ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ | น. ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ นอกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน. |
กกุธภัณฑ์ | (กะกุดทะ-) น. สัญลักษณ์สำคัญแห่งความเป็นพระมหากษัตริย์ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกรชัยพฤกษ์ ๔. วาลวีชนี (พัดกับแส้) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่าเบญจราชกกุธภัณฑ์ ทั้งนี้ บางสมัยใช้เครื่องราชกกุธภัณฑ์แตกต่างกัน เช่น ใช้ฉัตรแทนพระมหาพิชัยมงกุฎ.(ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า
ของใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง.วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัดใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็นแส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่าวาลวีชนี หมายความเป็นแส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาลของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี). |
กรรภิรมย์ | (กัน-) น. ฉัตร ๕ ชั้นและ ๗ ชั้น สำรับหนึ่งมี ๓ องค์ คือ พระเสมาธิปัต พระฉัตรชัย พระเกาวพ่ายหรือพระเกาวพ่าห์ ทำด้วยผ้าขาวลงยันต์เส้นเขียนทอง เป็นเครื่องสูงอันเป็นสิริมงคลยิ่งสำหรับพระมหากษัตริย์ ใช้กางเชิญนำพระราชยานเวลาเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราใหญ่ และใช้เข้าพิธีคชกรรมนำช้างสำคัญขึ้นจากแพเข้าสู่โรงสมโภช หรือใช้ผูกเสาพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีใหญ่, เขียนเป็น กรรม์ภิรมย์ กันภิรมย์ หรือ กันพิรุณ ก็มี. |
กรุณา | ใช้ร่วมกับคำ พระ เป็นสรรพนามสำหรับพระมหากษัตริย์ เช่น กราบบังคมทูลพระกรุณา. |
กำนัล ๒ | น. หญิงชาววัง มีหน้าที่รับใช้พระมหากษัตริย์ เรียกว่า นางกำนัล. |
ของหลวง | น. ของของสถาบันพระมหากษัตริย์, ของที่เป็นของแผ่นดินหรือรัฐ. |
ขันหมาก ๒ | น. เรียกพานใส่หมากพลูซึ่งเป็นเครื่องราชูปโภคของพระมหากษัตริย์ ว่า พานพระขันหมาก. (ดู พานพระขันหมาก). |
ข้าหลวง ๑ | น. คนที่ถวายตัวเป็นข้าของพระมหากษัตริย์หรือเจ้านาย, คนรับใช้ของพระมหากษัตริย์หรือเจ้านาย ปัจจุบันมีเฉพาะผู้หญิง เรียกว่า คุณข้าหลวง. |
ข้าพระพุทธเจ้า | (ข้าพฺระพุดทะเจ้า) ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด กราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์ หรือกราบบังคมทูล กราบทูลเจ้านายชั้นสูง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
คณะรัฐมนตรี | น. คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน. |
คณะองคมนตรี | น. คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัยจากผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วยประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกินจำนวนที่รัฐธรรมนูญกำหนด มีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราช-กรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ. |
คานหาม | น. ที่นั่งที่มีคานสำหรับหาม, ถ้าใช้สำหรับเจ้านาย เรียกว่า แคร่คานหาม, เรียกสั้น ๆ ว่า แคร่ ก็มี, ถ้าใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ เรียกว่า พระราชยานคานหาม. |
เครื่องต้น | น. เครื่องทรงสำหรับพระมหากษัตริย์ในพระราชพิธี เช่น พระราชพิธีบรม-ราชาภิเษก, เรียกเต็มว่า ฉลองพระองค์เครื่องต้น, เครื่องทรงสำหรับพระพุทธรูป ซึ่งมีลักษณะอย่างเครื่องทรงพระเจ้าจักรพรรดิ เช่น พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ วัดหน้าพระเมรุราชิการาม |
