล่าวคือ ในกรณีข้อพิพาทซึ่งการเจรจากันทางการทูตไม่สามารถตกลงกันได้ง่าย ๆ ดังนั้น รัฐที่สามอาจยื่นมือเข้าช่วยเป็นสื่อกลาง หน้าที่ในการนี้มิใช่ออกความเห็นหรือวินิจฉัยชี้ขาดว่าใครถูกใครผิดในกรณี ข้อพิพาท หากเป็นแต่เพียงแสวงหาลู่ทางที่จะระงับข้อพิพาทจะต้องมีให้น้อยที่สุดเท่า ที่จะทำได้ และถือว่าเป็นกาดรกระทำฉันมิตร (Friendly act) คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจปฏิเสธข้อเสนอได้โดยไม่ถือว่าเป็นความผิดทางการ เมือง หรือคู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจขอร้องให้ช่วยเป็นสื่อกลาง หรือให้ช่วยไกล่เกลี่ย ตามธรรมดาการช่วยเป็นสื่อกลางนั้นเป็นเพียงการเข้าช่วยงานพื้นฐาน หรือให้มีการเริ่มต้นการเจรจาเท่านั้น ส่วนงานเจรจาที่จะกระทำโดยตรงกว่าจะมีลักษณะเป็นการไกล่เกลี่ย แต่ในทางปฏิบัติไม่ค่อยมีการคำนึงกันนักถึงความแตกต่างจริงๆ ระหว่างวิธีทั้งสอง คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจปฏิเสธไม่ยอมรับการไกล่เกลี่ยไม่ว่าเวลาใดก็ได้ จะเห็นได้ว่า การช่วยเป็นสื่อกลางกับการไกล่เกลี่ยนั้นแตกต่างกัน คือ ในกรณีการช่วยเป็นสื่อกลาง ฝ่ายที่สามจะกระทำแต่เพียงช่วยให้มีการหันหน้าเข้าเจรจากันระหว่างคู่พิพาท ส่วนในกรณีการไกล่เกลี่ย ฝ่ายที่สามพยายามจัดให้มีการเจรจากันจริง ๆ ตามมูลฐานข้อเสนอของตน ฝ่ายที่เสนอช่วยเป็นสื่อกลางหรือช่วยไกล่เกลี่ยนั้น อาจจะมาจากประเทศที่สาม หรือจากองค์การระหว่างประเทศ หรือจากบุคคลธรรมดาคนหนึ่งก็ได้ [การทูต] | Humanitarian Intervention | การแทรกแซงเพื่อมนุษยธรรม " เป็นแนวคิดที่นายโคฟี อันนาน เลขาธิการสหประชาชาติเสนออย่างเป็น ทางการครั้งแรกต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 54 เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยมุ่งจะให้สหประชาชาติสามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนภาย ในประเทศต่าง ๆ ได้โดย คำนึงถึงประเด็นเรื่องมนุษยธรรมเป็นหลัก ขณะนี้ แนวคิดนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันและยังไม่ยุติ โดยบางประเทศเห็นว่า เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นการละเมิดอธิปไตยของรัฐ บางประเทศเห็นว่าเป็นมาตรการที่จำเป็นเพื่อแก้ปัญหาของมนุษยชาติ ส่วนบางประเทศเห็นว่าการแทรกแซงดังกล่าวจะต้องอยู่ใต้กรอบหลักเกณฑ์ หรือกรอบกฎหมายบางประการ เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ " [การทูต] | Immunity from Jurisdiction of Diplomatic Agents | ความคุ้มกันจากอำนาจศาลของตัวแทนทางการทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตรา 31 ว่า?1. ให้ตัวแทนทางการทูตได้อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางอาญาของรัฐผู้รับ ตัวแทนทางการทูตยังจะได้อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางแพ่ง และทางการปกครองของรัฐผู้รับด้วย เว้นแต่ในกรณีของก) การดำเนินคดีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ส่วนตัว ที่ตั้งอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับนอกจากตัวแทนทางการทูตครอบครองไว้ในนามของ รัฐผู้ส่งเพื่อความมุ่งประสงค์ของคณะผู้แทนข) การดำเนินคดีเกี่ยวกับการสืบมรดกซึ่งเกี่ยวพันถึงตัวแทนทางการทูตในฐานะผู้ จัดการมรดกโดยพินัยกรรม ผู้จัดการมรดกโดยศาลตั้งทายาท หรือผู้รับมรดกในฐานะเอกชน และมิใช่ในนามของรัฐผู้ส่งค) การดำเนินคดีเกี่ยวกับกิจกรรมใดในทางวิชาชีพ หรือพาณิชย์ ซึ่งตัวแทนทางการทูตได้กระทำในรัฐผู้รับ นอกเหนือจากการหน้าที่ทางการของตน 2. ตัวแทนทางการทูตไม่จำเป็นต้องให้การในฐานะพยาน 3. มาตรการบังคับคดี ไม่อาจดำเนินได้ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวแทนทางการทูต เว้นแต่ในกรณีซึ่งอยู่ภายใต้อนุวรรค (ก) (ข) และ (ค) ของวรรค 1 ของข้อนี้ และโดยมีเงื่อนไขว่ามาตรการที่เกี่ยวข้องอาจดำเนินไปได้โดยปราศจากการละเมิด ความละเมิดมิได้ในตัวบุคคลของตัวผู้แทนทางการทูต หรือที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต 4. ความคุ้มกันของตัวแทนทางการทูตจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ ไม่ยกเว้นตัวแทนทางการทูตจากอำนาจศาลของรัฐผู้ส่ง?เกี่ยวกับความคุ้มกันตัว แทนทางการทูตจากขอบเขตของอำนาจศาลทางแพ่ง อาจกล่าวได้อย่างกว้างๆ ว่า ตัวแทนทางการทูตนั้นได้รับการยกเว้นจากอำนาจของศาลแพ่งในท้องถิ่นคือตัวแทน ทางการทูตนั้นได้รับการยกเว้นจากอำนาจของศาลแพ่งในท้องถิ่นคือตัวแทนทางการ ทูตจะถูกฟ้องมิได้ และถูกจับกุมมิได้เกี่ยวกับหนี้สิน รวมทั้งทรัพย์สินของเขา เช่น เครื่องเรือน รถยนต์ ม้า และสิ่งอื่นๆ ทำนองนั้นก็จะถูกยืดเพื่อใช้หนี้มิได้ ตัวแทนทางการทูตจะถูกกีดกันมิให้ออกไปจากรัฐผู้รับในฐานะที่ยังมิได้ชดใช้ หนี้สินของเขานั้นก็มิได้เช่นกัน อนึ่ง นักกฎมายบางกลุ่มเห็นว่า ตัวแทนทางการทูตจะถูกหมายศาลเรียกตัว (Subpoenaed) ไม่ได้ หรือแม้แต่ถูกขอร้องให้ไปปรากฎตัวเป็นพยานในศาลแพ่งหรือศาลอาญาก็ไม่ได้ อย่างไรก็ดี ถ้าหากตัวแทนทางการทูตสมัครใจที่จะไปปรากฏตัวเป็นพยานในศาล ก็ย่อมจะทำได้ แต่จะต้องขออนุมัติจากรัฐบาลในประเทศของเขาก่อน [การทูต] | Indigent Nationals | คนในชาติที่ต้องประสบความยากจนข้นแค้นในต่างแดน ในเรื่องนี้ มีหลายประเทศได้อนุญาตให้ผู้แทนทางการทูตและทางกงสุลของตนอำนวยความช่วย เหลือเท่าที่จำเป็นแก่คนชาติของตนที่ประสบความยากจนข้นแค้นในต่างประเทศรวม ทั้งค่าส่งตัวกลับประเทศด้วย มีหลายรายที่กำหนดให้คนชาติที่ต้องทุกข์นั้น แจ้งถึงสาเหตุที่ต้องประสบความยากจนข้นแค้น และสัญญาว่าเงินที่ได้รับนี้จะต้องชดใช้คืนภายหลัง ตามปกติ ผู้แทนทางการทูตหรือกงสุลจะต้องปรึกษากับกระทรวงการต่างประเทศของตน ก่อนที่จะนำเงินให้คนชาติของตนกู้ยืมหรือไปรับรองบุคคลเหล่านั้น หรือไปรับผิดชอบทางการเงินใดๆ [การทูต] | Inter-Governmental Maritime Consultative Organization | องค์การที่ปรึกษาทางทะเลระหว่างรัฐบาล หมายถึงองค์การที่ปรึกษาเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างรัฐบาล องค์การนี้มีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษแห่งหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ ประเทศทั้งหมดรวม 35 ประเทศ ได้ประชุมร่วมกันจัดทำอนุสัญญาขององค์การนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ในการประชุมขององค์การที่ปรึกษาการเดินเรือทางทะเล ณ กรุงเจนีวา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญามีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1958 เมื่อมีประเทศต่าง ๆ รวม 21 ประเทศได้ให้สัตยาบัน ซึ่งในจำนวนนี้ 7 ประเทศเป็นอย่างน้อยจะต้องมีเรือเดินทะเลของตนไม่น้อยกว่า 1 ล้านตัน (Gross tons) วัตถุประสงค์ขององค์การ IMCO คือ1. จัดวางกลไกเพื่อความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิก ในด้านการวางระเบียบข้อบังคับของราชการ และการปฏิบัติซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องทางวิชาการหรือเทคนิค รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล2. สนับสนุนให้มีการยกเลิกการกระทำที่เลือกที่รักมักที่ชัง และข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นของรัฐบาล3. รับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติในทำนองตั้งข้อจำกัดอย่างไม่ยุติธรรมของบริษัท หรือองค์การเดินเรือทั้งหลาย4. รับพิจารณาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ ที่องค์การหนึ่งใดหรือองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติส่งมาให้พิจารณา 5. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อสนเทศใด ๆ ระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องที่องค์การ IMCO กำลังพิจารณาอยู่องค์การนี้ยังจัดให้มีการร่างอนุสัญญาและความตกลงต่าง ๆ รวมทั้งส่งข้อเสนอแนะเหล่านี้ไปให้รัฐบาล และองค์การระหว่างรัฐบาลทั้งหลาย รวมทั้งจัดการประชุมเท่าที่พิจารณาเห็นว่าจำเป็นองค์การนี้ประชุมกันทุกสอง ปี มีหน้าที่วางนโยบายเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างสมัยประชุมจะมีคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ทำหน้าที่บริหารงานในองค์การ คณะมนตรีประกอบด้วยสมาชิก 16 คน ในจำนวนนี้ 8 คน เป็นผู้แทนจากประเทศที่สนใจให้การบริการเกี่ยวกับการเดินเรือระหว่างประเทศ และอีก 8 คนเป็นตัวแทนจากประเทศที่สนใจการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ องค์การมีสำนักเลขาธิการ ประกอบด้วยตัวเลขาธิการ เลขานุการคณะกรรมการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล และเจ้าหน้าที่ประจำตามจำนวนที่องค์การต้องการแล้วแต่กรณี สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ [การทูต] | International Atomic Energy Agency | สำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ในการประชุมระหว่างประเทศ ที่ประชุมได้รับรองกฎข้อบังคับขององค์การนี้เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1956 ณ สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก รัฐที่ร่วมลงนามเป็นสมาชิกขององค์การอย่างน้อย 18 ประเทศ รวมทั้งประเทศดังต่อไปนี้ คือ แคนาดา ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา อย่างน้อยสามประเทศได้มอบสัตยาบันสาร ยังผลให้กฎข้อบังคับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1956วัตถุประสงค์ขององค์การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ คือ1. ต้องการเร่งรัดและส่งเสริมให้พลังงานปรมาณูมีส่วนเกื้อกูลมากขึ้นต่อ สันติภาพ สุขภาพ และความไพบูลย์มั่งคั่งตลอดทั่วโลก2. ทำให้เป็นที่แน่ใจว่า ความช่วยเหลือที่องค์การจัดให้หรือตามคำขอร้องขององค์การ หรือที่อยู่ใต้ความควบคุมดูแลขององค์การนั้น จะต้องไม่ถูกนำไปใช้เพื่อส่งเสริมความมุ่งหมายทางทหารแต่อย่างใดองค์การ ดำเนินงานผ่านทางองค์กรต่าง ๆ เหล่านี้ คือ1. ที่ประชุมระหว่างประเทศ (General Conference) ประกอบด้วยสมาชิกของสำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศทั้งหมด มีการประชุมสมัยสามัญประจำปี และอาจมีการประชุมสมัยพิเศษเท่าที่จำเป็น ที่ประชุมจะพิจารณาแลกเปลี่ยนความเห็นในปัญหาต่าง ๆ ที่อยู่ภายในกรอบของกฎข้อบังคับ2. คณะผู้ว่าการ (Board of Governors) ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด 23 ประเทศ ปฏิบัติงานตามหน้าที่ขององค์การ3. คณะเจ้าหน้าที่ขององค์การมีหัวหน้าเรียกว่าอธิบดี (Director General) ซึ่งคณะผู้ว่าการแต่งตั้งขึ้นตามความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ และมีอายุอยู่ในตำแหน่ง 4 ปี