Search result for

*ระบบเศรษฐกิจ*

   
Languages
Dictionaries languages






Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: ระบบเศรษฐกิจ, -ระบบเศรษฐกิจ-
Some results are hidden.
configure
Dictionaries languages






Chinese Phonetic Symbols


ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ [with local updates]
คอมมิวนิสต์น. ระบบเศรษฐกิจการเมืองและสังคมแบบหนึ่งของลัทธิสังคมนิยมที่มีอุดมการณ์ให้รวมทรัพย์สินทั้งปวงเป็นสมบัติส่วนกลางของชุมชน ไม่ให้มีกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล และให้จัดสรรรายได้แก่บุคคลอย่างเสมอภาคกัน ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาความทุกข์ยากของคนในสังคมอันเป็นผลจากความไม่เสมอภาคในทรัพย์สิน, ผู้ที่นิยมระบบคอมมิวนิสต์.
ทุนนิยมน. ระบบเศรษฐกิจที่ยอมให้บุคคลมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและทรัพยากรที่เป็นทุน มีเสรีภาพในการผลิตและการค้า.

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Centrally-planned economyระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลาง [เศรษฐศาสตร์]
Collective economyระบบเศรษฐกิจแบบกรรมสิทธิ์รวม [เศรษฐศาสตร์]
Economic systemระบบเศรษฐกิจ [เศรษฐศาสตร์]
Dual economyระบบเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์ [TU Subject Heading]
Open Economyระบบเศรษฐกิจเปิด, Example: ระบบเศรษฐกิจที่มีภาคเศรษฐกิจการค้าระหว่าง ประเทศขนาดใหญ่ เมื่อเปรียบเทียบกับระบบเศรษฐกิจโดยรวม ขนาดความเปิดของระบบเศรษฐกิจจะมากน้อยเพียงใด ขึ้นกับปริมาณการค้าระหว่างประเทศของประเทศนั้น หรือนโยบายของรัฐบาลในประเทศนั้น ผู้กำหนดนโยบายในประเทศ ที่มีระบบเศรษฐกิจแบบเปิดจะต้องพิจารณานโยบายของประเทศอื่นๆ ก่อนที่จะกำหนดหรือวางนโยบายใดๆ ในประเทศตน ประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบเปิดจะได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากประเทศอื่นๆ โดยผ่านมาทางประตูคู่ค้าได้ง่าย อาจจัดได้ว่าระบบเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันเป็นระบบเปิด เนื่องจากภาคเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศมีขนาดใหญ่ถึงร้อยละ 70 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ [สิ่งแวดล้อม]
Mixed Economyระบบเศรษฐกิจแบบผสม, Example: ระบบเศรษฐกิจที่มีทั้งลักษณะของระบบทุนนิยม และระบบสังคมนิยมในระบบเศรษฐกิจผสมทั้งรัฐบาล และเอกชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ในระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของโลกเสรีปัจจุบันจะมีทั้งกิจการ อุตสาหกรรมที่เป็นของรัฐและเอกชนในสัดส่วนแตกต่างกัน แม้แต่ในสหรัฐอเมริกาที่เป็นประเทศเสรีมากที่สุดก็ยังมีกิจการหลายประเภท ดำเนินการโดยรัฐ [สิ่งแวดล้อม]
Self-Sufficiency Economyระบบเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้, Example: ความสามารถของเมือง รัฐ ประเทศหรือภูมิภาคหนึ่งๆ ในการผลิตสินค้าและบริการทุกชนิดเพื่อเลี้ยงสังคมนั้นๆ ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาสินค้านำเข้า ข้อได้เปรียบสำคัญของ ระบบเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้คือ ไม่ต้องพึ่งพาสินค้าจำเป็นขั้นพื้นฐานจากประเทศอื่นที่อาจมีราคาแพงเกินไป เมื่อเกิดวิกฤตน้ำมันขึ้นราคาครั้งใหญ่ใน พ.ศ. 2516 ได้กระตุ้นให้มีการค้นหาและผลิตน้ำมันปิโตรเลียมในสหรัฐอเมิรกาและประเทศ ต่างๆ เพื่อให้พึ่งพาตนเองในด้านพลังงานและเชื้อเพลิงได้ ข้อเสียสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบนี้ คือ กระตุ้นให้มีการปกป้องผู้ผลิตในประเทศที่ด้อยประสิทธิภาพ [สิ่งแวดล้อม]
Dual Economyระบบเศรษฐกิจที่มีสองลักษณะ, Example: ระบบเศรษฐกิจของประเทศหนึ่งๆ ซึ่งประกอบด้วยภาคที่เจริญก้าวหน้าและร่ำรวยอย่างมาก กับอีกภาคหนึ่งซึ่งยังล้าหลังยากจนไม่ได้รับการพัฒนา ศัพท์คำนี้ได้นำมาใช้เรียกระบบเศรษฐกิจของประเทศอาณานิคม ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอบเป็นครั้งแรก และได้ใช้กับระบบเศรษฐกิจในลักษณะคล้ายกันของประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ในระยะต่อมา [สิ่งแวดล้อม]
Closed Economyระบบเศรษฐกิจปิด, Example: ระบบเศรษฐกิจของประเทศที่ไม่มีการค้าขาย กับต่างประเทศหรือไม่มีการส่งออกหรือการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ซึ่งตามความหมายนี้ไม่มีประเทศใดในโลกปัจจุบันที่ไม่มีการค้าขายกับต่าง ประเทศ มีเพียงประเทศที่สัดส่วนการค้าระหว่างประเทศมีน้อย ประเทศในปัจจุบัน ที่มีลักษณะเข้าใกล้ระบบเศรษฐกิจปิดมากที่สุด เช่น สหภาพพม่า [สิ่งแวดล้อม]