เครื่องต้น | ของใช้ของเสวยสำหรับพระมหากษัตริย์. |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ | น. สิ่งซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและบำเหน็จความชอบ เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือโปรดให้สร้างขึ้นสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการหรือส่วนพระองค์, เรียกเป็นสามัญว่า ตรา, ปัจจุบันหมายความรวมถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน และเหรียญที่ระลึกที่พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในโอกาสต่าง ๆ และที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามที่ทางราชการกำหนด. |
เงินจันทรภิม | น. เงินที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่โหรผู้ทำนายจันทรุปราคาได้ถูกต้อง เช่น เมื่อจันทรุปราคได้เงีนจันทรภิม (สามดวง). |
จตุลังคบาท | (-ลังคะบาด) น. พลประจำ ๔ เท้าช้าง, สำหรับช้างทรงของพระมหากษัตริย์หรือพระมหาอุปราชในเวลาสงคราม มีเจ้ากรมพระตำรวจหลวงหรือข้าราชการ เช่น พระมหามนตรี พระมหาเทพ หลวงอินทรเทพ หลวงพิเรนทรเทพ ประจำ ๔ เท้าช้าง เช่น จตุลังคบาทสี่ตน ล้วนขุนพลสามรรถ (ตะเลงพ่าย), จัตุลังคบาท หรือ แวงจตุลังคบาท ก็ว่า. |
จันทรภิม | น. เรียกเงินที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่โหรผู้ทำนายจันทรุปราคาได้ถูกต้อง ว่า เงินจันทรภิม เช่น เมื่อจันทรุปราคได้เงีนจันทรภิม (สามดวง). |
เจ้า ๑ | เชื้อสายของพระมหากษัตริย์นับตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป และผู้ได้รับสถาปนาอิสริยยศขึ้นเป็นเจ้า, บางแห่งหมายถึงกษัตริย์ก็มี เช่น เจ้ากรุงจีน |
เจ้าจอม | น. ตำแหน่งภรรยาของพระมหากษัตริย์ ซึ่งไม่มีพระราชโอรสพระราชธิดา |
เจ้าจอมมารดา | น. ตำแหน่งภรรยาของพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีพระราชโอรสพระราชธิดา |
เจ้าจอมมารดา | คำเรียกเจ้าขรัวยายของสมเด็จเจ้าฟ้า แต่มิได้เป็นเจ้าจอมมารดาในพระมหากษัตริย์. |
เจ้านาย | น. เชื้อสายของพระมหากษัตริย์นับตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป และผู้ได้รับสถาปนาอิสริยยศขึ้นเป็นเจ้า, เจ้า ก็เรียก |
เจ้าพ่อหลวง | น. คำที่ชาวไทยภูเขาใช้เรียกพระมหากษัตริย์. |
เจ้าฟ้า | น. สกุลยศของพระราชโอรสหรือพระราช-ธิดาที่ประสูติแต่พระมเหสี หรือประสูติแต่พระมารดาที่เป็นพระราชธิดาหรือพระราชนัดดาของพระมหากษัตริย์, สกุลยศของพระราชนัดดาของพระมหากษัตริย์ที่ทั้งพระบิดาและพระมารดาเป็นเจ้าฟ้า |
ฉนวน ๑ | (ฉะหฺนวน) น. ทางเดินซึ่งมีเครื่องกำบัง ๒ ข้าง สำหรับพระมหากษัตริย์หรือเจ้านายฝ่ายในเสด็จขึ้นลงหรือเข้าออก. |
ฉลองพระบาท | น. รองเท้าของพระมหากษัตริย์. |
ชาติ ๒, ชาติ- ๒ | (ชาด, ชาดติ-) น. ประเทศ เช่น รู้คุณชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ |
ชุมสาย | เรียกพระที่นั่งที่มีลักษณะเป็นแท่นสี่เหลี่ยม มีเสา ๔ ต้น หลังคาคาดด้วยผ้าขาว มีระบาย ๓ ชั้น คลุมด้วยตาข่าย มีพู่ห้อยที่ระบายชั้นล่าง ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ประทับในงานพระราชพิธีต่าง ๆ ว่า พระที่นั่งชุมสาย พระที่นั่งนี้สามารถถอดเก็บและเคลื่อนย้ายไปประกอบได้ใหม่เมื่อต้องการ. |
ฎีกา | คำร้องทุกข์ที่ราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระมหากษัตริย์ |
ดำรัส | (-หฺรัด) น. คำพูดของพระพุทธเจ้า ใช้ว่า พระพุทธดำรัส, คำพูดของเจ้านาย ใช้ว่า พระดำรัส, คำพูดของพระมหากษัตริย์ ใช้ว่า พระราชดำรัส. |
ดิ่ง | วัตถุมงคล สำหรับห้อยสายลูกประคำ มีลักษณะกลมเป็นพู ๆ โดยรอบคล้ายลูกมะยมซ้อนเรียงกัน ๓ ลูก จากลูกใหญ่ลงไปหาลูกเล็ก พระมหากษัตริย์ทรงใช้ เรียกว่า พระดิ่ง และอาจพระราชทานแก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีความดีความชอบ. |