ตัวอธิบดีถือเป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารขององค์การ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย [การทูต] | International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต] | Inviolability of the Mission Premises | คือความละเมิดมิได้จากสถานที่ของคณะผู้แทน หมายความว่า บ้านของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสถานที่อื่น ๆ ที่ใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการทูต รวมถึงตึกรามใด ๆ ที่ผู้แทนทางการทูตใช้ดำเนินงานทางการทูตในตำแหน่งที่ของเขา ไม่ว่าสถานที่นั้น ๆ จะเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลของเขาหรือเป็นของเขาเอง หรือแม้แต่เป็นสถานที่ที่ให้ตัวแทนทางการทูตเช่า เหล่านี้จะได้รับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งสิ้น นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด โดยเฉพาะเจ้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่เก็บภาษี หรือเจ้าหน้าที่ศาล จะเข้าไปในที่อยู่หรือทำเนียบของผู้แทนทางการทูตมิได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมให้กระทำเช่นนั้นอย่างไรก็ดี หากเกิดอาชญากรรมขึ้นภายในสถานที่ของคณะผู้แทน หรือในที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต โดยบุคคลซึ่งมิได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทูตผู้นั้นจะต้องมอบตัวอาชญากรดังกล่าวให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นตาม ที่ขอร้อง กล่าวโดยทั่วไป ตัวแทนทางการทูตจะยอมให้ที่พักพิงในสถานทูตแก่อาชญากรใด ๆ ไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีที่เห็นว่าอาชญากรผู้นั้นตกอยู่ในอันตรายที่จะถูกฆ่าจากฝูงชน ที่ใช้ความรุนแรง ก็จะยอมให้เข้าไปพักพิงได้เป็นกรณีพิเศษในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้กล่าวไว้ในข้อ 22 ดังนี้ ?1. สถานที่ของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนของรัฐผู้รับไม่อาจเข้าไปในสถานที่นั้นได้ เว้นแต่ด้วนความยินยอมของหัวหน้าคณะผู้แทน 2. รัฐผู้รับมีหน้าที่พิเศษที่จะดำเนินการทั้งมวลที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทนจากการบุกรุกหรือความเสียหายใด ๆ และที่จะป้องกันการรบกวนใด ๆ ต่อความสงบสุขของคณะผู้แทน หรือการทำให้เสื่อมเสียเกียรติ 3. สถานที่ของคณะผู้แทน เครื่องตกแต่ง และทรัพย์สินอื่นของคณะผู้แทนในสถานที่นั้น ตลอดจนพาหนะในการขนส่งของคณะผู้แทน ให้ได้รับความคุ้มกันจาการค้น การเรียกเกณฑ์ การอายัด หรือการบังคับคดี ? [การทูต] | Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Fund | กองทุนให้ความช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศเพื่อนบ้าน " ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยกองทุนให้ความช่วย เหลือพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศเพื่อนบ้าน พ.ศ. 2539 โดยให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงาน รับผิดชอบ มีวัตถุประสงค์ให้เงินกู้ผ่อนปรนแก่รัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินของรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม เพื่อลงทุนในโครงการพัฒนาประเทศ โดยเงินกู้ที่ รัฐบาลไทยปล่อยให้กู้นี้ จะต้องเป็นเงินสกุลบาท และส่วนหนึ่งของ เงินกู้จะต้องนำไปซื้อสินค้าและบริการจากภาคเอกชนไทย " [การทูต] | The Netherlands Fellowship Progrmmes | แผนงานด้านทุนของเนเธอร์แลนด์ รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ได้ให้ความร่วมมือด้านทุนการศึกษา และฝึกอบรมในระดับหลังปริญญาตรีแก่ผู้สนใจในประเทศกำลังพัฒนา โดยมีหลักสูตรต่าง ๆ ดังรายละเอียดใน http://www.nuffic.nl โดยผู้สมัครจะต้องเป็นผุ้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีและต้องทำงานไม่ ต่ำกว่า 2 - 3 ปี เพื่อให้มีประสบการณ์ในการทำงานและเพื่อนำสิ่งที่ได้จากการฝึกอบรมมาพัฒนา งานของตน ทั้งนี้เน้นการให้ทุนฝึกอบรมระยะสั้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้มากกว่าการศึกษา [การทูต] | Normal Diplomacy | การติดต่อทางการทูตโดยวิถีทางทูตตามปกติ มักจะกระทำกันดังนี้ เมื่อรัฐบาลต้องการจะหยิบยกปัญหาขึ้นกับอีกรัฐบาลหนึ่ง ตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะส่งคำสั่งไปยังเอกอัครราชทูตของ ประเทศตนที่ประจำอยู่ในประเทศผู้รับส่งให้ยกเรื่องนั้นขึ้นเจรจากับรัฐบาล ของประเทศผู้รับ โดยปกติเอกอัครราชทูตจะมีหนังสือทางการทูต (Diplomatic Note) เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไปยังรัฐมนตรีวาการกระทรวงการต่างประเทศ ของประเทศผู้รับนั้นก่อน หรือไม่ก็ไปพบกับรัฐมนตรีด้วยตนเอง ณ กระทรวงการต่างประเทศ การเจรจากันอาจทำให้จำเป็นต้องมีการบันทึกของทูตแลกเปลี่ยนกันขึ้น ในรูปบันทึกช่วยจำ (Aide-Memoire ) ในบางกรณี เอกอัครราชทูตจำเป็นต้องไปพูดจา ณ กระทรวงการต่างประเทศ อีกหลายครั้งกว่าจะเสร็จเรื่อง ในระหว่างนั้น เอกอัครราชทูตมีหน้าที่จะต้องรายงานผลการเจรจาแต่ะครั้งไปยังกระทรวงการต่าง ประเทศของตน และบางคราวอาจจะต้องขอคำสั่งเพิ่มเติมอีกเมื่อเกิดกรณีใหม่โดยมิได้คาดหมาย มาก่อนเป็นต้น ในขณะเดียวกันกระทรวงการต่างประเทศของประเทศผู้รับก็จะส่งคำสั่งไปยังเอก อัครราชทูตของตน แนะว่าควรดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับปัญหาที่กำลังเจรจากันกับรัฐบาลของ ประเทศที่ตนประจำอยู่ผลการเจรจาอาจเป็นที่ตกลงกันได้ระหว่างรัฐบาลทั้งสอง ฝ่าย หรืออาจจะจบลงด้วยภาวะชะงักงัน ( Stalemate ) หรือรัฐบาลทั้งสองอาจจะตกลงกันว่าไม่สามารถตกลงกันได้ และปล่อยให้ปัญหาคาราคาซังไปก่อน จนกว่าจะมีการรื้อฟื้นเจรจากันใหม่ บางคราวปัญหาที่ยังตกลงกันไม่ได้นั้น อาจกลายเป็นปัญหาขัดแย้งกันอย่างรุนแรงต่อไปก็ได้ [การทูต] | Notes in Diplomatic Correspondence | หมายถึง หนังสือหรือจดหมายโต้ตอบทางการทูตระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต (Head of mission) กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่หัวหน้าคณะผู้ แทนทางการทูตนั้นประจำอยู่ หรือกับหัวหน้าผู้แทนทางการทูตอีกแห่งหนึ่ง หนังสือทางการทูตนี้ อาจใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 หรือบุรุษที่ 3 ก็ได้ หนังสือทางการทูตที่ใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 มักจะเกี่ยวกับเรื่องที่มีความสำคัญหรือมีความละเอียดอ่อนกว่าหนังสืออีก ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า Note Verbale หรือต้องการจะแทรกความรู้สึกส่วนตัวลงไปด้วย หนังสือนี้จะส่งจากหัวหน้า หรือผู้รักษาการแทนหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือไปถึงหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตอื่น ๆ ไม่เหมือนกับ Note Verbale กล่าวคือ หนังสือทางการทูตนี้จะต้องระบุสถานที่ตั้ง รวมทั้งลงชื่อของผู้ส่งด้วยตามปกติ ประโยคขึ้นต้นด้วยประโยคแรกในหนังสือจะใช้ข้อความว่า ?have the honour? นอกจากจะมีถึงอุปทูตซึ่งมีฐานะตำแหน่งต่ำกว่าอัครราชทูต ถ้อยคำลงท้ายของหนังสือทางการทูตจะมีรูปแบบเฉพาะ เช่น?Accept, Excellency (หรือ Sir), ในกรณีที่ผู้รับมีตำแหน่งเป็นอุปทูต (Charge d? Affaires) the assurances (หรือ renewed assurances ) of my highest (หรือ high ในกรณีที่เป็นอุปทูต ) consideration?หรือ ?I avail myself of this opportunity to express to your Excellency, the assurances ( หรือ renewed assurances) of my highest consideration ?ถ้อยคำที่ว่า ?renewed assurances ? นั้น จะใช้ก็ต่อเมื่อผู้ส่งหนังสือกับผู้รับหนังสือ ได้มีหนังสือติดต่อทางทูตกันมาก่อนแล้ว ส่วนถ้อยคำว่า ?high consideration ? โดยปกติจะใช้ในหนังสือที่มีไปยังอุปทูต ถ้อยคำ ?highest consideration ? จะใช้เมื่อมีไปถึงเอกอัครราชทูต และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ท้องถิ่นด้วย บางแห่งอาจนิยมใช้แตกต่างออกไป และก็จะเคารพปฏิบัติตามท้องถิ่นนั้น ๆ โดยมารยาทส่วนหนังสือที่เรียกว่า Note Verbale หรือ Third person note เป็นหนังสือทางการทูตที่ใช้บ่อยที่สุด หนังสือนี้จะขึ้นต้นด้วยประโยคดังต่อไปนี้?The Ambassador (หรือ The Embassy ) of Thailand presents his (หรือ its ) compliments to the Minster (หรือ Ministry ) of Foreign affairs and has the honour??หนังสือบุรุษที่สาม หรืออาจเรียกว่าหนังสือกลางนี้ ไม่ต้องบอกตำบลสถานที่ ( Address) และไม่ต้องลงชื่อ แต่บางทีในตอนลงท้ายของหนังสือกลางมักใช้คำว่า?The Ambassador avails himself of this opportunity to express to his Excellency the renewed assurances of his highest consideration?มีหนังสือทางการทูตอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า Collective note เป็นหนังสือที่หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลหลายประเทศรวมกันมีไปถึง รัฐบาลแห่งเดียว เกี่ยวกับเรื่องที่รัฐบาลเหล่านั้นพร้อมใจกันที่จะร้องเรียน หรือต่อว่าร่วมกัน หัวหน้าคณะทูตทั้งหมดอาจร่วมกันลงนามในหนังสือนั้น หรือ อาจจะแยกกันส่งหนังสือซึ่งมีถ้อยคำอย่างเดียวกันไปถึงก็ได้ [การทูต] | Order of Precedence | หมายถึง ลำดับอาวุโสทางการทูต โดยถือยศหรือตำแหน่งเป็นบรรทัดฐาน โดยเฉพาะในโอกาสที่ไปร่วมพิธีต่าง ๆ ตลอดจนการเลี้ยงอาหารอย่างเป็นทางการ นักการทูตทั่วโลกต่างถือลำดับอาวุโสเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิถีพิถันกันไม่ น้อย เพราะในฐานะที่เป็นตัวแทนของประเทศ หากมีการจัดลำดับอาวุโสไม่ถูกต้อง เขาผู้นั้นซึ่งคำนึงถึงศักดิ์ศรีในฐานะตัวแทนของประเทศย่อมต้องรู้สึกว่า นอกจากจะไม่ได้รับความถูกต้องแล้ว ยังเป็นการดูแคลนประเทศของตนด้วยในสมัยก่อน ผู้ที่ทำหน้าที่ชี้ขาดในเรื่องลำดับอาวุโสของบรรดาประมุขของรัฐทั้งหลาย คือสมเด็จพระสันตะปาปา ต่อมาในการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาเมื่อปี ค.ศ. 1815 ที่ประชุมได้ตกลงกันให้ถือวันที่เดินทางมาถึงประเทศผู้รับ และได้แจ้งให้ทราบเป็นทางการว่าเป็นเรื่องลำดับอาวุโส ผู้ที่มาถึงก่อนย่อมมีอาวุโสกว่าผู้ทีมาทีหลัง อย่างไรก็ดี มาในทุกวันนี้มีหลายประเทศถือหลักว่า ผู้แทนทางการทูตที่ยื่นสารตราตั้งก่อนจะมีอาวุโสกว่าผู้ยื่นสารตราตั้งที หลัง และในกรณีที่เกิดความเห็นไม่ลงรอยกันระหว่างบุคคลในคณะทูตเรื่องลำดับอาวุโส ประเทศเจ้าภาพหรือประเทศผู้รับจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดอนุสัญญากรุงเวียนนาว่า ด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติเกี่ยวกับลำดับอาวุโสของผู้แทนทางการ ทูตไว้ดังนี้ ?