Centrally-Planned Economyระบบเศรษฐกิจวางแผนจากส่วนกลาง, Example: ระบบเศรษฐกิจที่หน่วยงานรัฐบาลกลางเป็นผู้ ตัดสินใจ ในการวางแผนบริหารและประเมินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมด โดยมีสมมติฐานว่าการกระทำเช่นนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับประเทศ ระบบเศรษฐกิจแบบนี้ ประชาชนจะไม่มีกรรมสิทธิ์เด็ดขาดในทรัพย์สิน กรรมสิทธิ์ในทรัพยากรและปัจจัยการผลิตที่สำคัญๆ ของประเทศจึงเป็นของส่วนกลาง โดยรัฐบาลเป็นผู้แทนในการดำเนินการหาผลประโยชน์จากทรัพยากรเหล่านั้นและมา เฉลี่ยเป็นสวัสดิการตอบแทนให้แก่ประชาชน เช่น รัฐบาลกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาชนเวียดนาม เป็นต้น ปัจจุบัยประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจที่วางแผนจากส่วกลางเหล่านี้ ได้ยอมให้ประชาชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ในบางเรื่อง [สิ่งแวดล้อม]
Bangkok Declaration : Global Dialogue and Dynamic Engagementปฏิญญากรุงเทพ : การหารือและการมีส่วนร่วมอย่างมีพลวัตของประชาคมโลก " หนึ่งในสองของเอกสารผลการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ที่แสดงฉันทามติของประเทศสมาชิกอังค์ถัด 190 ประเทศ เกี่ยวกับผลกระทบของกระแสโลกาภิวัตน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งแสดงเจตนารมณ์ร่วมทางการเมืองของประเทศสมาชิกอังค์ถัดที่จะร่วมมือ กันดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศเพื่อทำให้สมาชิกทั้งหมด โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ได้รับประโยชน์จากกระบวนการโลกาภิวัตน์ในด้านการค้า การเงิน การลงทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม อีกทั้งเพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจโลก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบของกระบวนการโลกาภิวัตน์ได้ แม้ปฏิญญากรุงเทพจะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่ก็เป็นเอกสารที่มีผลผูกพันทางการเมือง เป็นสัญญาประชาคมที่ทุกประเทศสมาชิกอังค์ถัดมีพันธะที่จะต้องปฏิบัติตามแนว นโยบายที่ได้ร่วมกันแถลงไว้ในเอกสารดังกล่าว และเอกสารนี้สามารถใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการเจรจาหารือระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศในเรื่องของการเงิน การค้า การลงทุน และการพัฒนาได้ " [การทูต]
Subcommittee on Neighbouring Countries Economic Development Cooperationคณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับ ประเทศเพื่อนบ้าน มติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2546 ให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (อพบ.) ซึ่งคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้มีคำสั่งที่ 4 / 2547 เมื่อ 6 พฤษภาคม 2547 จัดตั้ง อพบ. แล้ว โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐและเอกชนเป็นอนุกรรมการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกับกรมเศรษฐกิจระหว่าง ประเทศ กระทรวงการต่างประเทศเป็นอนุกรรมการและฝ่ายเลขานุการ อพบ. มีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองเสนอแนะนโยบาย แผนงานและโครงการตามแผนงานการจัดระบบเศรษฐกิจตามแนวชายแดนและการพัฒนาความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งครอบคลุมการดำเนินงาน ACMECS ด้วย ทั้งนี้ ในส่วนของ ACMECS มีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทำหน้าที่เป็นหน่วย งานหลักในการประสานกับหน่วยงานภายในของไทยให้ดำเนินงานเป็นไปตามแผนปฏิบัติ การ และกระทรวงการต่างประเทศทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการประสานกับประเทศ สมาชิก ACMECS [การทูต]
Economic Subsystemระบบเศรษฐกิจ [การแพทย์]

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
ระบบเศรษฐกิจ[rabop sētthakit] (n, exp) EN: economic system  FR: système économique [ m ]

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
economic system(n) ระบบเศรษฐกิจ
feudalism(n) ระบบศักดินา, See also: ระบบเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมในยุโรปช่วงศตวรรษที่ 5 ถึง ศตวรรษที่ 15
mixed economy(n) ระบบเศรษฐกิจแบบผสมผสานระหว่างกิจการของรัฐและเอกชน

add this word


You know the meaning of this word? click [add this word] to add this word to our database with its meaning, to impart your knowledge for the general benefit


Are you satisfied with the result?



Discussions

About our ads
We know you don’t love ads. But we need ads to keep Longdo Dictionary FREE for users. Thanks for your understanding! Click here to find out more.
Go to Top