โดยเสด็จ | ก. ติดตามพระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศ์ ซึ่งผู้ติดตามเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ |
โดยเสด็จ | ติดตามพระมหากษัตริย์ ซึ่งผู้ติดตามเป็นพระบรมวงศานุวงศ์หรือสามัญชน, ใช้ว่า ตามเสด็จ ก็มี. |
ตามเสด็จ | ก. ติดตามพระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศ์ ซึ่งผู้ติดตามเป็นสามัญชน |
ตามเสด็จ | ติดตามพระมหากษัตริย์ ซึ่งผู้ติดตามเป็นพระบรมวงศานุวงศ์หรือสามัญชน, ใช้ว่า โดยเสด็จ ก็มี เช่น พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการตามเสด็จไปในกระบวนเสด็จพระราชดำเนินยังไทรโยค. |
ตาลปัตรบังเพลิง | (-เพฺลิง) น. ตาลปัตรที่มีลักษณะเช่นเดียวกับพัดยศของพระสงฆ์ชั้นราชาคณะ ตรงกลางเว้นช่องว่างไว้ใส่ตะเกียงหรือโคมไฟ ปักตั้งรายรอบพระเมรุชั้นพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ชั้นสูง มีรูปเทวดานั่งคุกเข่าประคองโคนด้ามตาลปัตร, ตาลิปัตรบังเพลิง ก็เรียก. |
ตำรวจหลวง | น. ข้าราชการในพระองค์ แต่งเครื่องแบบ สวมเสื้อนอก คอปิด กระดุม ๕ เม็ด นุ่งผ้าม่วงสีน้ำเงิน (หากแต่งเครื่องเต็มยศนุ่งผ้าม่วงเชิงมีลายดิ้นเงิน สวมเสื้อนอกคอตั้งสีม่วงเทา) สะพายกระบี่ สวมหมวกทรงประพาส มีหน้าที่รักษาพระองค์พระมหากษัตริย์และพระราชินี ณ ที่ประทับ และนำเสด็จเป็นชุดตามพระเกียรติยศในงานพระราชพิธีและพิธีด้วย เดิมเรียกว่า พระตำรวจหลวง. |
ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้แก่พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. |
ถวาย | ให้, มอบให้, (ใช้แก่สมเด็จเจ้าฟ้าลงมาจนถึงหม่อมเจ้า), ให้สิ่งที่เป็นนามธรรมแก่พระมหากษัตริย์และเจ้านาย เช่น ถวายพระพร ถวายชีวิต. |
ถวายงาน | ก. ปฏิบัติงานรับใช้พระมหากษัตริย์ เช่น ถวายงานพัด ถวายงานนวด. |
ถวายบังคม | ก. แสดงความเคารพพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี และพระบรมราชวงศ์ชั้นสูง ตามประเพณีไทย. |
ทรงเครื่องใหญ่, ทรงพระเครื่องใหญ่ | ก. ตัดผม (ใช้แก่พระมหากษัตริย์). |
ทรงประพาส | น. ชื่อฉลองพระองค์ของพระมหากษัตริย์ คอกลม ไม่มีแขน รัดรูป เอวสั้น มีจีบที่ชายเอวทั้ง ๒ ข้าง ใช้สวมทับฉลองพระองค์พระกรน้อย, ชื่อเสื้อยศผู้ว่าราชการเมืองครั้งก่อน |
ทรัพย์สินส่วนพระองค์ | น. ทรัพย์สินที่เป็นของพระมหากษัตริย์อยู่แล้วก่อนเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ หรือทรัพย์สินที่รัฐทูลเกล้าฯ ถวาย หรือทรัพย์สินที่ทรงได้มาไม่ว่าในทางใดและเวลาใด นอกจากที่ทรงได้มาในฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ รวมทั้งดอกผลที่เกิดจากบรรดาทรัพย์สินเช่นว่านั้นด้วย. |
ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน | น. ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ซึ่งใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่า พระราชวัง. |
ทวย ๒ | วัตถุอย่างหนึ่งเป็นคันสำหรับรองส่งเครื่องราชูปโภค เช่นขันใส่เงินทรงโปรยหรือพระสุพรรณศรีถวายพระมหากษัตริย์จากเบื้องตํ่าสู่ที่ประทับ เรียกว่า พระทวย. |
ท้องพระคลัง | น. สถานที่เก็บพระราชทรัพย์หรือสิ่งของอันมีค่าอื่น ๆ ของพระมหากษัตริย์. |
ท้องพระโรง | น. ห้องโถงขนาดใหญ่ในพระที่นั่ง สำหรับพระมหากษัตริย์เสด็จออกว่าราชการ ออกมหาสมาคม รับแขกเมือง, ห้องโถงซึ่งต่อออกมาจากตำหนักเจ้านายที่เป็นพระราชโอรสที่ทรงกรม และทรงเป็นผู้ปฏิบัติพระกรณียกิจอันสำคัญยิ่ง ใช้สำหรับเสด็จออกให้เฝ้าหรือว่าราชการ. |
ทักษิณานุปทาน, ทักษิณานุประทาน | น. การที่พระมหากษัตริย์ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทรงพระราชอุทิศถวายเจ้านายที่มีศักดิ์สูงซึ่งเสด็จล่วงลับไปแล้ว. |