ข้อ 16 1. ให้หัวหน้าคณะผู้แทนมีลำดับอาวุโสในแต่ละชั้นของตนตามลำดับวันและเวลาที่ เข้ารับการหน้าที่ของตนในรัฐผู้รับ เมื่อตนได้ยื่นสารตราตั้ง หรือเมื่อได้บอกกล่าวการมาถึงของตนและได้เสนอสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้ง ต่อกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงตามแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในรัฐผู้รับ ซึ่งจะต้องใช้ในทำนองอันเป็นเอกรูป 2. การเปลี่ยนแปลงในสารตราตั้งของหัวหน้าคณะผู้แทน ซึ่งไม่เกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงชั้นใด ๆ จะไม่กระทบกระเทือนลำดับอาวุโสของหัวหน้าคณะผู้แทน 3. ข้อนี้ไม่เป็นที่เสื่อมเสียแก่ทางปฏิบัติใด ซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับ ในเรื่องลำดับอาวุโสของผู้แทนของโฮลี่ซี ข้อ 17 ลำดับอาวุโสของสมาชิกคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายทูตของคณะผู้แทนนั้น ให้หัวหน้าคณะผู้แทนเป็นผู้บอกกล่าวแก่กระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน? [การทูต] | Pacific Settlement of International Disputes | หมายถึง การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี คงจะจำกันได้ว่า ในตอนเสร็จสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศในโลกฝ่ายเสรีซึ่งเป็นผู้ชนะ ต่างมีเจตนาอันแน่วแน่ที่จะหาทางมิให้เกิดสงครามขึ้นอีกในโลก จึงตกลงร่วมกันก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ (Charter of the United Nations)ดังนั้น ข้อ 2 ของกฎบัตรสหประชาชาติจึงได้กำหนดให้ประเทศสมาชิกมีพันธกรณีที่จะต้องหาทางระ งังกรณีพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี และข้อ 33 ของกฎบัตรก็ได้บัญญัติไว้ว่า ?1. ผู้เป็นคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในกรณีพิพาทใด ๆ ซึ่งหากดำเนินอยู่ต่อไป น่าจะเป็นอันตรายแก่การธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ก่อนอื่นจักต้องแสวงหาการแก้ไขโดยการเจรจา ไต่สวน ไกล่เกลี่ย ประนีประนอม อนุญาโตตุลาการ การระงับโดยทางศาล การหันเข้าอาศัยทบวงการตัวแทน การตกลงส่วนภูมิภาค หรือสันติวิธีประการอื่นใดที่คู่กรณีจะพึงเลือก 2. เมื่อเห็นว่าจำเป็น คณะมนตรีความมั่นคงจักเรียกร้องให้คู่พิพาทระงับกรณีพิพาทของตนโดยวิธีเช่น ว่านั้น? [การทูต] | Parliamentary Diplomacy | การทูตแบบรัฐสภา หรือบางครั้งเรียกว่า Organization Diplomacy เช่น การทูตในองค์การสหประชาชาติ การทูตแบบนี้ต่างกับการทูตตามปกติที่ดำเนินกันในนครหลวงของประเทศ กล่าวคือ1. นักการทูตมีโอกาสติดต่อโดยใกล้ชิดกับสื่อมวลชนและกับนัการทูตด้วยกันจาก ประเทศอื่น ๆ รวมทั้งจากประเทศที่ไม่เป็นมิตรภายในองค์การสหประชาติ มากกว่าในนครหลวงของประเทศ แต่มีโอกาสน้อยกว่าที่จะติดต่อกับคนชาติของตนอย่างใกล้ชิด2. การพบปะติดต่อกับบรรดานักการทูตด้วยกันในองค์การสหประชาชาติ จะเป็นไปอย่างเป็นกันเองมากกว่าในนครหลวงของประเทศ3. ในองค์การสหประชาติ ประเทศเล็ก ๆ สามารถมีอิทธิพลในการเจรจากับประเทศใหญ่ ๆ ได้มากกว่าในนครของตน เพราะตามปกติ นักการทูตในนครหลวงมักจะติดต่ออย่างเป็นทางการกับนักการทูตในระดับเดียวกัน เท่านั้น แต่ข้อนี้มิได้ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดนักในสหประชาชาติ ในแง่การปรึกษาหารือกันระหว่างกลุ่ม ในสมัยก่อนที่สงครามเย็นจะสิ้นสุดในสหประชาชาติได้แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม (Blocs) ด้วยกัน คือกลุ่มเอเชียอัฟริกา กลุ่มเครือจักรภพ (Commonwealth) กลุ่มคอมมิวนิสต์ กลุ่มละตินอเมริกัน กลุ่มยุโรปตะวันตก กลุ่มสแกนดิเนเวีย และกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ ประเทศที่มิได้ผูกพันเป็นทางการกับกลุ่มใด ๆ ที่กล่าวมา อนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสงครามเย็น สมาชิกประเทศในสหประชาชาติจะรวมกลุ่มกันตามแนวนี้ คือ ประเทศนิยมฝักใฝ่กับประเทศฝ่ายตะวันตก (Pro-West members) ประเทศที่นิยมค่ายประเทศคอมมิวนิสต์ (Pro-Communist members) และประเทศที่ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายใด (Non-aligned members)เกี่ยวกับเรื่องการทูตในการประชุมสหประชาชาติ ในสมัยสงครามเย็น นักการทูตชั้นนำของอินเดียผู้หนึ่งให้ข้อวิจารณ์ว่า ไม่ว่าจะเป็นการประชุมพิจารณากัน การทะเลาะเบาะแว้งด้วยคำผรุสวาทหรือการแถลงโผงผางต่อกันนั้น ล้วนเป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามกับลักษณะวิสัยของการทูตทั้งสิ้น ดังนั้น สิ่งที่เป็นไปในการประชุมสหประชาชาติ จึงแทบจะเรียกไม่ได้เลยว่าเป็นการทูต เพราะการทูตที่แท้จริงจะกระทำกันด้วยอารมณ์สงบ ใช้ความสุขุมคัมภีรภาพ ปราศจากกามุ่งโฆษณาตนแต่อย่างใด การแสดงต่าง ๆ เช่น สุนทรพจน์และภาพยนตร์นั้นจะต้องมีผู้ฟังหรือผู้ชม แต่สำหรับการทูตจะไม่มีผู้ฟังหรือผู้ชม (Audience) หากกล่าวเพียงสั้น ๆ ก็คือ ผู้พูดในสหประชาชาติมุ่งโฆษณาหาเสียง หรือคะแนนนิยมจากโลกภายนอก แต่ในการทูตนั้น ผู้พูดมุ่งจะให้มีการตกลงกันให้ได้ในเรื่องที่เจรจากันเป็นจุดประสงค์สำคัญ [การทูต] | Potsdam Proclamation | คือคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดม ออกเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 โดยหัวหน้าคณะรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และจีน ลงนามโดยประธานาธิบดีของรัฐบาลจีนคณะชาติ เป็นคำประกาศเมื่อตอนใกล้จะเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง โดยฝ่ายสัมพันธมิตรดังกล่าวกำลังทำสงครามขับเคี่ยวอยู่กับฝ่ายญี่ปุ่น พึงสังเกตว่า สหภาพโซเวียต ในตอนนั้นมิได้มีส่วนร่วมในการออกคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดมแต่อย่างใดโดยแท้จริงแล้ว คำประกาศนี้เท่ากับเป็นการยื่นคำขาดให้ฝ่ายญี่ปุ่นตัดสินใจเลือกเอาว่าจะทำ การสู้รบต่อไป หรือจะยอมจำนนเพื่อยุติสงคราม คำประกาศได้เตือนอย่างหนักแน่นว่า หากญี่ปุ่นตัดสินใจที่จะสู้รบต่อไป แสนยานุภาพอันมหาศาลของสัมพันธมิตรก็จะมุ่งหน้าโจมตีบดขยี้กองทัพและประเทศ ญี่ปุ่นให้แหลกลาญ แต่หากว่าญี่ปุ่นยอมโดยคำนึงถึงเหตุผล ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ตั้งเงื่อนไขไว้หลายข้อ สรุปแล้วก็คือ ลัทธิถืออำนาจทหารเป็นใหญ่จะต้องถูกกำจัดให้สูญสิ้นไปจากโลกอำนาจและอิทธิพล ของบรรดาผู้ที่ชักนำให้พลเมืองญี่ปุ่นหลงผิด โดยกระโจนเข้าสู่สงครามเพื่อครองโลกนั้น จะต้องถูกทำลายให้สิ้นซาก รวมทั้งพลังอำนาจในการก่อสงครามของญี่ปุ่นด้วยจุดต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด จะต้องถูกยึดครองไว้จนกระทั่งได้ปฏิบัติตามจุดมุ่งหมายของสัมพันธมิตรเป็นผล สำเร็จแล้ว อำนาจอธิปไตยของญี่ปุ่นให้จำกัดอยู่เฉพาะภายในเกาะฮอนซู ฮ็อกไกโด กิวชู ชิโกกุ และเกาะเล็กน้อยอื่น ๆ ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด อาชญากรสงครามทุกคนจะต้องถูกนำตัวขึ้นศาล รวมทั้งที่ทำทารุณโหดร้ายต่อเชลยศึกของสัมพันธมิตร รัฐบาลญี่ปุ่นจะต้องกำจัดสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดที่เป็นอุปสรรคต่อการรื้อฟื้น และเสริมสร้างความเชื่อถือในหลักประชาธิปไตยในระหว่างพลเมืองญี่ปุ่น และจัดให้มีเสรีภาพในการพูด การนับถือศาสนา และในการแสดงความคิดเห็น ตลอดจนการเคารพสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการด้านอุตสาหกรรมที่จะเกื้อกูลต่อภาวะ เศรษฐกิจของประเทศ และความสามารถที่จะชำระค่าปฏิกรรมสงคราม แต่จะไม่ยอมให้คงไว้ซึ่งกิจการอุตสาหกรรมชนิดที่จะช่วยให้ญี่ปุ่นสร้างสม อาวุธเพื่อทำสงครามขึ้นมาอีก ในทีสุด กำลังทหารสัมพันธมิตรจะถอนตัวออกจากประเทศญี่ปุ่นในทันทีที่จุดประสงค์ต่าง ๆ ได้บรรลุผลเรียบร้อยแล้ว ในตอนท้ายของเงื่อนไข สัมพันธมิตรได้เรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข เสียโดยไว [การทูต] | Presentation of Credentials | หมายถึง การยื่นสารตราตั้ง เป็นธรรมเนียมปฏิบัติทางการทูตว่า ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศใดประเทศหนึ่ง ก่อนที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ จะต้องนำสารตราตั้ง (Credentials) ไปยื่นต่อประมุขของรัฐนั้น ๆ พิธียื่นสารตราตั้งจะกระทำไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศ แล้วแต่จะพิจารณาเห็นความเหมาะสม และความเคร่งต่อธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นสำคัญ เช่น อังกฤษเป็นประเทศหนึ่งที่พิธียื่นสารตราตั้งของเอกอัครราชทูตต่อองค์ประมุข ของประเทศค่อนข้างวิจิตรพิสดารมาก ส่วนบางประเทศมีพิธียื่นสารอย่างง่าย ๆ แทบจะไม่มีพิธีรีตองอย่างใดในสหรัฐอเมริกา ณ กรุงวอชิงตันดีซี พิธียื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดีของสหรัฐฯ กระทำอย่างเรียบง่าย กล่าวคือ พอถึงเวลาที่กำหนดในวันยื่นสารตราตั้ง อธิบดีกรมพิธีการทูตหรือผู้แทนของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จะนำรถยนต์ลีมูซีนสีดำไปยังทำเนียบของเอกอัครราชทูต เพื่อรับเอกอัครราชทูตและครอบครัวไปยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ณ ตึกทำเนียบขาว ( White House)มีข้อน่าสนใจอันหนึ่งคือ ทางฝ่ายสหรัฐฯ จะสนับสนุนให้เอกอัครราชทูตพาภรรยาและบุตรทั้งชายหญิงไปร่วมในการยื่นสารตรา ตั้งนั้นด้วย การแต่งกายของเอกอัครราชทูตก็สวมชุดสากลผูกเน็คไทตามธรรมดา ระหว่างที่ยื่นสารมีการปฏิสันถารกันพอสมควรระหว่างเอกอัครราชทูตกับ ประธานาธิบดีสหรัฐฯมีช่างภาพของทางราชการถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก และมอบภาพถ่ายให้แก่เอกอัครราชทูตในวันหลัง (ต่างกับพิธีของอังกฤษมาก) เอกอัครราชทูตไม่ต้องพาคณะเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตติดตามไปด้วย หลังจากพบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ แล้ว อธิบดีกรมพิธีการทูตจะนำเอกอัครราชทูตและครอบครัวกลับไปยังทำเนียบที่พักโดย รถยนต์คันเดิม เป็นอันเสร็จพิธียื่นสารตราตั้ง โดยที่ประเทศต่าง ๆ ในโลกต่างมีสถานเอกอัครราชทูตของตนตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซี ดังนั้น ในวันไหนที่มีการยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ทางการทำเนียบขาวมักจะกำหนดให้เอกอัครราชทูตใหม่จากประเทศต่าง ๆ เข้ายื่นสารในวันนั้นราว 4-5 ประเทศติดต่อกัน มิใช่วันละคนอย่างที่ปฏิบัติในบางประเทศทันทีที่เอกอัครราชทูตยื่นสารตรา ตั้งต่อประธานาธิบดีเรียบร้อยแล้ว เอกอัครราชทูตจะมีหนังสือเวียนไปยังหัวหน้าคณะทูตทุกแห่งในกรุงวอชิงตันดีซี แจ้งให้ทราบว่าในวันนั้น ๆ เขาได้ยื่นสารตราตั้งต่อประมุขของรัฐ ในฐานะเอกอัครราชทูตเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับแสดงความหวังในหนังสือว่าความสัมพันธ์อันดีที่มีอยู่ระหว่างคณะผู้ แทนทางการทูตทั้งสอง ทั้งในทางราชการและทางส่วนตัว จะมั่นคงเป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้นอีก จากนั้น เอกอัครราชทูตใหม่ก็จะหาเวลาไปเยี่ยมคารวะเอกอัครราชทูตของประเทศต่าง ๆ ที่ประจำอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซีทีละราย กว่าจะเยี่ยมหมดทุกคนก็กินเวลานานอยู่หลายเดือนทีเดียว [การทูต] |
| You have it, then? I had to slit a few throats but I got it! | ข้าได้มันมาแม้จะต้องเชือดคอคนไปสองสามคน Aladdin (1992) | You two, over that way, and you, follow me. | แกสองคนไปทางนั้น ส่วนแกมากับข้า เราจะต้องจับมันให้ได้ Aladdin (1992) | Someday, Abu, things are gonna change. | วันหนึ่งนะอาบู อะไรต่อมิอะไรจะต้องเปลี่ยนไป Aladdin (1992) | To even have a chance, I'd have to be a-- hey, can you make me a prince? | แต่เธอเป็นเจ้าหญิง เพื่อที่จะมีแม้แต่โอกาสสักครั้ง ฉันจะต้องเป็น.. เฮ้ ทำให้ฉันเป็นเจ้าชายสิ Aladdin (1992) | "If the princess has not chosen a husband by the appointed time, then the sultan shall choose for her." | "หากเจ้าหญิง มิได้เืิลือกสามีในเวลาที่กำหนดไว้ องค์สุลต่านก็จะต้องเลือกให้เธอ" Aladdin (1992) | If, in the event a suitable prince cannot be found, a princess must then be wed to... | ถ้า ในสถานการณ์ที่ เจ้าชายที่เหมาะสม ไม่สามารถค้นหาได้ เจ้าหญิงจะต้องแต่งงานกับ อืม... Aladdin (1992) | You will order the princess to marry me. | เจ้าจะต้องออกคำสั่งเจ้าหญิงให้แต่งงานกับข้า ข้า.. Aladdin (1992) | NOT! Jasmine will like this one! -And I'm pretty sure I'll like Princess Jasmine! | จัสมิน จะต้องชอบแน่ๆ และข้าก็มั่นใจว่าจะชอบนางเช่นกัน Aladdin (1992) | OK, I'm gonna go see her... I just... I gotta be smooth, cool, confident. | โอเค ข้าจะไปพบนางล่ะ ข้าจะต้องอ่อนโยน เท่ห์ และมั่นใจ Aladdin (1992) | You aren't just some prize to be won. | เธอไม่ของขายที่จะต้องชนะ Aladdin (1992) | -What? You will wed Jafar. | เจ้าจะต้องแต่งกับ จาฟา Aladdin (1992) | -Why that miserable-- But you are going to relieve him of it! | แต่ เจ้าจะต้องปลดเขาออกซะ Aladdin (1992) | Boy, Jafar's gonna be happy to see you! | แน่นอน จาฟา จะต้องดีใจที่พบเจ้า ทำงานได้ดีมาก อิอาโก้ Aladdin (1992) | His assets frozen, the venue chosen Is the ends of the earth, whoopee! | เขาจะต้องแข็งตาย สถานที่ของเขาได้ถูกเลือกแล้ว ใช่สุดขอบโลกมั้ยนะ วู้ปี้ ไกลๆ เลย Aladdin (1992) | You! How many times do I have to kill you, boy? | เจ้า อีกกี่ครั้งที่ข้าจะต้องฆ่าเจ้านะ ไอ้หนู Aladdin (1992) | -What? And everything that goes with it! | และทุกอย่างจะต้องไปพร้อมกับสิ่งนี่ ไม่ไม่ Aladdin (1992) | Sorry, it really got to me and I don't know why it seems to be doing that. | ขอโทษนะคะ มันเกิดขึ้นกับฉันและฉันก็ไม่รู้ว่า ทำไมมันเหมือนจะต้องทำอย่างนั้น Basic Instinct (1992) | You've got some trust issues there. You might want to work on that. | คุณมีประเด็นเรื่องการไว้ใจ คุณอาจจะต้องไปศึกษามันหน่อย Basic Instinct (1992) | If you say she did, and that got her put on a psych ward stopped her from killing again, wouldn't that be worth it? | ถ้าคุณบอกว่าเธอทำ เธอจะต้องไปอยู่ โรงพยาบาลบ้า... ...และนั่นจะเป็นการหยุดเธอไม่ให้ฆ่าใครได้อีก มันไม่คุ้มเหรอ? Basic Instinct (1992) | I'm getting sick of running up here every time he steps on your toes. | ผมเบื่อที่จะต้องแจ้นมาเพราะแบบนี้ The Bodyguard (1992) | ...I'm sorry, but due to circumstances beyond our control... | ผมมีความเสียใจ.. ที่จะต้องเรียนว่ามีเหตุสุดวิสัย.. The Bodyguard (1992) | No, I'm afraid that I'll have to jog with you. | กลัวจะต้องวิ่งเป็นเพี่อนคุณต่างหาก The Bodyguard (1992) | It's very important for them to see me up there if I win. | จึงสำคัญมากที่จะต้องเห็นฉันขึ้นรับ The Bodyguard (1992) | - Listen. I need you to help me tonight. - Excuse me. | นายเห็นจะต้องช่วยฉันแล้ว The Bodyguard (1992) | You're to treat him as your new brother. | พวกเธอจะต้อง ปฏิบัติเหมือนเขาเป็นพี่น้อง Wuthering Heights (1992) | You must never kiss me again. | เธอจะต้องไม่มีวันจูบฉันอีก Wuthering Heights (1992) | How not all of them rent babies when panhandling. | -วันนี้ชั้นจะต้อง... . -เฮ้ Hero (1992) | Excuse me, Chick. | ชั้นจะต้องออกไปจับผู้ร้ายแล้ว Hero (1992) | Dirt or more poetry? | ทำไมตนายจะต้องเป็นนักข่าวด้วย Hero (1992) | I'll just find funding in the private sector, that's all. | ฉันจะต้องหาทุน สำหรับงานวิจัยส่วนตัว ก็เท่านั้น The Lawnmower Man (1992) | So don't you tell anybody, OK? | ว่าจะต้องไม่บอกใคร The Lawnmower Man (1992) | - I don't see why. Let's get it over with. | - ฉันไม่เห็นว่าจะต้องรอ จัดการมันให้จบ ๆ ไปเถอะ Of Mice and Men (1992) | It's just that they want me to go into hospital just to... give them a chance to get to the bottom of whatever it is I've got. | ก็แค่... แม่จะต้องไปอยู่โรงพยาบาล เพื่อที่... The Cement Garden (1993) | But it means that you and Julie will have to be in charge once I'm gone. | ซึ่งนั่นก็หมายความว่า ลูกกับจูลี่จะต้องดูแลบ้าน The Cement Garden (1993) | No, man! You're gonna be part of my bobsled team. | - ไม่นะ นายจะต้องอยู่ทีมบ็อบสเลดของฉัน Cool Runnings (1993) | You see, Sanka, the driver has to work harder than anyone. | ฟังนะ ซางก้า คนขับจะต้องทำงานหนักกว่าคนอื่น Cool Runnings (1993) | When his teammates are all out drinkin' beer, he's up in his room studying pictures of turns. | ในขณะที่เพื่อนร่วมทีม กำลังนั่งดื่มเบียร์ เขาจะต้องอยู่บนห้อง ศีกษาโค้งทุกโค้ง Cool Runnings (1993) | You see, a driver must remain focused 100 % at all times. | นายเห็นมั้ย คนขับจะต้อง มีสมาธิ 100% ตลอดเวลา Cool Runnings (1993) | This is where you're gonna practice, right here, right here in a Volkswagen, you're gonna practice. No! | ในนี้ ในโฟล์คสวาเก็นนี้ ที่นายจะต้องฝึก Cool Runnings (1993) | In order to qualify, you must complete the course safely... in one-minute, two-seconds flat or under. | การจะผ่านการคัดเลือก คุณจะต้องจบรอบอย่างปลอดภัย... ใน 1 นาที 2 วินาที หรือต่ำกว่านั้น Cool Runnings (1993) | All coaches must sign teams in before approaching bob run. | โค้ชทุกคนจะต้องมาลงชื่อทีม ก่อนไปที่ทางแข่ง Cool Runnings (1993) | You're gonna have to do this on your own one day. | นายจะต้องทำได้เองสักวัน Cool Runnings (1993) | You might not have done what you were asked, but you will do what you're told. | ลูกไม่ทำตามสิ่งที่พ่อบลก แต่ลูกจะต้องทำตามคำสั่งของพ่ล Cool Runnings (1993) | - You're coming home. | - ลูกจะต้องกลับบ้าน Cool Runnings (1993) | Boys will love me! | เด็กผู้ชายจะต้องรักฉัน! Hocus Pocus (1993) | She must not get it. | เธอจะต้องไม่ได้มันไป. Hocus Pocus (1993) | - We shall be ready for them! | - พวกเราจะต้องไปเตรียมพร้อมสำหรับพวกมัน! Hocus Pocus (1993) | Because, you great buffoon, we want to live forever, not just until tomorrow. | ก็เพราะว่า, แกมันตัวตลกแท้ๆ, พวกเราจะต้องมีชีวิตตลอดกาล. ไม่ใช่แค่พรุ่งนี้. Hocus Pocus (1993) | Ha ha! Just when our time was running out! | ถึงเวลาของเรา ที่จะต้องออกไปแล้ว! Hocus Pocus (1993) | We'll have to hold them out until dawn. | พวกเราจะต้องเก็บเค้าไว้จนกว่าพระอาทิตย์จะขึ้น. Hocus Pocus (1993) |
| จำจะต้อง | [jam ja tǿng] (v, exp) EN: have to ; must ; be under an obligation to FR: devoir ; avoir l'obligation de | ควรจะต้อง | [khūan ja tǿng] (v, exp) EN: must FR: devoir ; falloir ; il faudrait |
| nerd | (n, jargon) nerd เป็นคำเรียกบุคคลที่มีระดับสติปัญญาสูงซึ่งมีความสนใจในการเรียนหรือ การศึกษาเรื่องบางเรื่องที่เขาสนใจ คนภายนอกจะมองว่าพวกนี้เป็นพวกที่ไม่เข้าสังคม แต่จริงๆแล้วเป็นเพราะว่าพวกนี้ไม่สนใจและไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเข้าต่างหาก (ความหมายโดยชาว Nerd) | homoeopathy | [โฮมีโอพาธี] (n) การบำบัดแบบโฮมีโอพาธีมีแนวคิดหรือปรัชญาพื้นฐานในการทำความเข้าใจร่างกายมนุษย์ที่แตกต่างจากระบบการแพทย์แผนปัจจุบันโดยสิ้นเชิง การมองร่างกายและจิตใจของ ผู้ป่วยจะไม่ได้มองเป็นอวัยวะที่แยกส่วนออกจากกัน แต่จะมองร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยเป็นภาพรวมเดียวกัน ดังนั้นก่อนที่จะบำบัดผู้ป่วยจะต้องมีการสัมภาษณ์และคุยกับผู้ป่วยในเรื่องของลักษณะทั่วไป บุคลิกภาพ ประวัติทางการแพทย์ของครอบครัว อารมณ์ ความรู้สึกส่วนบุคคลต่อสิ่งแวดล้อม อาหาร อากาศ ฯลฯ รวมทั้งอาการของโรคด้วย นักบำบัด (practitioner) จะต้องนำคำตอบทั้งหมดมาประมวลและสรุปเป็นภาพรวมโดยเรียกว่า “ภาพของอาการ” (symtom picture)ดังนั้นการประเมินประสิทธิภาพของการบำบัดจึงไม่ควรใช้กรอบและแนวคิดของระบบการแพทย์แผนปัจจุบันประเมินแต่เพียงอย่างเดียว ควรมีการศึกษาและทำความเข้าใจแนวคิดพื้นฐานของการบำบัดแบบโฮมีโอพาธีด้วย โดยสรุปแล้วการบำบัดแบบโฮมีโอพาธีจัดเป็นศาสตร์การรักษาสุขภาพแบบองค์รวมที่เน้นเรื่องการปรับสมดุลสารชีวเคมีและพลังไหลเวียนภายในร่างกาย การให้ยาเป็นไปเพียงเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการปรับสมดุลด้วยกลไกตามธรรมชาติของร่างกายเอง ไม่ได้มุ่งหมายให้ยาไปขจัดหรือทำลายกลไกของร่างกายหรือสารที่ก่อให้เกิดอาการป่วย รวมทั้งไม่ได้มุ่งหมายที่จะขจัดสิ่งมีชีวิตใด ๆ ออกจากร่างกายด้วย | Surfskate | [เซิร์ฟสเกต] (n) กีฬาสไตล์เอ็กซ์ตรีมที่กำลังเป็นกระแสมาแรงในไทย เป็นการผสมผสานระหว่างการเล่นสเกตบอร์ดและการเล่นเซิร์ฟ โดยผู้เล่นจะต้องทรงตัวอยู่บนแผ่นไม้กระดาน บิดสะโพกเพื่อให้เกิดแรงเหวี่ยงในการควบคุมบังคับทิศทาง | TL;DR | (phrase, slang) ย่อมาจาก too long; didn't read เป็นคำศัพท์ที่ใช้กันในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อระบุว่า ข้อความที่ตามมาจะเป็นการสรุปเนื้อหาสั้นๆ สำหรับคนที่ไม่มีเวลาอ่านทั้งบทความ (ซึ่งมักจะต้องใช้เวลานาน) |
| call of nature | (n) ความจำเป็นที่จะต้องขับถ่าย | caveat emptor | (n) หลักในการซื้อขายที่ผู้ซื้อจะต้องเป็นผู้ที่รับผิดชอบในการหาคุณภาพที่บกพร่องของสินค้า | over the odds | (idm) มากกว่าที่คาด (ว่าจะต้องจ่ายเงิน) (คำไม่เป็นทางการ) | LAN | (abbr) โครงข่ายคอมพิวเตอร์เฉพาะบริเวณ เช่น ในอาคารเดียวกัน คอมพิวเตอร์เหล่านาจะทำงานร่วมกันได้ ดึงโปรแกรมหรือข้อมูลจากกันและกันได้ แต่การทำเช่นนี้จะต้องใช้ซอฟแวร์ช่วยด้วย (คำย่อของ local area network) | local colour | (n) รายละเอียดหรือลักษณะต่างๆ ของท้องถิ่นในเรื่องที่นักประพันธ์จะต้องรู้เพื่อเพิ่มความสมจริง | must | (aux) ต้อง, See also: จำเป็นต้อง, จำต้อง, จะต้อง, Syn. have to, have got to | shall | (aux) จะ (คำกริยาช่วยแสดงถึงอนาคต), See also: จะต้อง, น่าจะ, ควรจะ, อยากจะ, Syn. be going to, must, be about to, will | taxable | (adj) ซึ่งต้องเสียภาษี (คน, วัตถุ), See also: ซึ่งจะต้องชำระภาษี, ต้องเสียภาษี, พึงชำระภาษี, Syn. assessable, dutible, chargeable, Ant. free, deductible |
| adapter | (อะแดพ' เทอะ) n. บุคคลหรือสิ่งที่ปรับตัว, เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่เชื่อมส่วนที่มีขนาด่หรือแบบแตกต่างกันให้เข้ากันได้, อุปกรณ์. ตัวปรับต่อตัวปรับแผงวงจร (card) ที่มีสายไฟเชื่อมระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อให้ใช้ด้วยกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ ถ้าผิดขนาด ผิดรุ่นกัน จะต้องมี "ตัวปรับต่อ" เพื่อให้ใช้ด้วยกันได้ บางทีอาจเสียบไว้ในช่องเสียบ (expansion slot) เลยก็ได้ | add-on program | โปรแกรมเสริมหมายถึง โปรแกรมที่เขียนเพิ่มขึ้น เพื่อให้โปรแกรมเดิมเพิ่มประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น โปรแกรมสำเร็จทุกโปรแกรมที่ออกสู่ตลาดแล้ว จะต้องมีการพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา และจะมีโปรแกรมเสริมออกมาเสนอให้ลูกค้าอยู่เสมอ ๆ (add-on อาจหมายถึงอุปกรณ์ที่เสริมเข้าไปภายหลังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่อง เช่น แผ่นวงจรโมเด็ม เป็นต้น) | algorithm | (แอล' กะริธธึม) n. ระบบกฏเกณฑ์ในการแก้ปัญหาของจำนวนที่แน่นอนทางคณิตศาสตร์เช่นในการหาค่าของตัวหารร่วมที่สุด., Syn. algorism, -algorithmic adj. ขั้นตอนวิธีอัลกอริทึมหมายถึง การวิเคราะห์แยกแยะวิธีการทำงานให้เป็นขั้นเป็นตอนโดยกำหนดให้เรียงกันไปตามลำดับ การเขียนโปรแกรมในยุคแรก ๆ นั้น ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องมองเห็นขั้นตอนในการแก้ปัญหาอย่างแจ่มชัดเสียก่อน จึงจะเขียนโปรแกรมได้ | alpha version | รุ่นทดสอบรอบแรกหมายถึง การนำเอาโปรแกรมสำเร็จที่เขียนเสร็จใหม่ ๆ ไปให้ "กลุ่มลูกค้าประจำ" ทดลองใช้ดูก่อน หรือพูดง่าย ๆ ว่า ให้ช่วยเป็นผู้ตรวจสอบเบื้องต้นให้ เพื่อจะดูว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นนั้นใช้ได้ดีหรือไม่ ยังขาดตกบกพร่องอะไรบ้าง หรือมีปัญหาในเรื่องใด โดยปกติแล้ว การทดลองนำไปใช้ครั้งแรกนี้ จะยังมีเรื่องที่ต้องแก้ไขอีกมาก โปรแกรมดังกล่าวจะต้องมีข้อความบ่งบอกไว้ว่าเป็นรุ่นทดสอบรอบแรก มีความหมายเหมือน alpha testดู beta version ประกอบ | analog | (แอน' นะลอก) n. = analogue อะนาล็อก เชิงอุปมานหมายถึง วิธีการเก็บข้อมูลที่ได้จากการวัดในลักษณะต่อเนื่อง เช่น วัดความเร็วของรถยนต์จากการหมุนของวงล้อ ตรงข้ามกับ ดิจิตอล (digital) ซึ่งหมายถึง การเก็บข้อมูลที่เป็นตัวเลข นาฬิกามีใช้ทั้งสองแบบ ซึ่งจะบอกความแตกต่างระหว่างอะนาล็อกและดิจิตอลได้ชัดเจน กล่าวคือ แบบหนึ่งจะแสดงเวลาเป็นตัวเลข ส่วนอีกแบบหนึ่งใช้เข็มสั้นและเข็มยาวเป็นตัวบอกเวลา เรียกว่าแบบอะนาล็อก คอมพิวเตอร์นั้นมีสองชนิด คือชนิดอะนาล็อกและชนิดดิจิตอล แต่คอมพิวเตอร์ที่เรารู้จักกันนั้นจะเก็บเฉพาะข้อมูลที่เป็นดิจิตอล "เสียง" เป็นข้อมูลที่มีลักษณะเป็นอะนาล็อก เมื่อจะนำเข้าไปเก็บในคอมพิวเตอร์ จะต้องถูกนำไปเปลี่ยนเป็นดิจิตอลก่อน โดยให้ผ่านอุปกรณ์ชนิดหนึ่งเรียกว่า "โมเด็ม" ดู digital เปรียบเทียบ | api | (เอพีไอ) ย่อมาจาก application program interface หมายถึงวิธีการอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์รู้สึกว่า การใช้คอมพิวเตอร์ง่ายขึ้นกว่าเดิม เช่น เอพีไอจะกำหนดขั้นตอนมาตรฐานให้โปรแกรมสำเร็จต่าง ๆ ทำงาน โดยวิธีให้ผู้ใช้เลือกจากรายการคำสั่ง (menu) หรือตอบคำถามในกรอบสนทนา (dialog box) แทนที่จะต้องจำคำสั่งอย่างแต่ก่อน การใช้ระบบวินโดว์บนเครื่องพีซีก็ดี OS/2 ก็ดี หรือระบบของแมคอินทอช ก็ดี ล้วนเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของการนำเอพีไอมาใช้ | arc | (อาร์ค) 1. n. ส่วนโค้ง, ความโค้ง, สะพานเรืองแสงที่อยู่ระหว่างปลายหรือ conductors ทั้งสอง, สิ่งที่มีรูปคล้ายคันศร -S...curve, arch, bend 2. เป็นชื่อโปรแกรมหนึ่งที่ใช้ในการหลอมรวมข้อมูลจากหลาย ๆ แฟ้มเข้าเป็นแฟ้มเดียวกัน เพื่อให้ใช้เนื้อที่ในการเก็บน้อยลง โปรแกรมนี้เคยได้รับความนิยมอย่างสูงมาก่อน ต่อมาความนิยมได้ลดลงเพราะมีโปรแกรมใหม่กว่า มีผู้นิยมใช้มากกว่า มีชื่อเรียกว่า ZIP โปรแกรมประเภทนี้จะสามารถอัด (compress) ข้อมูลจำนวนมาก ๆ ให้เก็บได้ในเนื้อที่น้อย ๆ เช่นในจานบันทึก (floppy disk) แต่เมื่อจะใช้ จะต้องนำมาขยายเป็นขนาดปกติก่อน เรียกว่า decompress (ดู compress) | assembly language | ภาษาแอสเซมบลีหมายถึง ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่งซึ่งจะตรงเข้าไปจัดการกับตัวไมโครโพรเซสเซอร์ หรือ "ตัวประมวลผล" ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และจะทำการประมวลผลโดยตรงได้เลย โดยปกติ ภาษานี้จะเรียนยากและต้องเขียนยาวกว่าภาษา C หรือภาษา BASIC แต่จะทำให้ได้ผลลัพธ์ (result) เร็วกว่า และใช้เนื้อที่เก็บน้อยกว่าโปรแกรมภาษาอื่นมาก นิยมใช้ภาษานี้เมื่อต้องการประหยัดเวลาทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเพิ่มประสิทธิภาพของโปรแกรม โดยไม่ต้องพะวงถึงความชัดเจนมากนัก และที่สำคัญก็คือ โปรแกรมภาษานี้จะเขียนขึ้นมาเพื่อใช้เฉพาะกับเครื่องใดเครื่องหนึ่ง หากจะนำไปใช้กับเครื่องคนละรุ่น ก็จะต้องมีการปรับแก้ก่อน (ขึ้นกับหน่วยประมวลผลหรือ CPU) | bank switching | การสลับชิปไปมาหมายถึง การสลับไปมาของการใช้ชิปในหน่วยความจำเดิมที่ติดมากับเครื่อง กับหน่วยความจำที่เพิ่มภายหลัง ที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จนกระทั่งทำให้รู้สึกเสมือนว่า หน่วยความจำทั้งสองนั้นเป็นหน่วยความจำเดียวกัน เช่น บริษัทไอบีเอ็มผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกมาขายในตลาดโดยมีหน่วยความจำติดมาภายในตัวเครื่องเพียง 640 เคไบต์ แต่เรานำไปเพิ่มหน่วยความจำเป็นถึง 16 เมกกะไบต์ การที่จะทำให้หน่วยความจำเดิมกับหน่วยความจำที่เพิ่มมาใหม่ทำงานสลับกันไปมาได้ ก็จะต้องอาศัยการสลับชิปไปมานี้ อย่างไรก็ตาม หากเราเป็นเพียงผู้ใช้เครื่อง (user) ก็ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องนี้เท่าไรนัก เป็นหน้าที่ของช่างฝ่ายเทคนิคที่จะต้องติดตั้งหรือจัดการทำให้ | base number | เลขฐานหมายถึง จำนวนสัญลักษณ์ที่ ใช้บอกว่าเลขในระบบนั้น ๆ ว่ามีสัญลักษณ์โดด ๆ กี่ตัว เช่น ระบบฐานสิบมีสัญลักษณ์ 10 ตัว ระบบฐานสิบหกมีสัญลักษณ์ 16 ตัว เป็นต้น ในการเขียน มักจะต้องบอกฐานกำกับไว้ด้วยเสมอ | batch processing | การประมวลผลเชิงกลุ่มหมายถึงการประมวลผลที่ทำต่อเนื่องกันไปตามลำดับโดยมีระบบปฏิบัติการ (operating system) เป็นตัวควบคุม ในการประมวลผลแบบนี้ เราจะต้องจัดรวบรวมข้อมูลและแบ่งแยกเป็นกลุ่มไว้ให้เรียบร้อยก่อน จึงส่งเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลทีเดียว เมื่อเสร็จแล้วจึงจัดรวบรวมเป็นรายงาน หรือสรุปผลอีกทีหนึ่ง วิธีการประมวลผลแบบนี้ทำง่าย ประหยัด และตรงไปตรงมา แต่อาจจะช้าไปบ้าง เพราะต้องรอให้ข้อมูลเรียบร้อยก่อน ตรงกันข้ามกับการประมวลผลแบบเชื่อมตรง (on line proessing) ซึ่งหมายถึงการที่เครื่องจะประมวลผลทันทีที่ได้รับข้อมูลดู on line processing ประกอบ | bbs | (บีบีเอส) ย่อมาจาก bulletin board system หรือที่แปลว่า ระบบแผงข่าว เป็นโปรแกรมหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บรายการ หัวข้อ หรือข้อมูลที่เป็นที่สนใจ ผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลเหล่านี้ อาจจะโทรศัพท์ผ่านเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อขอคัดลอกแฟ้มข้อมูล หรือสอบถามข้อความ ก็ได้ เช่น บีบีเอสของมหาวิทยาลัยก็อาจมีประกาศต่าง ๆ เช่น ประกาศรับสมัครนิสิตเข้าเรียนในระดับต่าง ๆ ปฏิทินการศึกษา รายการกีฬา ฯ ผู้ใช้บริการจะต้องมีคอมพิวเตอร์และโมเด็มพร้อมกับโปรแกรมที่จำเป็น ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับข้อมูลสำคัญในทางธุรกิจ จะมีการเรียกเก็บค่าบริการด้วย (มีใช้เฉพาะในระบบเครือข่าย) | bezier curve | รูปโค้งเบซิเอร์หมายถึง รูปเส้นโค้งทางคณิตศาสตร์รูปหนึ่ง เป็นโค้งที่ไม่มีรูปลักษณ์ที่มีกฏเกณฑ์เป็นสูตรกำหนด การสร้างเส้นโค้งในโปรแกรมบางโปรแกรม จะต้องเริ่มด้วยการลากเส้นตรงขึ้นมาเส้นหนึ่งก่อน แล้วสร้างจุดสองจุดบนเส้นตรงนั้น ใช้เมาส์ดึงแต่ละจุดขึ้นไป ในทิศทางที่ต่างกัน ก็จะได้โค้งแบบเบซีเอร์ ขึ้นมา | binary search | การค้นหาแบบทวิภาคหมายถึง วิธีการค้นหาโดยใช้ระบบแบ่งครึ่งข้อมูลทั้งหมดออกเป็นสองส่วน การค้นหาตัวที่ต้องการจะต้องเลือกหาจากข้อมูลทีละส่วน โดยใช้วิธีเดิมคือแบ่งเป็นสองส่วนย่อย หากพบในส่วนที่หนึ่ง ก็ไม่ต้องเสียเวลาหาในอีกส่วนหนึ่งอีกต่อไป | bit | (บิท) 1. n. ดอกสว่าน, สิ่งค้ำ, ของเล็ก ๆ น้อย ๆ , ครู่เดียว, การกระทำ, บทบาทเล็กน้อย, เหรียญเล็ก ๆ , หน่วย, กริยาช่อง 2 และ 3 ของ bite, บิต, 2. ในระบบเลขฐาน 2 หมายถึงตัวเลข 0 และ 1, หน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด โดยที่หนึ่งบิตจะต้องเพียงพอต่อการบอกความแตกต่างระหว่างข้อมูลประเภท "ใช้" ในปัจจุบันมักใช้บิตเป็นหน่วยวัดตัวประมวลผล (microprocessor) ของไมโครคอมพิวเตอร์ ว่าเป็นขนาด 8 บิต 16 บิต หรือ 32 บิต ถ้าจัดบิตเป็นชุดที่เรียกว่าไบต์ (byte) ซึ่งปกติจะมี 8 บิต จะใช้เป็นรหัสเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร ฯ ดู byte ประกอบ | bnc connector | ตัวเสียบบีเอ็นซี <คำแปล>หมายถึง ส่วนปลายของสายเคเบิลที่เป็นโลหะที่จะต้องเสียบเข้าทางด้านหลังของเครื่องคอมพิวเตอร์ | boot | (บูท) { booted, booting, boots } n. รองเท้าหุ้มข้อเท้า, รองเท้าบู๊ท, เครื่องหุ้มคล้ายปลอก, ฝาครอบป้องกัน, ปลอกหุ้มเบาะ, โครงรถ, เครื่องรัดทรมานข้อเท้า, การเตะ, การถีบ, การปลดออก vt. สวมรองเท้าบู๊ท, เตะ, ถีบ เริ่มต้นใหม่เริ่มเครื่องใหม่หมายถึง การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เริ่มต้นทำงาน (ว่ากันว่า คำ "boot" นี้ มาจากคำว่า "bootstrap" เบื้องหลังการใช้คำ ๆ นี้ อยู่ที่การขู่ว่า ถ้าไม่ทำงานแล้วละก็ โดนรองเท้าบู๊ตแน่ ๆ เลย) การเริ่มเครื่องใหม่นั้น โดยปกติ เมื่อกดสวิตช์เปิดแล้ว คอมพิวเตอร์จะเริ่มต้นทำงานด้วยการอ่านจานบันทึกในหน่วยบันทึก A: ถ้าในหน่วยบันทึก A: ไม่มีจานบันทึก ก็จะไปอ่านจานบันทึก C: (จะไม่สนใจหน่วยบันทึก B: เลย) ถ้ามีจานบันทึกใน A: จานบันทึกนั้นจะต้องมีคำสั่งระบบ (แฟ้มข้อมูล command.com) อยู่ คอมพิวเตอร์จึงจะเริ่มต้นทำงานต่อไปได้ ถ้าจานบันทึกใน A: ไม่มีคำสั่งระบบ จะมีรายงานบนจอภาพว่าเป็น "non-system disk" ในกรณีเช่นนี้ต้องเปลี่ยน แผ่น A: หรือดึงแผ่น A: ออก แล้วเริ่มต้นใหม่จาก หน่วยบันทึก C: (ถ้ามี) อนึ่ง การเริ่มเครื่องใหม่นั้น ทำได้ 2 วิธี วิธีแรกเริ่มด้วยการเปิดสวิตช์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ตามที่ได้อธิบายแล้ว เรียกว่า "cold boot" อีกวิธีหนึ่งที่ใช้เมื่อมีการเปิดเครื่องอยู่ก่อนแล้ว แต่ต้องการเริ่มเครื่องใหม่ หรือเครื่องเกิดขัดข้องหรือค้าง (hang) ให้ กดแป้น CTRL +ALT +DEL เรียกว่า "warm boot" | buffer | (บัฟ'เฟอะ) { buffered, buffering, buffers } n. ตัวกันชน, สารที่สามารถทำให้ทั้งกรดและด่างเป็นกลาง, เครื่องขัดเงา, คนงานขัดเงา vt. ใส่ตัวทำให้กรดหรือด่างเป็นกลาง, ผ่อนคลาย, ปกป้อง, กันชน, Syn. cushion ที่พัก ข้อมูล กันชนบัฟเฟอร์ในกรณีที่อัตราความเร็วในการทำงานของอุปกรณ์บางอย่างมีความเร็วไม่เท่ากัน เป็นต้นว่า เครื่องพิมพ์และหน่วยประมวลผลซึ่งทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันมาก คอมพิวเตอร์ประมวลผลเสร็จแล้วจึงต้องส่งผลมารออยู่ที่บัฟเฟอร์ก่อน เพราะเครื่องพิมพ์จะใช้เวลามากกว่าในการพิมพ์ พิมพ์ตามไม่ทัน เราจะพบบ่อย ๆ ว่า แม้ว่าจะสั่งให้หยุดพิมพ์ แต่เครื่องพิมพ์จะไม่หยุดทันที ทั้งนี้เป็นเพราะมีข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ส่งไปรออยู่ที่บัฟเฟอร์แล้ว เครื่องพิมพ์จะต้องพิมพ์จนหมดข้อมูลในบัฟเฟอร์นี้ จึงจะหยุด คอมพิวเตอร์นั้นจะมีที่พักข้อมูลทั้งเมื่อรับข้อมูลเข้าและเมื่อส่งข้อมูลออก อันที่จริง บัฟเฟอร์ก็เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยความจำนั่นเอง | bulletin board system | ระบบการบริการเครือข่ายที่อนุญาตให้ผู้ใช้ที่มีผลประโยชน์ร่วมให้ส่งและรับข้อมูลหรือได้รับซอฟแวร์ เป็นต้น ระบบแผงข่าวศูนย์รวมข่าวใช้ตัวย่อว่า BBS (อ่านว่า บีบีเอส) เป็นโปรแกรมหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บรายการ หัวข้อ หรือข้อมูลที่เป็นที่สนใจ ผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลเหล่านี้ อาจจะโทรศัพท์ผ่านเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อขอคัดลอกแฟ้มข้อมูล หรือสอบถามข้อความ ก็ได้ เช่น ระบบแผงข่าวของมหาวิทยาลัยก็อาจมีประกาศต่าง ๆ เช่น ประกาศรับสมัครนิสิตเข้าเรียนในระดับต่าง ๆ ปฏิทินการศึกษา รายการกีฬา ฯ ผู้ใช้บริการจะต้องมีคอมพิวเตอร์และโมเด็มพร้อมกับโปรแกรมที่จำเป็น ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับข้อมูลสำคัญในทางธุรกิจ จะมีการเรียกเก็บค่าบริการด้วย (มีใช้เฉพาะในระบบเครือข่าย) | c | (ซี) n. พยัญชนะอังกฤษตัวที่3, ตัวเลข100ของโรมัน, สัญลักษณ์ทางเคมีของธาตุคาร์บอน ภาษาซีเป็นภาษาระดับสูง (high level language) ภาษาหนึ่ง ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม ภาษานี้เริ่มต้นมาจากห้องปฏิบัติการของบริษัท Bell ในช่วงทศวรรษ 1970 ภาษาซีนี้ เป็นภาษาที่ใช้ทั่วไปเทียบเคียงได้กับภาษาเบสิก (BASIC) หรือภาษาปาสกาล (Pascal) ความที่ภาษาซีเป็นภาษาที่ใช้ง่ายและสะดวก โปรแกรมสำเร็จรูปที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างดี เช่น Lotus 1-2-3 และ Microsoft FoxPro ก็เขียนด้วยภาษาซี ภาษาซีได้เปรียบภาษาอื่น ๆ อย่างน้อย 3 ประการด้วยกัน คือ 1. ภาษาซีง่ายในการเขียน และเรียนรู้ได้ง่ายเกือบจะเท่ากับภาษาเบสิก2. โปรแกรมภาษาซีใช้เวลาของเครื่อง (คอมพิวเตอร์) น้อยมาก พอ ๆ กับภาษาแอสเซมบลี (Assembly) แต่เขียนได้ง่ายกว่ากันมาก3. ภาษาซีใช้ได้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทุกยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็นแมคอินทอชหรือไอบีเอ็ม (แทบจะไม่ต้องแก้ไขดัดแปลงอะไรเลย ผิดกับภาษาเบสิกและภาษาปาสกาล ซึ่งหากนำไปใช้กับเครื่องต่างตระกูลกันแล้ว จะต้องแก้ไขมากจนเรียกได้ว่าไม่คุ้ม | cache | (แค?) { cached, caching, caches } n. ที่ซ่อน, ที่เก็บ, สิ่งที่ซ่อนไว้ vt. ซ่อน, เก็บ หน่วยความจำแคชหมายถึง ส่วนหนึ่งของหน่วยความจำ (memory) ที่ถูกกันไว้เก็บข้อมูลที่จะต้องการใช้เป็นการชั่วคราว การเข้าถึงหน่วยความจำส่วนนี้จะทำได้เร็วกว่าธรรมดามาก ในการโฆษณาขายเครื่อง ไมโครคอมพิวเตอร์ มักจะมีบ่งบอกไว้ด้วยเสมอว่า หน่วยความจำแคชนี้มีขนาดความจุเท่าใด เช่น 256 K cache เป็นต้น เพราะเป็นการแสดงถึงประสิทธิภาพของเครื่องอย่างหนึ่ง บางทีเรียก cache memory | cad | 1. abbr. coronary artery disease 2. (แคด) ย่อมาจาก computer aided design แปลตรง ๆ ได้ว่า การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วย หมายถึงการสร้างโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์สามารถช่วยในการสร้างภาพ แบบจำลอง (model) ฯ แล้วจะบันทึกแบบเก็บไว้ในสื่อ สามารถเรียกแบบที่ออกไว้นั้นมาแสดงบนจอภาพเมื่อใดก็ได้ หรือจะสั่งให้พิมพ์ออกมาดูบนกระดาษก็ได้ โดยสามารถสั่งขยาย ย่อ หมุนพลิกภาพนั้น ๆ ด้วยก็ได้ ภาพหรือแบบที่ออกไว้จะปรับเปลี่ยนไปตามสูตรที่กำหนดเอาไว้แล้ว ตัวอย่าง เช่น การออกแบบชิ้นส่วนของรถยนต์หรือโครงสร้างอาคาร ผู้ออกแบบจะสามารถแก้ไขได้ตลอดเวลา โดยปกติ คอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้เพื่องานประเภทนี้ จะต้องมีฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ที่มีความจุสูงมาก มีจอภาพที่มีความละเอียดสูง และมีตัวประมวลผลที่ทำงานเร็ว ส่วนการแสดงผล มักจะใช้เครื่องวาด (plotter) แทนเครื่องพิมพ์ดู CAM ประกอบ เพราะมักใช้คู่กันเป็น CAD/CAM | cai | (ซีเอไอ) ย่อมาจาก computer-aided instruction หรือ computer assissted instruction (การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย) หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ การสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง หรือเรียนได้เป็นรายบุคคล การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่า เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน แต่ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน | capture | (แคพ'เชอะ) n. การจับได้, การยืดได้, สิ่งที่ถูกยึด, คนที่ถูกจับ, เชลย vt. จับได้, ยืดได้, เข้ายึดได้, ตีได้, ทำให้สนใจ, ทำให้หลงไหล, See also: capturer n. ดูcapture, Syn. take เก็บภาพจับภาพ ข้อมูล หมายถึง การสั่งเก็บภาพที่แสดงอยู่บนจอภาพทั้งหมด หรือ เฉพาะบางส่วนเอาไว้เป็นแฟ้มข้อมูลแฟ้มหนึ่ง ถ้าเป็นเครื่องแมคอินทอช ใช้วิธีกดแป้น Command + Shift + 3 ภาพที่เกิดจะถูกนำไปเก็บไว้เป็นแฟ้มข้อมูลชื่อ Picture 1, Picture 2.... เรียงไปตามลำดับ ส่วนพีซี ใช้วิธีกดแป้น Print Screen ภาพที่อยู่บนจอจะถูกนำไปเก็บไว้ในคลิปบอร์ด clipboard เราอาจสั่งเก็บเป็นแฟ้มข้อมูลได้โดยกำหนดชื่อให้เป็น ภาพ ๆ ไป แฟ้มเหล่านี้จะเรียกมาดูได้ในหลายโปรแกรม เป็นต้นว่า PageMaker, Microsoft Word อย่างไรก็ตาม หากจะเลือกเก็บเฉพาะบางส่วนของภาพที่ปรากฏบนจอ จะต้องใช้โปรแกรมพิเศษ | character reader | เครื่องอ่านอักขระหมายถึง เครื่องอ่านอักขระจากตัวพิมพ์ซึ่งจะต้องมีลักษณะพิเศษที่เป็นมาตรฐาน การอ่านใช้วิธีให้แสงผ่านช่องว่างของตัวอักขระนั้น ๆ แล้วแปลเป็นรหัสบันทึกลงไว้ในแถบบันทึก (tape) หรือจานบันทึก (disk) | character string | หมายถึง ตัวอักขระหลาย ๆ ตัวที่เมื่อนำมาต่อกันแล้ว สื่อความหมายบางอย่าง และสามารถนำไปเก็บในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือสื่อ (media) ชนิดต่าง ๆ ได้ นอกจากนั้น จะต้องทำให้คอมพิวเตอร์สามารถแยกออกว่าไม่ใช่คำสั่งในภาษามีความหมายเหมือน alphabetic string หรือ string | check sum | ผลรวมตรวจสอบหมายถึง ผลการคำนวณเพื่อยืนยันในความแม่นตรงของการถ่ายโอนข้อมูลผ่านทางโมเด็ม ส่วนมากจะเป็น XModem โดยปกติ ในการส่งข้อมูล คอมพิวเตอร์จะต้องจัดการแยกข้อมูลทั้งหมดออกเป็นส่วนเล็ก ๆ ก่อน ฉะนั้นเมื่อส่งเรียบร้อยแล้ว จึงต้องมีการตรวจสอบผลรวม ถ้าตรงกัน ก็แปลว่า ข้อมูลที่ส่งออกไปถูกต้องครบถ้วน | cis- | 1. Pref. อยู่ทางด้านใกล้ 2. (สิส) ย่อมาจาก CompuServe Information Services หมายถึง งานบริการข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ตามสาย (on line) การใช้บริการดังกล่าว กำลังเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เพราะสะดวก รวดเร็วกว่าการหาข้อมูลด้วยตนเอง (ว่ากันว่า การที่ใช้เครื่องหมาย $ แทนตัว s ธรรมดา อาจจะเพื่อบ่งบอกให้รู้ว่า รายการนี้ขอฟรี ๆ กันไม่ได้ จะต้องมีการจ่ายค่าบริการ) ดู CompuServe ประกอบ | client application | โปรแกรมเฉพาะเครื่อง1. ในเรื่องของข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) คำนี้หมายถึง โปรแกรมที่เก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์บางเครื่อง โดยปกติ ในระบบเครือข่ายนั้น จะต้องมีคอมพิวเตอร์กลางเครื่องหนึ่ง ซึ่งใช้เป็นที่เก็บโปรแกรมต่าง ๆ ไว้ให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายสามารถเรียกไปใช้ได้ เรียกว่า เครื่องบริการแฟ้ม (file server) (คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายไม่จำเป็นต้องมีโปรแกรมเหล่านั้น) แต่ถ้าเครื่องบริการแฟ้มนั้นเสีย คอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในเครือข่ายเดียวกันนั้นก็จะทำงานไม่ได้เลย ฉะนั้น เราจึงมักจะให้คอมพิวเตอร์บางเครื่องในเครือข่ายมีโปรแกรมเก็บไว้ในเครื่องของตนเองด้วย อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่แม้จะอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน จะไม่สามารถเรียกโปรแกรมจากคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ไปใช้ได้ เราเรียกโปรแกรมที่เก็บอยู่เฉพาะในเครื่องนี้ว่า " client application "2. โปรแกรมบนระบบวินโดว์ที่สามารถโยงถึงที่มาของภาพหรือข้อความที่เป็นต้นแบบได้ หากเมื่อใดมีการแก้ไขในแฟ้มต้นแบบ โปรแกรมก็จะจัดการแก้ไขในแฟ้มใหม่ ให้ด้วย ดู OLE เปรียบเทียบ | com- | 1. Pref. รวมกัน, ด้วยกัน, อย่างสมบูรณ์, Syn. co-, 2. คอม 1. ย่อมาจาก COMmunication port หมายถึงช่องที่ใช้สำหรับต่อออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น เมื่อจะหมุนเลขหมายโทรศัพท์บนคอมพิวเตอร์ผ่านโมเด็ม คอมพิวเตอร์ก็จะต้องรับรู้กันให้ได้ว่า ช่องที่ติดต่อกับโมเด็มนั้นคือช่องไหน กำหนดได้หลายช่องเรียกว่า COM1, COM2 2. ใช้เป็นนามสกุล file type ของแฟ้มข้อมูลในดอสและโอเอสทูว่า .COM เพื่อแสดงว่าเป็นแฟ้มข้อมูลกระทำการ executive program หรือโปรแกรมประเภทเดียวกับ .EXE เช่น FORMAT.COM COMMAND.COM 3. ย่อมาจาก computer output on microfilm ไมโครฟิล์มจากคอมพิวเตอร์ หมายถึง เทคโนโลยีในการนำข้อมูลจากเอกสารหรือผลที่คอมพิวเตอร์ประมวลได้ไปเก็บไว้ในไมโคร ฟิล์ม แล้วสามารถส่งสัญญาณออกมาให้อ่านได้ทางจอภาพ ในการบันทึกเก็บลงในไมโคร ฟิล์มนั้น จะต้องทำผ่านเลนส์ ซึ่งจะย่อส่วนลงประมาณ 24 หรือ48 เท่า ฟิล์มหนึ่งกรอบจะสามารถเก็บข้อมูลได้เต็มหน้าจอภาพ แล้วก็จะเลื่อนต่อไปอีกหนึ่งกรอบ การบันทึกจะสามารถทำด้วยความเร็วอย่างน้อย 120, 000 ตัวอักษรต่อวินาที | compression | (คัมเพรส'เชิน) n. การอัด, การบีบ, การกด, ผลจากการถูกอัด, ความกดดัน, ภาวะที่ปริมาตร (ในห้องเครื่อง) ต่ำลงและความกดดันของอากาศสูงขึ้นก่อนการเผาไหม้., Syn. compressure การอัดแน่นหมายถึง นำข้อมูลหรือคำสั่งจำนวนมาก ๆ มาอัดให้แน่น เพื่อ ให้ใช้ที่เก็บในหน่วยความจำ หรือจานบันทึกน้อยลง โดยปกติ จะมีโปรแกรม หรือคำสั่ง ในดอส 6.0 ที่สามารถอัดโปรแกรม ใหญ่ ๆ ที่กินเนื้อที่มาก ๆ ให้เหลือน้อยลง เพื่อจะได้เก็บลงในแผ่นจานบันทึกได้ จานบันทึกชนิดอ่อน floppy disk ในปัจจุบัน มีความสูงสุด 1.44 เมกะไบต์ ฉะนั้น ถ้าแฟ้มข้อมูลใหญ่มาก ก็จะไม่สามารถเก็บลงในแผ่นได้ จึงต้องจัดการอัดให้แน่นเสียก่อน อย่างไรก็ตาม เมื่อจะเรียกมาใช้ จะต้องนำมาคลายออกก่อน เรียกว่า "decompress" การอัดแน่นก็ดี การคลายคืนก็ดี จะต้องมีโปรแกรมเฉพาะจัดทำให้ ในระบบดอส นิยมใช้ PKZip/Unzip ในระบบ Windows 95 โปรแกรมที่นิยมชื่อ WinZip ในระบบยูนิกซ์ ใช้ Gunzipดู expand, decompress เปรียบเทียบ | compuserve | คอมพิวเซิร์ฟเป็นบริการที่นำคอมพิวเตอร์ของเราไปต่อสายเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ขนาดยักษ์ที่สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมาก ๆ เพื่อจะได้ขอใช้ข้อมูลบางอย่างได้ โดยปกติ การทำเช่นนี้จะต้องจ่ายค่าบริการค่อนข้างแพง นอกจากนั้น บริการ CompuServe ยังมีโปรแกรมเก่า ๆ ที่ยอมให้มีการคัดลอกมาใช้ได้โดยไม่ต้อง เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ อีก มีเกมให้เรียกมาเล่นได้ พร้อมทั้งให้บริการอย่างอื่นอีกมาก เช่น จะจองตั๋วเครื่องบินเองก็ได้ นอกจากนั้น ผู้ใช้จะขอดูข้อมูลต่าง ๆ ได้ เช่นข้อมูลเกี่ยวกับการแข่งกีฬา ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์ ฯ | computer aided design | การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วยใช้ตัวย่อว่า CAD (อ่านว่า แคด) หมายถึงการสร้างโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์สามารถช่วยในการสร้างภาพ แบบจำลอง (model) ฯ แล้วจะบันทึกแบบเก็บไว้ในสื่อ สามารถเรียกแบบที่ออกไว้นั้นมาแสดงบนจอภาพเมื่อใดก็ได้ หรือจะสั่งให้พิมพ์ออกมาดูบนกระดาษก็ได้ โดยสามารถสั่งขยาย ย่อ หมุนพลิกภาพนั้น ๆ ด้วยก็ได้ ภาพหรือแบบที่ออกไว้จะปรับเปลี่ยนไปตามสูตรที่กำหนดเอาไว้แล้ว ตัวอย่าง เช่น การออกแบบชิ้นส่วนของรถยนต์หรือโครงสร้างอาคาร ผู้ออกแบบจะสามารถแก้ไขได้ตลอดเวลา โดยปกติ คอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้เพื่องานประเภทนี้ จะต้องมีฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ที่มีความจุสูงมาก ๆ มีจอภาพที่มีความละเอียดสูง และมีตัวประมวลผลที่ทำงานเร็ว ส่วนการแสดงผล มักจะใช้เครื่องวาด (plotter) แทนเครื่องพิมพ์ | computer aided instructio | การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยใช้ตัวย่อว่า CAI (อ่านว่า ซีเอไอ) หมายถึง การสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อมผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง หรือเรียนได้เป็นรายบุคคล การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน แต่ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน | computer output on microf | ไมโครฟิล์มจากคอมพิวเตอร์ใช้ตัวย่อว่า COM (อ่านว่า ซีโอเอ็ม) หมายถึง เทคโนโลยีในการนำข้อมูลจากเอกสารหรือผลที่คอมพิวเตอร์ประมวลได้ไปเก็บไว้ในไมโครฟิล์ม แล้วสามารถส่งสัญญาณออกมาให้อ่านได้ทางจอภาพ ในการบันทึกเก็บลงในไมโครฟิล์มนั้น จะต้องทำผ่านเลนส์ ซึ่งจะย่อส่วนลงประมาณ 24 หรือ 48 เท่า ฟิล์มหนึ่งกรอบจะสามารถเก็บข้อมูลได้เต็มหน้าจอภาพ แล้วก็จะเลื่อนต่อไปอีกหนึ่งกรอบ การบันทึกจะสามารถทำด้วยความเร็วอย่างน้อย 120, 000 ตัวอักษรต่อวินาที | computer programmer | นักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์หมายถึง คนที่เขียนโปรแกรมสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการได้ และควรจะมีความชำนาญด้วย (สำหรับคนที่หัดเขียนใหม่ ๆ ไม่ควรจะใช้คำ ๆ นี้) นักเขียนโปรแกรมที่ดีนั้น จะต้องรู้วิธีแก้ปัญหา และรู้ด้วยว่า จะแก้อย่างไร รวมทั้งต้องเข้าใจหลักและกฎเกณฑ์ของภาษาต่าง ๆ ที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจด้วย เพื่อจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งได้ | computer virus | ไวรัสคอมพิวเตอร์หมายถึง โปรแกรมที่คนบ้า ๆ เขียนซ่อนไว้เพื่อทำลายโปรแกรม แฟ้มข้อมูลหรือ อุปกรณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติประการหนึ่ง คือ เกาะติดตามไปกับโปรแกรม หรือแฟ้มข้อมูลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แฟ้มข้อมูล command.com ทำให้มีการติดต่อระบาดไปในที่ต่างได้เหมือนเชื้อไวรัส สาเหตุของการติดไวรัส ก็คือมีการใช้จานบันทึกร่วมกัน ไวรัสเหล่านี้มักจะกำหนดมาให้เพิ่มความสามารถในการทำลายทุกครั้งที่เปิดเครื่อง หรือทุกครั้งที่ใช้โปรแกรมนั้น วิธีการป้องกันไวรัสในขั้นต้นก็คือ 1. อย่าใช้จานบันทึกของผู้อื่น หรือร่วมกับผู้อื่น2. ใช้โปรแกรมที่สามารถตรวจสอบและกำจัดไวรัสได้เป็นประจำ หรือทุกครั้งที่ใช้จานบันทึกในหน่วยบันทึก A: หรือ B: รวมทั้งจัดการใช้วัคซีนฉีดกันไว้ก่อน แม้ว่าในปัจจุบัน ไม่สู้จะได้ผลนัก เพราะมีไวรัสใหม่ ๆ เพิ่มมาทุกวัน (ดู vaccine) 3. จัดรูปแบบการบันทึกข้อมูล (format) ใหม่ วิธีนี้รับประกันได้ผลแน่นอน แต่ก็ต้องเข้าใจด้วยว่า ข้อมูลหรือโปรแกรมอื่นที่เก็บไว้แม้จะยังมิได้ติดไวรัสก็จะหายไปหมด พร้อมกับไวรัส | computer-aided instructio | ใช้ตัวย่อว่า CAI (อ่านว่า ซีเอไอ) หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ การสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง หรือเรียนได้เป็นรายบุคคล การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่า เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน แต่ไม่ใช่เป็นครูผู้สอนความหมายเดียวกับ computer assissted instruction | computer-assissted instru | ใช้ตัวย่อว่า CAI (อ่านว่า ซีเอไอ) หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง หรือเรียนได้เป็นรายบุคคล การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่า เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน แต่ไม่ใช่เป็นครูผู้สอนความหมายเดียวกับ computer aided instruction | config.sys | แฟ้มโครงแบบย่อมาจาก configuration system เป็นชื่อแฟ้มข้อมูลที่ใช้ในระบบดอสและโอเอสทูซึ่งจะมีข้อความที่กำหนดในเรื่องการใช้แป้นพิมพ์ จำนวนของบัฟเฟอร์ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ระบบนั้นจะใช้ ฯ พอเริ่มใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ไปสักพัก ก็จะต้องเรียนรู้วิธีการสร้างแฟ้มข้อมูลนี้ คอมพิวเตอร์จะแฟ้มข้อมูลนี้เฉพาะเมื่อมีการเริ่มเครื่องใหม่เท่านั้น | copy protection | การป้องกันการคัดลอกหมายถึง วิธีการป้องกันไม่ให้ผู้ใดสามารถคัดลอกได้ ผู้เขียนโปรแกรมมักพยายามทำทุกวิถีทางที่จะกันไม่ให้ผู้หนึ่งผู้ใด มาคัดลอกโปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลที่เขาสร้างขึ้นไว้ เช่นใช้อุปกรณ์ปิดกั้น หรือซ่อนแฟ้มข้อมูลบางแฟ้มไม่ให้มองเห็น อย่างไรก็ตาม เมื่อมีกฎหมายในเรื่องของลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ออกมาแล้ว ผู้ที่จะคัดลอกก็จะต้องระมัดระวังในเรื่องการคัดลอกนี้มากขึ้น | crop marks | เครื่องหมายสำหรับเจียน <คำแปล>โปรแกรมบางโปรแกรม โดยเฉพาะโปรแกรมจัดพิมพ์เอกสาร (desktop publishing) จะทำเครื่องหมายไว้ให้สำหรับตัดหรือเจียนกระดาษให้ได้ขนาดที่ต้องการ การสั่งพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์เลเซอร์นั้น มักต้องใช้กระดาษตามขนาดที่เครื่องพิมพ์กำหนดไว้ เช่น A4 B5 ฯ ในขณะที่เราต้องการให้หน้ากระดาษของเรามีขนาดพิเศษ โปรแกรมก็จะช่วยให้เราสามารถพิมพ์งานของเราออกมาบนกระดาษขนาดมาตรฐานนั้น แต่มีเครื่องหมายบอกตำแหน่งที่จะต้องเจียนออกไว้ให้ด้วย เครื่องหมายนี้ออกจะเป็นสากลสำหรับบุคคลในวงการพิมพ์ | data card | บัตรข้อมูลหมายถึงบัตรคอมพิวเตอร์ที่ใช้ เจาะเป็นรหัสแสดงถึงตัวอักขระต่าง ๆ อาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรืออักขระพิเศษ เพื่อให้คอมพิวเตอร์อ่านเข้าไปเก็บในหน่วยความจำ บัตรข้อมูลนั้น เราสามารถใช้ได้ทั้ง 80 คอลัมน์ของบัตร (แต่บัตรที่เป็นบัตรชุดคำสั่ง ที่เรียกว่า program card นั้น ใช้ได้เฉพาะคอลัมน์ 7 ถึง 70) เมื่อส่งเข้าประมวลผลในคอมพิวเตอร์ บัตรข้อมูลจะต้องส่งตามหลังบัตรชุดคำสั่งเสมอดู card code ประกอบ | data fork | ส่วนข้อมูลแฟ้มข้อมูลที่ใช้บนเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชทุก ๆ แฟ้มจะประกอบด้วยสองส่วน ส่วนที่หนึ่งนั้น เรียกว่า ส่วนข้อมูล (data fork) หมายถึงส่วนที่เป็นข้อมูลจริง ๆ ที่โปรแกรมนั้น ๆ จะต้องใช้ ส่วนที่สองเรียกว่า ส่วนทรัพยากร (resource fork) หมายถึงส่วนที่เป็นข้อคำสั่งต่าง ๆ ที่เรียกว่าโปรแกรม ซึ่งจะเป็นตัวทำงานให้ หรือไม่ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีไว้ เพื่อให้ใช้โปรแกรมนั้น ๆ ได้ครบถ้วน เช่น การกำหนดแบบอักษร (font) สัญรูป (icon) รายการเลือก (menu) เป็นต้น | defrag | นำ (แฟ้มข้อมูล) มาต่อกันในฮาร์ดดิสก์นั้น เมื่อมีการสั่งบันทึกข้อมูลลงไปแล้วมาสั่งลบภายหลัง จะทำให้มีที่ว่างเกิดขึ้นเป็นหย่อม ๆ ฉะนั้น เมื่อมีการนำแฟ้มข้อมูลใหม่บันทึกลงไป คอมพิวเตอร์ก็จะจัดการแบ่งข้อมูลใหม่นี้ให้ได้สัดส่วนพอดีกับช่องที่ว่างอยู่ก่อน ทำให้แฟ้มข้อมูลเดียวถูกเก็บเป็นหย่อม ๆ การเก็บแฟ้มข้อมูลในลักษณะนี้ เรียกว่า เป็นการกระจาย (fragmentation) โปรแกรมระบบดอสรุ่น 6.0 จึงมีคำสั่ง "defrag" ซึ่งจะช่วยจัดการนำแฟ้มข้อมูลเดียวกันมาเรียงให้ติดต่อกัน เพื่อให้การค้นคืนแฟ้มทำได้รวดเร็วขึ้น ในระบบวินโดว์ ก็จะต้องสั่งให้มีการนำแฟ้มมาต่อกันนี้เป็นครั้งคราวเสมอ | device driver | โปรแกรมขับอุปกรณ์หมายถึง โปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อใช้เป็นข้อกำหนดในการใช้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ เพื่อให้สามารถสั่งให้ทำงานด้วยคำสั่งที่ผ่านทางคอมพิวเตอร์ ได้ เช่น หากจะใช้เครื่องพิมพ์ยี่ห้ออะไรก็จะต้องติดตั้ง "driver" สำหรับเครื่องพิมพ์ยี่ห้อนั้นด้วย | digit punch | การเจาะตัวเลขหมายถึง การเจาะตัวเลขลงในบัตรคอมพิวเตอร์ โดยเจาะรูในช่องของแถวใดแถวหนึ่ง ตั้งแต่แถวที่ 0-9 โดยเจาะ 1 รูต่อ 1 คอลัมน์ เช่นถ้าจะเจาะเลข 7 ก็เจาะที่แถวที่มีเลข 7 ส่วนการเจาะตัวอักษรหรืออักขระพิเศษต่าง ๆ จะต้องเจาะ 2-3 รูในหนึ่งคอลัมน์ รูหนึ่งที่แถวบนเหนือแถวตัวเลข (zone punch) และอีกรูหนึ่งหรือสองรูที่แถวที่มีตัวเลข (digit punch) เรียกว่า รหัสฮอลเลอริทมีความหมายเหมือน numeric punchดู zone punch เปรียบเทียบ | drag and drop | ลากแล้วปล่อยลากไปวางหมายถึง การใช้เมาส์ลากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (ภาพหรือข้อความทั้งบล็อก) บนจอภาพ ไปวางไว้ยังตำแหน่งใหม่ โดยต้องกำหนด (select) ให้คอมพิวเตอร์รู้ก่อน แล้วจึงใช้เมาส์ลากไป การลากด้วยเมาส์นั้น จะต้องกดนิ้วชี้บนปุ่มซ้ายของเมาส์แช่ไว้ ในขณะที่ลากเมาส์เพื่อนำไปวางในที่ ๆ ต้องการ เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงจะยกนิ้วออกจากเมาส์ได้ ในโปรแกรมตารางจัดการ (spreadsheet) อาจลากไปได้ทั้งแถวหรือทั้งคอลัมน์ | dram | (ดีแรม) ย่อมาจาก dynamic random access memory (แปลว่าแรมแบบพลวัต) โดยปกตินั้น คอมพิวเตอร์จะใช้ชิป 2 แบบ คือ แบบดีแรม (DRAM) และ แบบ เอสแรม (SRAM) ชิปแบบดีแรม นี้จะมีราคาถูกกว่า เพราะว่าชิปแบบนี้นั้น คอมพิวเตอร์จะต้องนำเอาข้อมูลกลับไปไว้ ณ ที่เดิมเป็น ระยะ ๆ มิฉะนั้น อาจจะลืมได้ ดู RAM ประกอบ | drum | (ดรัม) { drummed, drumming, drums } n. กลอง, เสียงกลอง, เยื่อแก้วหู vt., vi. ตีกลอง, เคาะจังหวะ. ดรัม <คำอ่าน>หมายถึงสื่อเก็บข้อมูลชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นวัสดุรูปทรงกระบอกที่หมุนรอบแกนด้วยความเร็ว ที่ผิวนอกฉาบด้วยสารแม่เหล็ก การบันทึกข้อความลงเก็บ จะต้องบันทึกลงบนผิวดรัม ผ่านหัวบันทึก (write head) และอ่านข้อความออกโดยหัวอ่าน (read head) จึงเป็นได้ทั้งหน่วยรับข้อมูล (input) และหน่วยแสดงผล (output) มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล สูงกว่าเทปแม่เหล็ก (magnetic tape) แต่ยังช้ากว่าจานแม่เหล็ก (magnetic disk) โดยปกติจะต้องเรียกเต็ม ๆ ว่า magnetic drum |
| dutiable | (adj) ซึ่งจะต้องเสียอากร, ซึ่งต้องเสียภาษี | payable | (adj) ที่จะต้องจ่ายให้, ที่ต้องชำระ | shall | (va) จะ, จะต้อง, น่าจะ, ควรจะ, อยากจะ |
| be supposed to | (vt, phrase) สมควรที่จะต้อง, ควรที่จะ | firewire | FireWire คือชื่อเรียกของ apple หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า i-link คือชื่อเรียกของ Sony หรือที่เรียกว่า มาตรฐาน IEEE 1394 เป็นเทคโนโลยีสำหรับการส่งผ่านข้อมูลดิจิตอล ด้วยความเร็ว 400 และ 800 เมกะบิตต่อวินาที ส่งผลให้การติดต่อระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ฮาร์ดดิส ปริ้นเตอร์ สแกนเนอร์ กล้องดิจิตอลหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่มีช่อง FireWire ทำงานได้อย่างรวดเร็ว FireWire มีลักษณะการทำงานเหมือนหรือคล้ายกับ USB เพียงแต่ออกแบบมาให้เหมาะกับการใช้งานกับอุปกรณ์ทางด้านมัลติมีเดียมากกว่า เนื่องจาก USB เหมาะกับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับอินพุต เช่น เมาส์ คีย์บอร์ด ฯลฯ (USB มีความเร็วน้อยกว่า FireWire) นอกจากนี้ FireWire ยังสามารถต่อพ่วงอุปกรณ์ไแบบ Daisy Chain ได้ถึง 67 ชิ้น และสนับสนุนการทำงานแบบ Hot plug คือสามารถต่อแล้วใช้งานได้เลยทันที นอกจาก นี้ ยังสามารถส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ไปกำหนดการทำงานของกล้องวิดีโอได้ด้วย ซึ่งทำให้เราสามารถทำงานในขั้นตอนเดียวกันได้ เช่น การอัดภาพจากกล้องลงมาคอมพิวเตอร์ ก็เพียงแค่สั่งจากคอมพิวเตอร์ กล้องก็จะเริ่มต้นทำงาน พร้อมกับดึงภาพมาให้เองโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องไปกังวลว่าจะต้องไปสั่งเล่นจากกล้องแล้วมาสั่งอัดที่คอมพิวเตอร์ | table wine | (n) ไวน์(เหล้าองุ่น)ที่ใช้เสริฟบนโต๊ะอาหาร ตามมาตรฐานสหรัฐจะต้องมีแอลกอฮอลล์ไม่เกินกว่าร้อยละ 14 (คิดตามปริมาตร-Volume/Volume) แต่ตามมาตรฐานยุโรปอนุญาตให้มีแอลกอฮอลล์ระหว่างร้อยละ 8.5 ถึง 14 (คิดตามปริมาตร-V/V) รวมถึงจะต้องไม่มีฟองด้วย, See also: wine, Syn. light wine | Trabeculation | ของกระเพาะปัสสาวะเกิดจากสิ่งกีดขวางซ้ำในท่อปัสสาวะ เมื่อเกิดการอุดตัน, ผนังกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะจะต้องทำงานยากเกินไปที่จะย้ายปัสสาวะที่ผ่านการกีดขวาง. นี้นำไปสู่ความหนาของผนังกล้ามเนื้อและการสูญเสียความยืดหยุ่น. | ของป่า | (n) ผลิตผลธรรมชาติที่เกิดขึ้นในป่า , เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ควรจะต้องรักษาไว้, See also: ทรัพยากรธรรมชาติ | ทุกขอริยสัจ | [ทุก-อะ-ริ-ยะ-สัต] (n) ทุกขอริยสัจ คือความรู้สึกจากสภาพธรรมชาติ 3 อย่างของมนุษยชาติวิญญูชนคือรู้สึกว่าเกิดมาแล้วจะต้องแสวงหาปัจจัยเครื่องค้ำจุนให้มีชีวิตอยู่รอด รู้สึกร่างกายของตนจะต้องแก่เพื่อพัฒนาไปวัยต่าง ๆ ตามสภาพธรรมชาติ 3 อย่างคือเกิด แก่ และตายของมนุษยชาติ และรู้สึกว่าในที่สุดจะต้องตาย ซึ่งพุทธะศาสดาของศาสนาพุทธเรียกโดยย่อว่า อุปาทานขันธ์ 5 หรือตัวทุกข์หรือตัวปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษยชาติวิญญูชนที่อาศัยอยู่บนโลกใบนี้ทุก ๆ คนเหมือนกันเป็นตัวทุกข์ในอริยสัจ 4 เมื่อมนุษยชาติวิญญูชนใช้วิธีแก้ปัญหาแบบอริยสัจ 4 | ทุกขอริยสัจ | [ทุก-อะ-ริ-ยะ-สัต] (n) ทุกขอริยสัจ คือความรู้สึกจากสภาพธรรมชาติ 3 อย่างของมนุษยชาติวิญญูชนคือรู้สึกว่าเกิดมาแล้วจะต้องแสวงหาปัจจัยเครื่องค้ำจุนให้มีชีวิตอยู่รอด รู้สึกร่างกายของตนจะต้องแก่เพื่อพัฒนาไปวัยต่าง ๆ ตามสภาพธรรมชาติ 3 อย่างคือเกิด แก่ และตายของมนุษยชาติ และรู้สึกว่าในที่สุดจะต้องตาย ซึ่งพุทธะศาสดาของศาสนาพุทธเรียกโดยย่อว่า อุปาทานขันธ์ 5 หรือตัวทุกข์หรือตัวปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษยชาติวิญญูชนที่อาศัยอยู่บนโลกใบนี้ทุก ๆ คนเหมือนกันเป็นตัวทุกข์ในอริยสัจ 4 เมื่อมนุษยชาติวิญญูชนใช้วิธีแก้ปัญหาแบบอริยสัจ 4 | ทุกขอริยสัจ | [ทุก-อะ-ริ-ยะ-สัต] (n) ทุกขอริยสัจ คือความรู้สึกจากสภาพธรรมชาติ 3 อย่างของมนุษยชาติวิญญูชนคือรู้สึกว่าเกิดมาแล้วจะต้องแสวงหาปัจจัยเครื่องค้ำจุนให้มีชีวิตอยู่รอด รู้สึกร่างกายของตนจะต้องแก่เพื่อพัฒนาไปวัยต่าง ๆ ตามสภาพธรรมชาติ 3 อย่างคือเกิด แก่ และตายของมนุษยชาติ และรู้สึกว่าในที่สุดจะต้องตาย ซึ่งพุทธะศาสดาของศาสนาพุทธเรียกโดยย่อว่า อุปาทานขันธ์ 5 หรือตัวทุกข์หรือตัวปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษยชาติวิญญูชนที่อาศัยอยู่บนโลกใบนี้ทุก ๆ คนเหมือนกันเป็นตัวทุกข์ในอริยสัจ 4 เมื่อมนุษยชาติวิญญูชนใช้วิธีแก้ปัญหาแบบอริยสัจ 4 | ทุกขอริยสัจ | [ทุก-อะ-ริ-ยะ-สัต] (n) ทุกขอริยสัจ คือความรู้สึกจากสภาพธรรมชาติ 3 อย่างของมนุษยชาติวิญญูชนคือรู้สึกว่าเกิดมาแล้วจะต้องแสวงหาปัจจัยเครื่องค้ำจุนให้มีชีวิตอยู่รอด รู้สึกร่างกายของตนจะต้องแก่เพื่อพัฒนาไปวัยต่าง ๆ ตามสภาพธรรมชาติ 3 อย่างคือเกิด แก่ และตายของมนุษยชาติ และรู้สึกว่าในที่สุดจะต้องตาย ซึ่งพุทธะศาสดาของศาสนาพุทธเรียกโดยย่อว่า อุปาทานขันธ์ 5 หรือตัวทุกข์หรือตัวปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษยชาติวิญญูชนที่อาศัยอยู่บนโลกใบนี้ทุก ๆ คนเหมือนกันเป็นตัวทุกข์ในอริยสัจ 4 เมื่อมนุษยชาติวิญญูชนใช้วิธีแก้ปัญหาแบบอริยสัจ 4 |
| 考え物 | [かんがえもの, kangaemono] (n) แปลตรงๆ ว่า เป็นสิ่งที่ควรจะต้องพิจารณา. แต่โดยมากใช้ในการแนะนำผู้อื่นไม่ให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง | 進行方向 | [しんこうほうこう, shinkouhoukou] เป้าหมายที่จะก้าวไป จุดหมายที่เราจะก้าวไป ทิศทางที่จะต้องเดินหน้าไป |
| くれる | [くれる, kureru] TH: ให้(ผู้รับจะต้องเป็นผู้พูดหรือพวกเดียวกับผู้พูด) EN: to be given |
| Ich habe den Sprung ins kalte Wasser gewagt. | กล้าเสี่ยงที่จะทำอะไรบางอย่าง (แปลตามตรง ฉันกล้าที่จะกระโดดลงไปในน้ำเย็น ในที่นี้ไม่ใช้น้ำร้อนเพราะว่าถ้าโดดลงไปในน้ำร้อน เราก็จะพอเดาผลได้ คือตัวเราเองจะโดนต้มสุก แต่การกระโดดลงไปในน้ำเย็นนั้น เราไม่รู้ว่าเราจะหนาวจนตาย แข็งจนตาย หรือรอดชีวิตได้ เพราะในน้ำเย็นอาจจะต้องใช้เวลาก่อนที่เราจะแข็งเป็นน้ำแข็ง ดังนั้นในที่นี้จึงหมายความว่าเป็นการเสี่ยงในการทำอะไรบางอย่าง โดยที่ไม่รู้ผลลัพธ์ที่ตามมา) |
| mademoiselle | เป็นคำนำหน้าชื่อที่สุภาพของหญิงสาวรุ่นที่มีอายุน้อย คล้ายกับ นางสาว ที่ฝรั่งเศสใช้ทั้งในภาษาเขียนและพูด โดยเฉพาะตามร้านค้าและสถานที่ราชการ และส่วนใหญ่ตามด้วยนามสกุล เช่น Mademoiselle Chantel ในภาษาเขียน ย่อเป็น Mlle. Chantel (สังเกตว่า เมื่อใดก็ตาม mademoiselle ที่นำหน้าชื่อคน จะต้องเขียนขึ้นต้นด้วยตัวใหญ่), See also: madame, Ant. monsieur, Related: madame | monsieur | เป็นคำนำหน้าชื่อที่สุภาพของผู้ชาย คล้ายกับ นาย ที่ฝรั่งเศสใช้ทั้งในภาษาเขียนและพูด โดยเฉพาะตามร้านค้าและสถานที่ราชการ และส่วนใหญ่ตามด้วยนามสกุล เช่น Monsieur Allongue ในภาษาเขียน ย่อเป็น M. Allongue (สังเกตว่า เมื่อใดก็ตาม monsieur ที่นำหน้าชื่อคน จะต้องเขียนขึ้นต้นด้วยตัวใหญ่), Ant. madame, mademoiselle |
|
add this word
You know the meaning of this word? click [add this word] to add this word to our database with its meaning, to impart your knowledge for the general benefit
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |