กล่าว | (v) deliver a speech, See also: make a speech, Syn. กล่าวสุนทรพจน์, Example: อธิการกล่าวคำอวยพรแก่นักเรียนทุกคนเมื่อเช้านี้ |
กล่าว | (v) say, See also: tell, speak, talk, Syn. พูด, บอก, แจ้ง, Example: ฝ่ายบริหารกล่าวว่าทางบริษัทจะพิจารณาเรื่องการขึ้นเงินเดือนภายในอาทิตย์นี้ |
กล่าวหา | (v) accuse, See also: charge, Syn. ฟ้อง, กล่าวโทษ, Ant. ยกฟ้อง, Example: ตำรวจกล่าวหาว่าเขาฉ้อฉลลูกค้าโดยการปลอมปนสินค้า, Thai Definition: แจ้งว่าผู้อื่นได้กระทำความผิด |
คำกล่าว | (n) saying, See also: hearsay, speaking, speech, remarks, words, utterance, Syn. คำพูด, คำบอกเล่า, Example: ปัญหาของเด็กในวัยรุ่นยังพอมีทางปรับปรุงแก้ไขได้เข้าทำนองคำกล่าวที่ว่า ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก นี่เอง, Count Unit: คำ |
กล่าวขาน | (v) be well-known, See also: be renowned, Syn. โจษขาน, Example: ญี่ปุ่นนับเป็นประเทศที่ถูกกล่าวขานอย่างมากว่ามีสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุอย่างดีเยี่ยม |
กล่าวคือ | (conj) that is to say, See also: in other words, that is, Syn. อีกนัยหนึ่ง, Example: ท่านสังฆราชแห่งมณฑลภาคตะวันออกได้รับตำแหน่งพระราชาคณะ กล่าวคือท่านต้องทำหน้าที่นี้ตลอด 4 ปีข้างหน้า |
กล่าวตอบ | (v) answer, See also: reply, respond, Syn. ตอบ, Example: ฉันกล่าวตอบปฏิเสธความช่วยเหลือจากเขา |
กล่าวถึง | (v) mention, See also: talk about, speak of, refer to, Syn. กล่าวขวัญ, พูดถึง, เอ่ยถึง, Example: นักการเมืองกล่าวถึงการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอยู่เสมอ |
กล่าวย้ำ | (v) restate, See also: emphasize, Syn. ย้ำ, Example: จิตแพทย์และนักจิตวิทยาต่างก็กล่าวย้ำว่าสาเหตุการกระทำผิดของผู้ป่วยโรคจิตที่สำคัญได้แก่ความขัดแย้งทางจิตที่อยู่ในจิตใจของผู้ป่วย, Thai Definition: กล่าวซ้ำเพื่อต้องการเน้น |
กล่าวโต้ | (v) retort, See also: reply, answer, respond, counter, Syn. โต้, ตอบกลับ, โต้ตอบ, Example: เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ออกมากล่าวโต้ข้อกล่าวหาและชี้แจงข้อเท็จจริง |
กล่าวโทษ | (v) accuse, See also: charge, allege, blame, impeach, Syn. กล่าวหา, Example: คนปกติธรรมดามีจำนวนไม่น้อยทีเดียวที่ชอบกล่าวโทษคนอื่น, Thai Definition: แจ้งว่ากระทำผิด |
ดังกล่าว | (det) aforementioned, See also: as above, as stated, as mentioned above, aforesaid, Syn. ดังที่กล่าวมาแล้ว, Example: ภาพเขียนดังกล่าวไม่น่าเป็นกิจกรรมของมนุษย์ยุคหินกลาง, Thai Definition: ที่ได้กล่าวถึงมาก่อนหน้านี้แล้ว |
บอกกล่าว | (v) notify, See also: apprise, inform, announce to, Syn. บอก, แจ้ง, Example: ก่อนอื่นต้องขอบอกกล่าวกันว่าหนังสือเล่มนี้มิใช่เรื่องที่เขียนขึ้นเองโดยที่ไม่ได้รู้ข้อเท็จจริง, Thai Definition: บอกให้ผู้อื่นเป็นพยานรับรู้ไว้ |
ว่ากล่าว | (v) reprove, See also: rebuke, reprimand, censure, admonish, condemn, reproach, scold, Syn. ติเตียน, ติ, ว่าขาน, Ant. ชมเชย, Example: เด็กพวกนี้ถูกพ่อแม่ว่ากล่าวเป็นประจำเพราะมีปัญหาเรื่องความประพฤติ, Thai Definition: พูดให้เห็นข้อบกพร่อง |
กล่าวขวัญ | (v) mention, See also: talk about, speak of, refer to, Syn. เอ่ยถึง, พูดถึง, กล่าวถึง, Example: พนักงานหลายคนกล่าวขวัญถึงคนที่จะมาทำงานแทนตำแหน่งข้าพเจ้า, Thai Definition: พูดออกชื่อและการกระทำของคนอื่น |
กล่าวลอยๆ | (v) say nonspecifically, See also: say groundlessly, Syn. พูดลอยๆ, Example: การจะกล่าวหาว่าผู้ใดทุจริตคอรัปชั่นจะต้องมีหลักฐานมิใช่กล่าวลอยๆ, Thai Definition: พูดโดยไม่มีหลักฐาน หรือไม่มีเหตุผลมาสนับสนุนให้น่าเชื่อถือ |
กล่าวสรุป | (v) sum up, See also: summarize, put in a nutshell, recapitulate, Syn. สรุป, Example: อาจารย์กล่าวสรุปเนื้อหาบทเรียนให้นักเรียนเพื่อเป็นการทบทวนก่อนสอบ |
กล่าวอ้าง | (v) cite, See also: quote, adduce, allude to, mention, Syn. อ้าง, อ้างถึง, Example: ทหารมักชอบกล่าวอ้างถึงความมั่นคงของประเทศชาติเป็นเงื่อนไขในการกำจัดสิทธิเสรีภาพทางการเมืองของประชาชน |
กล่าวเท็จ | (v) lie, See also: tell a lie, Syn. พูดปด, โกหก, Example: เขากล่าวเท็จต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ |
คำกล่าวนำ | (n) introduction, Syn. บทกล่าวนำ, Thai Definition: คำพูดนำขึ้นก่อนเนื้อหาหรือรายละเอียดอื่นๆ |
คำกล่าวหา | (n) charge, See also: accusation, complaint, Example: เขายืนคอแข็งเพราะคำกล่าวหาของเธอเป็นความจริง |
กล่าวเตือน | (v) warn, See also: advice, caution, tip off, admonish, Syn. เตือน, ตักเตือน, Example: ผมกล่าวเตือนเขาแล้วแต่เขาไม่ยักเชื่อผม, Thai Definition: บอกให้รู้ล่วงหน้า, ทำให้รู้ตัว, ทำให้รู้สำนึก, ทักไม่ให้ลืม |
กล่าวโจมตี | (v) attack verbally, See also: assault, strike, verbally, criticize, Syn. จวก, สับ, Example: นายประมวลออกมากล่าวโจมตีรัฐมนตรีคลังเรื่องดอกเบี้ย, Thai Definition: กล่าวถึงความไม่ดีหรือความผิดของผู้อื่นอย่างรุนแรง |
การกล่าวหา | (n) accusation, See also: charging, Example: รัฐบาลนี้จะเจรจาโดยไม่ติดใจหรือมีการกล่าวหาในใจว่าที่ผ่านมามีการตุกติกอะไรบ้าง, Thai Definition: การแจ้งต่อผู้มีอำนาจหน้าที่หรือสาธารณชนว่าผู้อื่นได้กระทำความผิด |
ข้อกล่าวหา | (n) indictment, See also: allegation, accusation, charge, Example: ผู้ต้องหาปฏิเสธข้อกล่าวหาทุกประการ, Count Unit: ประการ, ข้อ |
การบอกกล่าว | (n) giving information, See also: notification, telling, advising, informing, Syn. การบอก, การแจ้ง, การแจ้งให้ทราบ, Ant. การรับฟัง, การฟัง, การสดับ, การสดับรับฟัง, Example: โปรแกรมควรที่จะมีการบอกกล่าวให้กับผู้ใช้ได้ทราบด้วยว่ามันได้ทำอะไรให้กับผู้ใช้ไปบ้าง, Thai Definition: การร้องบอกให้ผู้อื่นเป็นพยานรับรู้ไว้ |
คำกล่าวขวัญ | (n) mention, See also: acknowledgment, citation, recognition, Syn. คำกล่าวขาน, Example: คุณคงเคยได้ยินคำกล่าวขวัญถึงเขาในแง่ที่ไม่ค่อยดีมาเท่าไหร่, Thai Definition: คำพูดถึงหรือพูดออกชื่อและการกระทำของคนอื่น |
คำกล่าวอ้าง | (n) allusion, See also: reference, Example: สิ่งที่เขาพูดมาเป็นคำกล่าวอ้างที่ยกมาสนับสนุนพรรคพวกของตัวเองทั้งสิ้น, Thai Definition: คำอ้างถึงหรือระบุถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นหลัก |
การกล่าวขวัญ | (n) speaking about, See also: mentioning to, referring to, talking about, Syn. การพูด, Example: บุคคลที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงเสมอเมื่อกล่าวถึงเรื่องกลอน คือสุนทรภู่, Thai Definition: การพูดออกชื่อและการกระทำของคนอื่น |
การกล่าวอ้าง | (n) quotation, See also: cite, Example: ีมีการกล่าวอ้างกันอย่างกว้างขวางว่าวิชัยเป็นผู้ลักลอบค้าไม้เถื่อน |
ข้อกล่าวอ้าง | (n) excuse, See also: defence, Example: คุณสมบัติที่ไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อมเป็นการสร้างจุดขายอย่างหนึ่งที่ผู้บริโภคจะต้องตรวจสอบข้อกล่าวอ้างนั้น |
กล่าวเกินจริง | (v) exaggerate, Syn. พูดเกินจริง, Ant. กล่าวตามจริง, Example: ฉันไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด |
บนบานศาลกล่าว | (v) vow, See also: pray, take an oath, Syn. บนบาน, บน, Example: ครอบครัวของเขาต่างบนบานศาลกล่าวไปทั่วเพื่อให้เขาหายจากโรคร้าย, Thai Definition: ขอร้องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยโดยให้คำมั่นว่าจะให้สิ่งของตอบแทนหรือทำตามที่ให้สัญญาไว้เมื่อเป็นผลสำเร็จ, Notes: (สำ) |
กล่าวสุนทรพจน์ | (v) deliver a speech, See also: make a speech, Example: ท่านรองนายกรัฐมนตรีได้ให้เกียรติกล่าวสุนทรพจน์ในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย |
ดังกล่าวข้างต้น | (pron) abovementioned, Syn. ดังกล่าว, Example: หน่วยงานของเราสามารถรับบทบาทได้เป็นอย่างดี ตามสภาพความพร้อมด้านต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น |
กล่าวอีกนัยหนึ่ง | (adv) in other words, Syn. อีกนัยหนึ่ง, Example: เขาคิดทำปลายปีกให้ดัดงอนขึ้นหรืองุ้มลงได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือทำให้มุมปะทะที่ปลายปีกทั้งสองต่างกันได้ |
การบนบานศาลกล่าว | (n) vow, See also: oath, prayer, pledge, promise, Syn. การบน, Example: ศาลเจ้าแห่งนี้มีชาวบ้านไปกราบไหว้บูชาสักการะตลอดเวลาโดยเฉพาะมีการบนบานศาลกล่าวเป็นประจำ, Thai Definition: การขอร้องให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ |
ที่กล่าวมาข้างต้น | (adj) above-mentioned, Example: บุคคลที่กล่าวมาข้างต้นถือเป็นคนสนิทของนายสุขวิชทั้งสิ้น |
ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว | (adv) as above-mentioned, Example: เครื่องอัดชนิดนี้มีประสิทธิภาพเกินตัวดังที่ได้กล่าวมาแล้ว |
กระหวัดเกล้า | น. ชื่อท่ารำแบบหนึ่ง โดยมือข้างหนึ่งจีบหงาย งอข้อศอก หักข้อมือเข้าหาแง่ศีรษะ มืออีกข้างหนึ่งตั้งวงกลาง เอียงศีรษะข้างเดียวกับมือที่ตั้งวง. |
กล้วยกล้าย | ดู กล้าย. |
กล่า | (กฺล่า) ก. ควัก, แขวะ, แหวะ, เช่น อีกกรบอกหววมึงกูจะผ่า กูจะกล่าเอาขวนนหววมึงออกแล (ม. คำหลวง ชูชก). |
กล้า ๑ | (กฺล้า) น. ต้นข้าวอ่อนที่เพาะจากข้าวเปลือกสำหรับย้ายไปปลูกที่อื่น, โดยอนุโลมเรียกพืชที่เพาะไว้สำหรับย้ายไปปลูกในที่อื่น ว่า กล้า เช่น กล้าพริก กล้ามะเขือ. |
กล้า ๒ | (กฺล้า) ก. ไม่กลัว, ไม่ครั่นคร้าม. |
กล้า ๒ | (กฺล้า) ว. แข็ง เช่น เหล็กกล้า, แรง เช่น เวทนากล้า แดดกล้า. |
กล้าได้กล้าเสีย | ว. ใจป้ำ, ใจเป็นนักเลง, ไม่กลัวขาดทุน. |
กล้านักมักบิ่น | ว. กล้าเกินไปมักจะเป็นอันตราย. |
กล้าม | (กฺล้าม) น. มัดเนื้อที่รวมกันเป็นก้อน ๆ ในกายคนและสัตว์ เรียกว่า กล้ามเนื้อ |
กล้าม | เนื้อมะพร้าวห้าว. |
กล้าย | (กฺล้าย) น. ชื่อกล้วยลูกผสมพันธุ์หนึ่งในสกุล Musa วงศ์ Musaceae ผลใหญ่โค้ง เป็นเหลี่ยมและยาวกว่ากล้วยหอม เปลือกหนา เนื้อเหนียว ไส้แข็งสีส้ม รสหวาน นิยมกินเมื่อทำให้สุกแล้ว, กล้วยกล้าย ก็เรียก. |
กล่าว | (กฺล่าว) ก. บอก, แจ้ง, พูด, เช่น กล่าวคำเท็จ |
กล่าว | แสดง เช่น กล่าวเกลาอรรถเอมอร (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์) |
กล่าว | ขับร้อง เช่น จะกล่าวกลอนแก้ไข (อิเหนา) |
กล่าว | สู่ขอ เช่น ถึงจรกามากล่าวนางไว้ (อิเหนา) |
กล่าว | แต่งงาน เช่น ฝรั่งกล่าวแหม่ม. (ประเพณีของชาวคริสเตียน), คำนี้ใช้เป็นปรกติในภาษาเขียน แต่ใช้เป็นภาษาพูดก็มีในบางลักษณะ เช่น กล่าวสุนทรพจน์. |
กล่าวเกลี้ยง | ก. พูดเพราะ เช่น กล่าวเกลี้ยงไมตรีชวนชัก (เสือโค). |
กล่าวขวัญ | ก. พูดถึง, พูดออกชื่อและการกระทำของคนอื่น. |
กล่าวขาน | ก. เล่ากันมา เช่น ผู้คนกล่าวขานเรื่องกล้วยออกปลีที่โคนต้น. |
กล่าวถาม | ก. สู่ขอ เช่น ในขันหมากท่านให้เอาขันหมากตั้งไหม ขันหมากกล่าวถามนั้น ๑๑ ขัน (สามดวง). |
กล่าวโทษ | ก. แจ้งว่ากระทำผิด. |
กล่าวบท | ก. เล่าเรื่อง เช่น มาจะกล่าวบทไป. |
กล่าวร้าย | ก. พูดถึงในเชิงร้าย, ให้ร้าย. |
กล่าวหา | ก. ฟ้อง, กล่าวโทษ. |
กล่าวโอม | ก. สู่ขอ. |
เกล้า | (เกฺล้า) น. หัว (ใช้เฉพาะในโวหารแสดงความเคารพอย่างสูง) เช่น มารดาบังเกิดเกล้า. |
เกล้า | (เกฺล้า) ก. มุ่นผมให้เรียบร้อย เช่น เกล้าจุก เกล้ามวย. |
เกล้ากระผม | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้ใหญ่ด้วยความเคารพมากหรือกับพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์, พูดสั้น ๆ ว่า เกล้า หรือเขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
เกล้ากระหม่อม | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย กราบทูลพระอนุวงศ์ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม พระวรวงศ์เธอที่ทรงกรม และสมเด็จพระสังฆราช, ถ้าผู้พูดเป็นเพศหญิงใช้ว่า เกล้ากระหม่อมฉัน, เขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
แก่กล้า | ก. เข้มแข็ง, ยวดยิ่ง, เช่น ศรัทธาแก่กล้า. |
ขนพองสยองเกล้า | น. ขนและผมตั้งชันขึ้นเพราะรู้สึกสยดสยองมากเป็นต้น. |
ข้าวกล้า | น. ต้นข้าวอ่อนที่เพาะจากข้าวเปลือกสำหรับย้ายไปปลูกที่อื่น, กล้า ก็เรียก. |
แข็งกล้า | ว. กล้ายิ่งนัก. |
คำกล่าวโทษ | น. การที่บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ว่ามีบุคคลรู้ตัวหรือไม่ก็ดี ได้กระทำความผิดอย่างหนึ่งขึ้น. |
คำบอกกล่าว | น. ข้อความที่บุคคลฝ่ายหนึ่งแจ้งเป็นหนังสือ หรือแจ้งด้วยวาจา ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง แสดงเจตนาที่จะใช้สิทธิ สงวนสิทธิ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คำบอกกล่าวสนองในการทำสัญญา คำบอกกล่าวเลิกสัญญา คำบอกกล่าวว่าจะบังคับจำนอง. |
จนด้วยเกล้า | ก. หมดปัญญาคิด. |
จระกล้าย | (จะระ-) ก. วางเฉย, อยู่เฉย, ไม่รู้สึกยินดียินร้าย, โบราณเขียนเป็น จรกล้าย ก็มี เช่น เออาศนไอสูรยเสีย จรกล้าย (ยวนพ่าย), แล้วก็น่งงเยียม่งง ช่งงอยู่จรกล้าย ว่าเถ้าร้ายฤๅจะรู้กล (ม. คำหลวง กุมาร). |
จุลจอมเกล้า | (จุนละ-) น. ชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. |
ตกกล้า | ก. เพาะข้าวปลูกลงในแปลงเพาะกล้าสำหรับนาดำ. |
ตากล้า | น. พื้นดินที่มีคันดินล้อมแปลงโดยรอบ ๔ ด้าน สำหรับตกกล้า, ตาตกกล้า ก็ว่า. |
ตาตกกล้า | น. ตากล้า. |
ทกล้า, ทแกล้ว | (ทะกฺล้า, ทะแกฺล้ว) น. ผู้กล้า. |
ทราบเกล้าทราบกระหม่อม | ก. รู้ (ใช้กราบทูลเจ้านายตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป), เขียนย่อว่า ทราบเกล้าฯ. |
ทำนาออมกล้า ทำปลาออมเกลือ | ก. ทำการสิ่งใดถ้ากลัวหมดเปลืองย่อมไม่ได้ผลสมบูรณ์. |
ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย | ก. ถวาย (ใช้แก่สิ่งของเล็กหรือของที่ยกได้ที่ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี), เขียนว่า ทูลเกล้าฯ ถวาย ก็ได้ แต่ต้องอ่านว่า ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย. |
น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย | ก. ถวาย (ใช้แก่สิ่งของใหญ่หรือของที่ยกขึ้นให้ไม่ได้ที่ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี), เขียนว่า น้อมเกล้าฯ ถวาย ก็ได้ แต่ต้องอ่านว่า น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย. |
บนบานศาลกล่าว | ก. ขอร้องให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ. |
บอกกล่าว | ก. ร้องบอกให้ผู้อื่นเป็นพยานรับรู้ไว้. |
ปลูกเรือนพอตัว หวีหัวพอเกล้า | ก. ทำสิ่งใด ๆ ให้พอสมควรกับฐานะของตน, ปลูกเรือนแต่พอตัว หวีหัวแต่พอเกล้า ก็ว่า. |
ปวดเศียรเวียนเกล้า | ก. เดือดร้อนรำคาญใจเพราะมีเรื่องยุ่งยากมากจนแก้ไม่ทัน. |
pretence, false | การหลอกลวง, การกล่าวอ้างที่เป็นเท็จ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
lower lip | ริมฝีปากล่าง [สัทศาสตร์ ๘ มี.ค. ๒๕๔๕] |
lower sum | ผลบวกล่าง [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗] |
laying an information | การฟ้องกล่าวหา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
repetition | การกล่าวซ้ำ [วรรณกรรม ๖ มี.ค. ๒๕๔๕] |
reasonable notice | คำบอกกล่าวที่ให้เวลาพอสมควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
recrimination | การฟ้องกล่าวโทษกลับ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
spontaneous declaration | คำกล่าวโดยไม่ทันคิด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
slander | การกล่าวหมิ่นประมาท [ ดู defamation ประกอบ ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
slander of goods | การกล่าวร้ายต่อสินค้า [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
slander of title | การกล่าวร้ายต่อกรรมสิทธิ์ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
stop notice | คำบอกกล่าวระงับ (การจดทะเบียนโอนหุ้น) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
set up | ยกขึ้นกล่าวอ้าง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
strut | ท่อนยึดปีกนกล่าง [ยานยนต์ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
order, call to | การกล่าวเปิดประชุม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
adversary procedure | วิธีพิจารณาระบบกล่าวหา [ ดู accusatorial procedure ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
acquittal | การตัดสินปล่อยตัวจำเลย (ให้พ้นจากข้อกล่าวหา) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
accusation | การกล่าวหา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
accusation | ข้อกล่าวหาทางอาญา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
accusatorial procedure | วิธีพิจารณาระบบกล่าวหา [ ดู adversary procedure ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
admonition | การว่ากล่าวตักเตือน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
arraignment | การฟ้องกล่าวโทษ, การนำตัวขึ้นศาล [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
admonition | การตำหนิ, การว่ากล่าวตักเตือน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
advocate | ๑. ทนายความ๒. กล่าวสนับสนุน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
allegation | ข้อกล่าวหา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
allegation | ข้ออ้าง, ข้อกล่าวหา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
alleged offence | ความผิดที่กล่าวหา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
justification | การให้เหตุผลว่าชอบด้วยกฎหมาย, การกล่าวอ้างที่มีเหตุผล [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
justification | การให้เหตุผลว่าชอบด้วยกฎหมาย, การกล่าวอ้างที่มีเหตุผลสมควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
joinder of charges | การรวมข้อกล่าวหา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
quit, notice to | ๑. หนังสือบอกกล่าวให้ออกจากสถานที่๒. หนังสือบอกกล่าวว่าจะออกจากสถานที่ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
quotation | ๑. รายการขานราคา๒. ข้อกล่าวอ้าง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
bottom-up design | การออกแบบจากล่างขึ้นบน [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
baseline | ๑. เส้นหลักล่าง๒. เส้นเชื่อมฐาน [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
malicious accusation | การกล่าวหาโดยเจตนาร้าย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
call to order | การกล่าวเปิดประชุม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
charge | ๑. ข้อกล่าวหา๒. ภาระติดพัน๓. ภาระหน้าที่ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
charge | ๑. ข้อกล่าวหา (ป. วิ. อาญา)๒. ภาระติดพัน (ก. แพ่ง)๓. ภาระหน้าที่ (ก. ปกครอง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
calumniator | ผู้ฟ้องเท็จ, ผู้กล่าวหาเท็จ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
delator | ผู้กล่าวหา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
denunciation | ๑. การกล่าวโทษ (ป. วิ. อาญา)๒. การบอกเลิกสนธิสัญญา (ก. ระหว่างประเทศ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
give notice | บอกกล่าว [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
gravamen | สาระสำคัญ (ของคำร้องทุกข์, คำกล่าวโทษ, คำฟ้อง ฯลฯ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
false pretence | การหลอกลวง, การกล่าวอ้างที่เป็นเท็จ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
ferret, tax | นักล่าผู้หนีภาษี (เพื่อสินบนนำจับ) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
ei qui affirmat non ei qui negat incumbit probatio (L.) | หน้าที่นำสืบเป็นของผู้กล่าวอ้างไม่ใช่ของผู้ปฏิเสธ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
immaterial averment | คำกล่าวอ้างที่ไม่เป็นสาระ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
incrimination | การกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
incriminate | กล่าวโทษ, ทำให้ต้องรับโทษทางอาญา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
imputation of incompetence; incompetence, imputation of | การกล่าวหาว่าไม่มีความสามารถ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
ถวายพระพรลา | กระทำภายหลังจากที่พระสงฆ์สวดบท ภวตุ สพฺพมงฺคลํ เสร็จเรียบร้อยแล้ว พระสงฆ์รูปที่ ๒ จะต้องเป็นผู้กล่าวถวายพระพรลา ซึ่งมีข้อความดังต่อไปนี้ คือ "ขอถวายพระพร เจริญพระราชสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล พระชนมสุขทุกประการ จงมีแด่สมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภาร พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ เวลานี้สมควรแล้ว อาตมภาพทั้งปวง ขอถวายพระพรลา แด่สมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภาร พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ขอถวายพระพร" [ศัพท์พระราชพิธี] |
Thermoluminescence | เทอร์โมลูมิเนสเซนซ์, ปรากฏการณ์การเปล่งแสงของสารบางชนิดเมื่อได้รับความร้อน นำมาประยุกต์ใช้วัดปริมาณรังสีที่สารนั้นดูดกลืนไว้ เช่น การวัดปริมาณรังสีด้วยทีแอลดี การหาอายุโบราณวัตถุและโบราณสถาน เทอร์โมลูมิเนสเซนซ์เกิดเมื่อสารได้รับรังสีและดูดกลืนพลังงานจากรังสีไว้ ทำให้อิเล็กตรอนส่วนหนึ่งหลุดออกมา และบางส่วนจะถูกจับไว้ในผลึกที่มีโครงสร้างไม่สมบูรณ์ ซึ่งเมื่อนำมากระตุ้นด้วยความร้อน อิเล็กตรอนดังกล่าวจะถูกปลดปล่อยออกมาพร้อมทั้งคายพลังงานในรูปของแสง ตัวอย่างสารเทอร์โมลูมิเนสเซนซ์ในธรรมชาติ เช่น แร่แคลไซต์ แร่โดโลไมต์ หินฟันม้า หินเขี้ยวหนุมาน เพทาย และสารที่สังเคราะห์ขึ้น เช่น แคลเซียมฟลูออไรด์ (ดู thermoluminescence dating ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Security | การป้องกัน, มาตรการป้องกันการสูญหาย การลักขโมยวัสดุนิวเคลียร์ หรือวัสดุกัมมันตรังสี รวมถึงการขนย้ายและการเข้าถึงวัสดุดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาต (ดู physical protection ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Radiopharmaceutics | สารเภสัชรังสี, เภสัชภัณฑ์รังสี, ผลิตภัณฑ์ยาที่อยู่ในรูปของสารประกอบหรือสารประกอบเชิงซ้อนที่มีสารกัมมันตรังสีเกาะอยู่ในโมเลกุล ซึ่งผลิตขึ้นตามมาตรฐานสากลเภสัชรังสี ใช้ตรวจวินิจฉัยหรือบำบัดรักษา การให้สารเภสัชรังสีแก่ผู้ป่วยกระทำโดยการฉีดหรือกิน เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วสารเภสัชรังสีดังกล่าวจะไปกระจายตัวอยู่ในอวัยวะที่ต้องการตรวจหรือรักษา (target organ) โดยแสดงพยาธิสภาพตามความผิดปกติที่เกิดขึ้นในอวัยวะนั้นๆ สารเภสัชรังสีที่ใช้ในปัจจุบัน เช่น <br><sup>99m</sup>Tc-MDP ใช้ตรวจกระดูก</br> <br><sup>99m</sup>Tc-MAA ใช้ตรวจปอด</br> <br><sup>99m</sup>Tc-MIBI ใช้ตรวจกล้ามเนื้อหัวใจ, tumor ทรวงอก</br> <br><sup>99m</sup>Tc-DISIDA ใช้ตรวจตับและระบบท่อน้ำดี</br> <br><sup>99m</sup>Tc-BROMIDA ใช้ตรวจตับและระบบท่อน้ำดี</br> <br><sup>99m</sup>Tc-HMPAO ใช้ตรวจสมอง</br> <br><sup>99m</sup>Tc-DTPA ใช้ตรวจสมองและไต</br> <br><sup>99m</sup>Tc-MAG3 ใช้ตรวจไต</br> <br><sup>131</sup>I-Hippuran ใช้ตรวจไต</br> <br><sup>131</sup>I-MIBG ใช้ตรวจต่อมหมวกไต</br> <br>Na13<sup>1</sup>I ใช้ตรวจและรักษาโรคไทรอยด์</br> <br><sup>153</sup>Sm-EDTMP ใช้บรรเทาความเจ็บปวดของผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งกระดูก [นิวเคลียร์] |
Radiopharmaceuticals | สารเภสัชรังสี, เภสัชภัณฑ์รังสี, ผลิตภัณฑ์ยาที่อยู่ในรูปของสารประกอบหรือสารประกอบเชิงซ้อนที่มีสารกัมมันตรังสีเกาะอยู่ในโมเลกุล ซึ่งผลิตขึ้นตามมาตรฐานสากลเภสัชรังสี ใช้ตรวจวินิจฉัยหรือบำบัดรักษา การให้สารเภสัชรังสีแก่ผู้ป่วยกระทำโดยการฉีดหรือกิน เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วสารเภสัชรังสีดังกล่าวจะไปกระจายตัวอยู่ในอวัยวะที่ต้องการตรวจหรือรักษา (target organ) โดยแสดงพยาธิสภาพตามความผิดปกติที่เกิดขึ้นในอวัยวะนั้นๆ สารเภสัชรังสีที่ใช้ในปัจจุบัน เช่น <br><sup>99m</sup>Tc-MDP ใช้ตรวจกระดูก</br> <br><sup>99m</sup>Tc-MAA ใช้ตรวจปอด</br> <br><sup>99m</sup>Tc-MIBI ใช้ตรวจกล้ามเนื้อหัวใจ, tumor ทรวงอก</br> <br><sup>99m</sup>Tc-DISIDA ใช้ตรวจตับและระบบท่อน้ำดี</br> <br><sup>99m</sup>Tc-BROMIDA ใช้ตรวจตับและระบบท่อน้ำดี</br> <br><sup>99m</sup>Tc-HMPAO ใช้ตรวจสมอง</br> <br><sup>99m</sup>Tc-DTPA ใช้ตรวจสมองและไต</br> <br><sup>99m</sup>Tc-MAG3 ใช้ตรวจไต</br> <br><sup>131</sup>I-Hippuran ใช้ตรวจไต</br> <br><sup>131</sup>I-MIBG ใช้ตรวจต่อมหมวกไต</br> <br>Na13<sup>1</sup>I ใช้ตรวจและรักษาโรคไทรอยด์</br> <br><sup>153</sup>Sm-EDTMP ใช้บรรเทาความเจ็บปวดของผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งกระดูก [นิวเคลียร์] |
Radiation worker | ผู้ปฏิบัติงานรังสี, ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานในบริเวณรังสีชนิดก่อไอออน เช่น ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี ผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี ผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีอาจรวมถึงผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติงานด้านเทคนิค แต่มีความจำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริเวณรังสีหรือรังสีดังกล่าวเป็นประจำ ทำให้มีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าประชาชนทั่วไป เช่น พนักงานทำความสะอาด พนักงานขับรถขนส่งสารกัมมันตรังสี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ป้องกันอันตรายจากรังสีจะกำหนดให้บุคคลใดเป็นผู้ปฏิบัติงานทางรังสีตามกฎระเบียบ หรือแล้วแต่กรณี</br> <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีดังกล่าวข้างต้น ย่อมมีโอกาสได้รับรังสีจากการปฏิบัติงานเป็นปริมาณแตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี หรือผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี จะมีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ</br> [นิวเคลียร์] |
Nuclear material | วัสดุนิวเคลียร์, วัสดุเฟอร์ไทล์ พลูโทเนียมที่มีพลูโทเนียม-238 น้อยกว่าร้อยละ 80 ยูเรเนียม-233 ยูเรเนียมเสริมสมรรถนะ ยูเรเนียมที่มีส่วนผสมของไอโซโทปต่างไปจากที่ปรากฏอยู่ตามธรรมชาติ ที่ไม่ใช่แร่หรือกากแร่ และวัสดุใดๆ ที่เป็นส่วนผสมวัสดุดังกล่าวข้างต้น, Example: [นิวเคลียร์] |
Naturally occurring radionuclides | นิวไคลด์กัมมันตรังสีตามธรรมชาติ, นิวไคลด์กัมมันตรังสีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติบนพื้นโลกในปริมาณที่มีนัยสำคัญ (significant quantities) โดยทั่วไปหมายถึงนิวไคลด์กัมมันตรังสีเกิดพร้อมโลก ซึ่งได้แก่ โพแทสเซียม-40 ยูเรเนียม-235 ยูเรเนียม-238 ทอเรียม-232 และผลผลิตการสลายกัมมันตรังสีของนิวไคลด์ดังกล่าว นอกจากนี้ยังรวมถึงทริเทียมและคาร์บอน-14 ซึ่งเกิดจากกระบวนการเชิงก่อกัมมันตภาพรังสีตามธรรมชาติด้วย, Example: [นิวเคลียร์] |
Mutagenesis | กระบวนการกลายพันธุ์, กระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อสารพันธุกรรม หรือ ดีเอ็นเอ ของเซลล์สิ่งมีชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เซลล์นั้นหรือเซลล์ที่เกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์ดังกล่าวมีรูปร่างลักษณะหรือพฤติกรรมต่างไปจากเดิม กระบวนการนี้อาจเกิดขึ้นเอง หรือเกิดจากการเหนี่ยวนำโดยสิ่งก่อกลายพันธุ์ ถ้าเกิดที่เซลล์สืบพันธุ์ จะมีการส่งผ่านหรือถ่ายทอดลักษณะผิดปกติไปยังรุ่นถัดไป แต่ถ้าเกิดที่เซลล์ร่างกาย การกลายจะจำกัดเฉพาะที่เนื้อเยื่อส่วนนั้น [นิวเคลียร์] |
ฟิสิกส์ | วิทยาศาสตร์กายภาพแขนงหนึ่งซึ่งกล่าวถึงสมบัติทางกายภาพของสารต่างๆ และพลังงาน, Example: คำที่มักเขียนผิด คือ ฟิสิก [คำที่มักเขียนผิด] |
Augmentative and Alternative Communication Program | ซอฟต์แวร์ช่วยในการสื่อสารสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการพูด, ซอฟต์แวร์ช่วยในการสื่อสารสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการพูด โดยใช้รูปภาพหรือข้อความเป็นรูปแทนการสื่อความหมาย เมื่อเลือกรูปแทนแล้ว โปรแกรมจะเล่นเสียงที่บันทึกไว้ของรูปแทนดังกล่าวออกมา โปรแกรมชนิดนี้พัฒนาขึ้นในประเทศไทย ชื่อ "ปราศรัย" ทำหน้าที่เป็นเสมือนกล่องที่บรรจุเสียงพูดที่ใช้ในการสนทนาไว้อย่างไม่จำกัดจำนวน โดยจัดเก็บเสียงเป็นแฟ้มเสียงไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ [Assistive Technology] |
็Halt trade | หลักทรัพย์ดังกล่าวอยู่ระหว่างถูกห้ามซื้อขาย, Example: เครื่องหมายนี้ย่อมาจาก halt trade ตลาดหลักทรัพย์ติดเครื่องหมายนี้ไว้บนหลักทรัพย์เพื่อแสดงให้ผู้ลงทุนทราบว่า หลักทรัพย์ดังกล่าวอยู่ระหว่างถูกห้ามซื้อขายสำหรับช่วงเวลาการซื้อขายรอบนั้น ตลาดหลักทรัพย์จะขึ้นเครื่องหมาย H แก่หลักทรัพย์ที่ปรากฏว่า มีเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นกับบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์นั้นในระหว่างเวลาซื้อขายรอบดังกล่าว และอยู่ระหว่างรอการเปิดเผยข้อมูล ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดเผยได้ทันที [ตลาดทุน] |
Suspension | เครื่องหมายที่ตลาดหลักทรัพย์ติดบนหลักทรัพย์เพื่อแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบว่าหลักทรัพย์ดังกล่าวอยู่ในระหว่างถูกห้ามซื้อขายชั่วคราว, Example: ย่อมาจาก suspension เป็นเครื่องหมายที่ตลาดหลักทรัพย์ติดบนหลักทรัพย์เพื่อแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบว่าหลักทรัพย์ดังกล่าวอยู่ในระหว่างถูกห้ามซื้อขายชั่วคราว ตลาดหลักทรัพย์จะสั่งห้ามการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทใดเป็นการชั่วคราวเมื่อ 1. บริษัทนั้นฝ่าฝืนหรือละเลยไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ 2. ปรากฏข่าวสารหรือข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินหรือผลการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งมีผลกระทบ หรืออาจมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ของบริษัทอย่างรุนแรง โดยที่ข่าวสารนั้นยังไม่ได้เปิดเผยต่อ สาธารณชนผ่านตลาดหลักทรัพย์ หรืออยู่ระหว่างที่ตลาดหลักทรัพย์กำลังรอการเปิดเผยข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่สอบถามไป หรือกำ ลังรอการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเพราะรายงานที่ได้รับยังไม่ครบถ้วนชัดเจนเพียงพอ 3. บริษัทขอให้ตลาดหลักทรัพย์สั่งพักการซื้อขายหุ้นของบริษัทเนื่องจากมีข่าวหรือข้อมูลสำคัญที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ซึ่งอาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ที่อยู่บน special board (กระดานพิเศษ) ซึ่งเป็นส่วนของระบบ ARMS ที่ใช้วิธีซื้อขายแบบ Put Through เพื่อรองรับการซื้อขายตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรหุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ เป็นต้น ทั้งนี้แต่ละรายการซื้อขายจะต้องต่ำกว่า 1 ล้านหุ้น หรือมีมูลค่าต่ำกว่า 3 ล้านบาท(การซื้อขายตราสาร หนี้จำนวนมากดังกล่าวหรือมากกว่า จะต้องกระทำบน Big-Lot Board) การซื้อขายบนกระดานนี้ไม่นำเรื่อง Floor Price และ Ceiling Price มาใช้บังคับ [ตลาดทุน] |
ประณาม | กล่าวร้ายให้เขาเสียหาย, Example: คำที่มักเขียนผิด คือ ประนาม [คำที่มักเขียนผิด] |
Adversary system (Law) | ระบบกล่าวหา (กฎหมาย) [TU Subject Heading] |
Informed consent (Medical law) | ความยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าว (กฎหมายการแพทย์) [TU Subject Heading] |
Neurosurigical procedures | ศัลยกรรมประสาท, ศัลยกรรมประสาท ใช้กับงานที่กล่างถึงวิธีหรือขั้นตอนของการดำเนินการผ่าตัดระบบประสาท หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบ เป็นหัวเรื่องทางการแพทย์ที่ใช้ได้กับหัวเรื่องย่อยเฉพาะด้านในกลุ่ม E4 ยกเว้นบางคำที่ระบุคำสั่งห้ามใช้ [TU Subject Heading] |
Notice (Law) | หนังสือบอกกล่าว (กฎหมาย) [TU Subject Heading] |
Petition of right | สิทธิในการกล่าวโทษ [TU Subject Heading] |
Accession | การภาคยานุวัติ คือการที่รัฐหนึ่งเข้าไปเป็นภาคีสนธิสัญญา ซึ่งรัฐอื่น ๆ ได้วินิจฉัยตกลงก่อนแล้วและสนธิสัญญานั้นได้มีผลใช้บังคับก่อนแล้วด้วย บางที่ใช้คำ ?accession? ซึ่งตรงกับคำในภาษาฝรั่งเศสว่า ?adhésion? รัฐจะเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาไม่ได้ นอกจากว่าในสนธิสัญญานั้นมีบทบัญญัติยอมให้รัฐอื่นเข้ามาเป็นภาคีด้วยได้ เช่น มาตรา 4 ของกฎบัตรแห่งสหประชาชาติบัญญัติไว้ว่า?(1) สมาชิกภาพในสหประชาชาติ เปิดรับบรรดารัฐอื่นๆ ทั้งหลายที่ยอมรับพันธกรณีที่ระบุไว้ในกฎบัตรปัจจุบันและองค์การสหประชาชาติ พิจารณาวินิจฉัยแล้วว่า รัฐนั้น ๆ สามารถและเต็มใจที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีเหล่านั้น??(2) การรับรัฐใดๆ ดังกล่าวเข้าเป็นสมาชิกในสหประชาชาติจะเป็นผลสำเร็จก็ต่อเมื่อสมัชชาสหประชา ชาติได้ลงมติรับรองตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง? คือ เอกสิทธิ์ทางการทูตในการที่จะได้มีถิ่นพำนัก [การทูต] |
Agreement | การที่รัฐที่ผู้จะไปประจำตำแหน่งในรัฐนั้นได้ตกลง เห็นชอบกับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอชื่อให้เป็นผู้แทนทางการทูต อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้ บัญญัติไว้ว่า1. รัฐผู้ส่งไม่จำเป็นต้องทำให้เป็นที่แน่นอนว่า รัฐผู้รับได้ให้ความเห็นชอบแล้ว สำหรับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอจะแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไปยังรัฐนั้น2. รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องให้เหตุผลแก่รัฐผู้ส่งในการปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตซึ่งรอการถวายสารตราตั้งจะต้องเริ่มดำเนิน การเพื่อเดินทางไปยังรัฐผู้รับในเรื่องนี้ มีตัวอย่างไม่น้อยที่รัฐผู้รับปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบด้วยเหตุผลบางอย่าง นับตั้งแต่อ้างว่า การเสนอชื่อผู้รับการแต่งตั้งได้กระทำกะทันหันเกินไป และมิได้แจ้งข้อเท็จจริงมาก่อน หรือว่าผู้ที่ได้รับการเสนอให้เป็นผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเคยกล่าวตำหนิ วิพากษ์รัฐผู้รับ หรือผู้รับการเสนอชื่อมมีภรรยาเป็นชาวยิว หรือผู้รับการเสนอชื่อถือศาสนาโรมันคาทอลิก หรือผู้นั้นเคยปฏิบัติไม่ดีต่อชนชาติของรัฐผู้รับ หรือผู้นั้นในขณะนั้นกำลังอยู่ในระหว่างถูกฟ้องร้อง ถูกกล่าวหาว่าฉ้อโกง เป็นต้นกล่าวโดยย่อ agr?ment คือ การให้ความเห็นชอบของรัฐผู้รับ แก่บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อจากรัฐผู้ส่งให้เป็นผู้แทนทางการทูตนั่นเอง [การทูต] |
ASEAN Investment Area | เขตการลงทุนอาเซียน จัดตั้งขึ้นตามกรอบความตกลงว่าด้วยเขตลงทุนอาเซียน ที่ลงนามเมื่อ ปี พ.ศ. 2541 เพื่อส่งเสริมให้มีภาวะการลงทุนที่โปร่งใสและเสรีในอาเซียนในอันที่จะดึงดูด การลงทุนจากภายในและภายนอกภูมิภาค โดยให้ประเทศสมาชิกเปิดให้มีการลงทุนทางอุตสาหกรรม และให้มี การประติบัติเยี่ยงคนชาติแก่นักลงทุนอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2553 และแก่นักลงทุนทั่วไปภายในปี พ.ศ. 2563 โดยครอบคลุมการลงทุนโดยตรง ทั้งหมดในสาขาอุตสาหกรรมการผลิต เกษตร ประมง ป่าไม้ และเหมืองแร่ รวมทั้งการบริการที่เกี่ยวเนื่องกับสาขาการผลิตดังกล่าว ยกเว้นการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ [การทูต] |
Aide-memoire หรือ Memoire | แปลตามตัวอักษรว่า ช่วยความจำ เป็นหนังสือโต้ตอบทางการทูตประเภทหนึ่ง คือ บันทึกสังเขปของการเจรจาที่ได้กระทำกันเสร็จสิ้นแล้ว บันทึกช่วยจำเช่นนี้ไม่มีการกล่าวนำเป็นทางการและไม่มีการลงชื่อ ซึ่งจะมอบให้แก่กันเมื่อเสร็จการเจรจากันแล้ว ความมุ่งหมายของบันทึกนี้คือ เพื่อบันทึกข้อเท็จจริงไว้เป็นหลักฐานซึ่งผู้รับบันทึกทราบดีแล้วบันทึกช่วย จำก็คือ บันทึกสรุปการสนทนาทางการทูตอย่างไม่เป็นทางการ ระหว่างผู้แทนหรือพนักงานทางการทูตกับหัวหน้าหรือพนักงานของกระทรวงการต่าง ประเทศ จุดประสงค์ตามที่ชื่อบ่งอยู่แล้วว่า เป็นการสรุปประเด็นต่าง ๆ ในการสนทนาเพื่อเตือนความจำนั้นเอง ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ทางการทูตจะมอบบันทึกนี้ไว้กับกระทรวงการต่างประเทศ ในบันทึกนั้นบรรทัดแรกจะระบุว่าใครเป็นผู้ส่งและใครเป็นผู้รับบันทึก ผู้ส่งบันทึกจะต้องลงชื่อย่อกำกับบันทึกไว้ด้วยบันทึกช่วยจำอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า pro memoria โดยปกติภาษาที่ใช้ใน pro memoria จะมีลักษณะถ้อยคำเป็นทางการมากกว่า aide-memoire [การทูต] |
Amendments to the Charter of the United Nations | การแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติ กฎบัตรของสหประชาชาตินั้น เปิดโอกาสให้มีการแก้ไขได้โดยสมัชชาสหประชาชาติหรือโดยที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ของสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งอาจจะประชุมกัน ณ วันเวลาและสถานที่ตามแต่จะมีการตกลงกัน โดยคะแนนเสียง 2 ใน 3 ส่วนของสมัชชาใหญ่ และโดยคะแนนเสียงของสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงใด ๆ 7 เสียง ในที่ประชุมใหญ่นั้น สมาชิกแต่ละประเทศของสหประชาชาติจะมีเสียงลงคะแนน 1 เสียงการที่จะแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติให้เป็นผลสำเร็จ จะต้องได้เสียงสนับสนุนจากสมาชิกเป็นจำนวน 2 ใน 3 ส่วนของสมาชิกทั้งหมดในสมัชชาหรือจากที่ประชุมใหญ่ เมื่อการแก้ไขกฎบัตรเป็นที่รับรองแล้ว จะมีผลบังคับต่อสมาชิกทั้งหมดของสหประชาชาติ ก็ต่อเมื่อได้รับการสัตยาบันจากสมาชิก 2 ใน 3 ส่วนของจำนวนทั้งหมด รวมทั้งการรับรองจากสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงด้วยอาทิเช่น ในสมัยประชุมที่ 18 ของสมัชชาใหญ่ การแก้ไขกฎบัตรได้รับการรับรองเห็นชอบด้วย โดยผ่านข้อมติที่ 1991 (XVII) ในการแก้ไขครั้งนี้ได้เพิ่มจำนวนสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงจาก 11 เป็น 15 คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมจาก 18 เป็น 27 ประเทศ การแก้ไขดังกล่าวได้รับการลงมติรับรองเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1963 ในปัจจุบันนี้ ประเทศสมาชิกเป็นจำนวนมากกำลังเรียกร้องให้มีการปรับจำนวนสมาชิกถาวรของคณะ มนตรีความมั่นคงเสียใหม่ [การทูต] |
ASEAN Ministerial Meeting on Science and Technology | การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี " จัดขึ้นเป็นประจำทุก 3 ปี เพื่อหารือ กำหนดนโยบาย และติดตามผลความคืบหน้าของการดำเนินงานความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี โดยในช่วงกลางระหว่างสามปีดังกล่าวจะมีการประชุม รัฐมนตรีอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างไม่เป็นทางการด้วย " [การทูต] |
Australia-New Zealand-US | สนธิสัญญาป้องกันร่วมกันระหว่างออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์-สหรัฐอเมริกา " โดยตกลงให้มีการช่วยเหลือประเทศสมาชิกเมื่อถูกคุกคามจากประเทศนอกภาคี ปัจจุบัน ANZUS ยังคงสถานะอยู่แต่ไม่มีการดำเนินการใด ๆ (non-operational) เนื่องจากความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างสหรัฐอเมริกากับนิวซีแลนด์ยุติลง โดยนิวซีแลนด์ยังไม่ละทิ้งสนธิสัญญา ดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าอาจจะมีการรื้อฟื้นขึ้นอีก " [การทูต] |
apartheid | การปกครองประเทศแบบแบ่งแยกผิวพันธุ์ เป็นระบบปกครองที่ใช้ในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งโดยไม่ แบ่งแยกผิวพันธุ์ครั้งแรกขึ้นระหว่างวันที่ 26-29 เมษายน 2537 ในระบบการปกครองดังกล่าว ประชาชนแอฟริกาใต้ผิวดำถูกจำกัดสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิทางด้านการเมือง สิทธิการออกเสียงเลือกตั้ง สิทธิรับสมัครเลือกตั้ง การเป็นสมาชิกรัฐสภา การมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินบางพื้นที่ การเลือกที่อยู่อาศัย การใช้สถานที่พักผ่อน การรับราชการ การเข้ารับการศึกษา การประกอบอาชีพ และการใช้บริการสาธารณูปโภคจากรัฐบาล เป็นต้น [การทูต] |
ASEAN Committees in Third Countries | คณะกรรมการอาเซียนในประเทศที่สาม เป็นกลไกประสานงานของอาเซียนที่จัดตั้งขึ้นในเมืองหลวงของประเทศที่สาม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประเทศคู่เจรจาของอาเซียน คณะกรรมการดังกล่าว ประกอบด้วยเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนประจำประเทศนั้น ๆ [การทูต] |
Bangkok Declaration : Global Dialogue and Dynamic Engagement | ปฏิญญากรุงเทพ : การหารือและการมีส่วนร่วมอย่างมีพลวัตของประชาคมโลก " หนึ่งในสองของเอกสารผลการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ที่แสดงฉันทามติของประเทศสมาชิกอังค์ถัด 190 ประเทศ เกี่ยวกับผลกระทบของกระแสโลกาภิวัตน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งแสดงเจตนารมณ์ร่วมทางการเมืองของประเทศสมาชิกอังค์ถัดที่จะร่วมมือ กันดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศเพื่อทำให้สมาชิกทั้งหมด โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ได้รับประโยชน์จากกระบวนการโลกาภิวัตน์ในด้านการค้า การเงิน การลงทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม อีกทั้งเพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจโลก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบของกระบวนการโลกาภิวัตน์ได้ แม้ปฏิญญากรุงเทพจะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่ก็เป็นเอกสารที่มีผลผูกพันทางการเมือง เป็นสัญญาประชาคมที่ทุกประเทศสมาชิกอังค์ถัดมีพันธะที่จะต้องปฏิบัติตามแนว นโยบายที่ได้ร่วมกันแถลงไว้ในเอกสารดังกล่าว และเอกสารนี้สามารถใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการเจรจาหารือระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศในเรื่องของการเงิน การค้า การลงทุน และการพัฒนาได้ " [การทูต] |
Commencement of the Functions of the Head of Diplomatic Mission | การเริ่มต้นรับหน้าที่ของหัวหน้าคณะผู้แทนทางการ ทูต กล่าวคือ เมื่อหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตเดินทางไปถึงนครหลวงของประเทศผู้รับแล้ว ควรรีบแจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศทราบว่า ตนได้เดินทางมาถึงแล้วและขอนัดเยี่ยมคารวะ ตามปกติกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นหน้าที่ของอธิบดีกรมพิธีการทูตจะดำเนินการตระเตรียมให้หัวหน้าคณะ ผู้แทนทางการทูตได้เข้ายื่นสารตราตั้งต่อไประหว่างนั้น หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตจะต้องไม่ไปพบเยี่ยมผู้ใดเป็นทางการ จนกว่าจะได้ยื่นสารตราตั้งเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ดี หัวหน้าคณะผู้แทนอาจขอพบเป็นการภายในกับหัวหน้าของคณะทูตานุทูต (Dean หรือ Doyen of the Diplomatic Corps) ได้ เพื่อขอทราบพิธีการปฏิบัติในการเข้ายื่นสารตราตั้งต่อประมุขของประเทศผู้รับ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนา ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 13 ว่า1. พึงถือได้ว่าหัวหน้าคณะผู้แทนได้เข้ารับภารกิจหน้าที่ของตนในรัฐผู้รับ เมื่อตนได้ยื่นสารตราตั้งหรือเมื่อตนได้บอกกล่าวการมาถึงของตน พร้อมทั้งได้เสนอสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้งต่อกระทรวงการต่างประเทศของ รัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกันในแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในรัฐผู้รับ ซึ่งจะต้องใช้ในทำนองอันเป็นเอกรูป2. ลำดับของการยื่นสารตราตั้ง หรือสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้ง จะได้พิจารณากำหนดตามวันและเวลาของการมาถึงของหัวหน้าคณะผู้แทน [การทูต] |
Commission on Human Rights | คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น [การทูต] |
Conduct of Diplomatic Mission Towards the Receiving State | ในการปฏิบัติของคณะผู้แทนทางการทูตต่อรัฐผู้รับ นั้นหน้าที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งของนักการทูตคือ จะต้องละเว้นจากการเข้าแทรกแซงใด ๆ ในกิจการภายในของรัฐผู้รับ อนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้ในมาตราที่ 41 ว่า1. โดยไม่เสื่อมเสียแก่เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของตน เป็นหน้าที่ของบุคคลทั้งมวลซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเช่นนี้ ที่จะเคารพกฎหมายรวมทั้งข้อบังคับของรัฐผู้รับ บุคคลเหล่านี้มีหน้าที่ที่จะไม่แทรกสอดในกิจการภายในของรัฐนั้นด้วย2. ธุรกิจในทางการทั้งมวลกับรัฐผู้รับ ซึ่งรัฐผู้ส่งได้มอบหมายแก่คณะผู้แทนให้กระทำกัน โดยผ่านกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นเช่นที่อาจจะตกลงกัน3. สถานที่ของคณะผู้แทนต้องไม่ใช้ไปในทางที่ไม่ต้องด้วยกับการหน้าที่ของคณะผู้ แทน ดังที่ได้กำหนดลงไว้ในอนุสัญญานี้ หรือโดยกฎเกณฑ์อื่นของกฎหมายระหว่างประเทศทั่วไป หรือด้วยการตกลงพิเศษอื่นใดที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ ข้อ 42 ของอนุสัญญากรุงเวียนนายังได้บัญญัติด้วยว่า ตัวแทนทางการทูตจะต้องไม่ปฏิบัติกิจกรรมใดทางวิชาชีพหรือพาณิชย์เพื่อ ประโยชน์ส่วนตัวในรัฐผู้รับตามบทบัญญัติข้างต้นของอนุสัญญากรุงเวียนนา พอจะตีความหมายได้ว่า ผู้แทนทางการทูตจะต้องเคารพกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ เพื่อที่จะธำรงรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของประชาชน รวมทั้งความปลอดภัยในรัฐผู้รับ การปฏิบัติใดๆ ที่ถูกต้องของผู้แทนทางการทูตนั้นย่อมเป็นเครื่องประกันอย่างดีที่สุด ที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตนั้นจะถูกล่วงละเมิดมิได้ตามที่กล่าวอ้าง [การทูต] |
Congress of Vienna | เป็นการประชุมระหว่างประเทศที่สำคัญในยุโรป ได้จัดให้มีขึ้นหลังจากเสร็จสงครามนโปเลียน (กันยายน ค.ศ. 1814 ? มิถุนายน ค.ศ. 1815) ประเทศที่ร่วมการประชุมมี ออสเตรีย อังกฤษ ฝรั่งเศส รัฐสันตะปาปา ปรัสเซีย และรัสเซีย ภาระหน้าที่สำคัญของการประชุม คือ การปักปันเขตแดนกันใหม่ และจัดให้ราชวงศ์เก่าแก่กลับฟื้นคืนมาใหม่ ทั้งในประเทศฝรั่งเศส สเปน อิตาลี และเยอรมนี สหภาพแห่งนอร์เวย์ และสวีเดน สหภาพแห่งเบลเยี่ยม และฮอลแลนด์ พร้อมทั้งกำหนดให้สวิตเซอร์แลนด์ มีฐานะเป็นประเทศเป็นกลางถ้ามองในแง่การทูต ผลสำเร็จสำคัญที่สุดจากการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาคือ ข้อมติกำหนดลำดับอาวุโสของคณะผู้แทนทางการทูต โดยถือหลักอาวุโสไม่ว่าในตำแหน่งใด แทนที่จะถือตามสถานภาพและความสำคัญของกษัตริย์อย่างแต่ก่อน รวมทั้งจัดประเภทของนักการทูต ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท (ตามระเบียบที่วางขึ้นใหม่ต่อมาในการประชุม ณ Aix-la-Chapelle ได้แก่1) เอกอัครราชทูต (Ambassadors) ตัวแทนขององค์สมเด็จพระสันตะปาปา (Papal legates) และหัวหน้าคณะทูตของสมเด็จพระสันตะปาปา (Papal Nuncios)2) ผู้แทนทางการทูตผู้มีอำนาจพิเศษ (Envoys Extra-ordinary) และเอกอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม (Ministers Plenipotentiary) อินเตอร์นันสิโอของสมเด็จพระสันตะปาปา3) อัครราชทูตผู้มีถิ่นประจำ (Ministers Resident)4) อุปทูต (Chargé d?affaires)คองเกรสแห่งเวียนนายังวางระเบียบเกี่ยวกับเรื่องการจัดลำดับ อาวุโสของบุคคลในคณะทูต ซึ่งชาติต่าง ๆ ได้ลงนามรับรองในสนธิสัญญาพาหุภาคีเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว [การทูต] |
Consul | ข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งอย่างถูกต้องและได้รับ มอบหมายให้ไปประจำยังต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประเทศทั้งในด้าน พาณิชย์ การเดินเรือ คุ้มครองความเป็นอยู่อันดีของพลเมืองของประเทศตน พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่บางอย่างด้านธุรการ หรือวางระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ ตลอดจนด้านการเป็นสักขีพยานการลงนามในเอกสาร เพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทางกฎหมาย (Notary) การให้การตรวจลงตรา รวมทั้งการรับรองเอกสารที่แท้จริง (มิใช่เอกสารปลอม) และจัดการการสัตย์สาบานตนหรืออีกนัยหนึ่ง ภาระหน้าที่ของกงสุลอาจแบ่งออกได้เป็น 5 ประการ ดังต่อไปนี้1 ทำหน้าที่ส่งเสริมผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ของประเทศที่ตนเป็นผู้แทนอยู่2 ควบคุมดูแลผลประโยชน์ด้านการเดินเรือ3 คุ้มครองผลประโยชน์ของคนชาติของประเทศที่แต่งตั้งให้ตนไปประจำอยู่4 ทำหน้าที่สักขีพยานในการลงนามในเอกสารเพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทาง กฎหมาย5 ทำหน้าที่ธุรการเบ็ดเตล็ดอื่นๆ หรือระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ เช่น การออกหนังสือเดินทาง การให้การตรวจลงตรา (Visas) การจดทะเบียนคนเกิด คนตาย ฯลฯอนุสัญญากรุงเวียนนา ภาคที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลข้อที่ 5 ได้กำหนดภาระหน้าที่ของฝ่ายกงสุลไว้ดังต่อไปนี้ ก. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่ง และของคนในชาติของรัฐผู้ส่ง ทั้งเอกชนและบรรษัทในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตข. เพิ่มพูนการพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านการพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาการ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกันในทางอื่น ตามบทแห่งอนุสัญญานี้ค. สืบเสาะให้แน่โดยวิถีทางทั้งปวงอันชอบด้วยกฎหมายถึงภาวะและความคลี่คลายใน ทางพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและวิทยาการของรัฐผู้รับ แล้วรายงานผลของการนั้นไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่ง และให้ข้อสนเทศแก่บุคคลที่สนใจง. ออกหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทางให้แก่คนในชาติของรัฐผู้ส่ง ตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือออกเอกสารที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางไปยังรัฐผู้ส่งจ. ช่วยเหลือคนในชาติของรัฐผู้ส่งทั้งเอกชนและบรรษัทฉ. ทำหน้าที่นิติกรและนายทะเบียนราษฎร์ และในฐานะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ปฏิบัติการหน้าที่บางประการอันมีสภาพทางธุรการ หากว่าการหน้าที่นั้นไม่ขัดกับกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับช. พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ และบุคคลไร้ความสามารถ ซึ่งเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง ภายในขีดจำกัดที่ได้ตั้งบังคับไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องมีความปกครองหรือภาวะทรัสตีใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลเหล่านั้นฌ. แทนคนชาติของรัฐผู้ส่ง หรือจัดให้มีการแทนอย่างเหมาะสมในองค์กรตุลาการ และต่อเจ้าหน้าที่ที่อื่นของรัฐผู้รับ เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มา ซึ่งมาตรการชั่วคราวสำหรับการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของคนในชาติเหล่านี้ ไว้ตามกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ ในกรณีที่คนในชาติเหล่านี้ไม่สามารถเข้าทำการป้องกันสิทธิและผลประโยชน์ของ ตนในเวลาอันเหมาะสมได้ เพราะเหตุของการไม่อยู่หรือเหตุอื่นใด ทั้งนี้ ให้อยู่ภายในข้อบังคับแห่งทางปฏิบัติ และวิธีดำเนินการซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับญ. ส่งเอกสารทางศาล หรือเอกสารที่มิใช่ทางศาล หรือปฏิบัติตาม หนังสือของศาลของรัฐผู้ส่งที่ขอให้สืบประเด็น หรือตามการมอบหมายให้สืบพยานให้แก่ศาลของรัฐผู้ส่งนั้น ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ใช้บังคับอยู่ หรือเมื่อไม่มีความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่านั้น โดยทำนองอื่นใดที่ต้องด้วยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับด. ใช้สิทธิควบคุมดูแลและตรวจพินิจตามที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของ รัฐผู้ส่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับเรือที่มีสัญชาติของของรัฐผู้ส่ง หรืออากาศยานที่จดทะเบียนในรัฐนั้น รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับลูกเรือของเรือและอากาศยานดังกล่าวต. ให้ความช่วยเหลือแก่เรือและอากาศยานที่ระบุไว้ในอนุวรรค (ด) ของข้อนี้ รวมทั้งลูกเรือของเรือและอากาศยานนั้น บันทึกถ้อยคำเกี่ยวกับการเดินทางของเรือ ตรวจดูและประทับตรากระดาษเอกสารของเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใด ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างนายเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใดๆ ที่ได้เกิดขั้นในระหว่างนายเรือ เจ้าพนักงาน และกะลาสี ตราบเท่าที่การนี้อาจได้อนุมัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง ทั้งนี้ จะต้องไม่เป็นการเสื่อมเสียแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับถ. ปฏิบัติการหน้าที่อื่นใดที่รัฐผู้ส่งมอบหมายแก่สถานีทำการทางกงสุล ซึ่งมิได้ต้องห้ามโดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ หรือซึ่งไม่มีการแสดงข้อคัดค้านโดยรัฐผู้รับ หรือซึ่งมีอ้างถึงไว้ในความตกลงระหว่างประเทศ ที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับ [การทูต] |
Consular office Declared ?Non grata? | เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลจะถูกประกาศว่าไม่พึงปรารถนา หรือไม่พึงโปรดได้ ดังข้อ 23 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติไว้ด้วยข้อความดังนี้?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ว่าพนักงานฝ่ายกงสุลเป็น บุคคลที่ไม่พึงโปรด หรือบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีนั้นรัฐผู้ส่งจะเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นต่อสถานที่ทำการทางกงสุล แล้วแต่กรณี2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธหรือไม่นำพาภายในเวลาอันสมควรที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีของ ตนตามวรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับอาจเพิกถอนอนุมัติบัตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น หรือเลิกถือว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลก็ได้ แล้วแต่กรณี3. รัฐผู้รับอาจประกาศว่า บุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล เป็นผู้ที่ไม่อาจยอมรับได้ ก่อนที่บุคคลนั้นจะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับ หรืออยู่ในรัฐผู้รับแล้ว แต่ก่อนเข้ารับหน้าของตนต่อสถานที่ทำการทางกงสุลก็ได้ ในกรณีใด ๆ เช่นว่านั้น รัฐผู้ส่งจะเพิกถอนการแต่งตั้งบุคคลนั้น4. ในกรณีที่ได้บ่งไว้ในวรรค 1 และ 3 ของข้อนี้ รัฐผู้รับไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการวินิจฉัยของตนแก่รัฐผู้ส่ง?การ ที่รัฐผู้รับปฏิเสธที่จะออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตรหลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วนั้น เป็นสิทธิของรัฐผู้รับอันจะถูกโต้แย้งมิได้ ประเด็นที่เป็นปัญหาก็คือ รัฐผู้รับมีพันธะที่จะต้องอธิบายเหตุผลอย่างใดหรือไม่ ในการที่ปฏิเสธไม่ยอมออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตร หลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วข้อนี้ น้ำหนักของผู้ทรงอำนาจหน้าที่ดูแลจะเห็นคล้อยตามทรรศนะที่ว่า รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผลใด ๆ ทั้งสิ้นในการกระทำดังกล่าวเหตุผลของการไม่ยอมออกอนุมัติบัตรให้นั้นคือว่า ผู้ที่ไม่เห็นด้วย หรือไปแสดงสุนทรพจน์อันมีข้อความเป็นที่เสื่อมเสียแก่รัฐผู้รับ หรือเคยมีส่วนร่วมในการก่อการกบฏต่อรัฐผู้รับหรือเข้าไปแทรกแซงกิจการการ เมืองภายในของรัฐผู้รับ เป็นต้น [การทูต] |
Credential หรือ Letter of Credence | เอกสารทางราชการที่ประมุขของประเทศเป็นผู้ลงนาม ในเอกสารนั้น ประมุขของประเทศจะกล่าวยกย่องตัวทูตต่อประมุขของรัฐที่ผู้ที่เป็นทูตไปประจำ อยู่ (รัฐผู้รับ) ภาษาที่ใช้ในเอกสารจะเขียนด้วยถ้อยคำสำนวนหรูหรา และกล่าวถึงคุณสมบัติของทูตอย่างสูงส่ง แล้วลงท้ายด้วยการขอให้ความเชื่อถือแก่ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทูตอาจจะกล่าวใน นามของรัฐบาลของตน [การทูต] |
Dean (หรือ Doyen) of the Diplomatic Corps | หัวหน้า (Dean) ของคณะทูตานุทูตในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ได้แก่ ตัวทูตที่อาวุโสที่สุด (คือเป็นทูตอยู่ในประเทศนั้นๆ เป็นเวลานานที่สุด) ตัวหัวหน้าคณะทูตานุทูตจะมีลำดับอาวุโสเหนือทุกคนในคณะทูตานุทูต ทำหน้าที่เป็นโฆษกของคณะทูตเมื่อถึงความจำเป็น และเป็นผู้ดูแลและคุ้มครองบรรดาเอกสิทธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่คณะ ทูตานุทูตมีอยู่ แต่หน้าที่ที่แท้จริงนั้น โดยมากเกี่ยวกับเรื่องพิธีการทูตมากกว่า อาทิเช่น เมื่อถึงวันที่ระลึกครบรอบวันเกิดประมุขของรัฐ (เช่นวันเฉลิมพระชนมพรรษาในประเทศไทย) Dean ของคณะทูตจะเป็นผู้กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสดังกล่าวในนามของคณะทูตทั้งหมด แต่การที่จะเรียกหรือขอให้บุคคลในคณะทูตไปประชุมเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง นั้น เป็นสิ่งที่ Dean ไม่พึงกระทำ อย่างไรก็ตาม จะไม่มีผู้แทนทางการทูตคนใดไปร่วมการประชุมระหว่างบุคคลในคณะทูตด้วยกัน เกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศโดยมิได้รับคำสั่งโดยเฉพาะจากรัฐบาลของตนก่อน ภริยาของ Dean หรือ Doyen นั้นเรียกว่า Doyenneเมื่อหัวหน้าคณะทูตวายชนม์ขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่ บุคคลในคณะทูตที่มีอาวุโสรองลงมาหรือเป็นบุคคลที่สองจะเป็นผู้รับช่วงงาน ทันที และมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Chargé d?Affaires ad interim) ทั้งจะต้องดูว่า เอกสารทางราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะเอกสารลับหรือปกปิด จะไม่ทิ้งรวมอยู่กับ เอกสารส่วนตัวของทูตผู้วายชนม์อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูต ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1961 จากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับการติดต่อและความคุ้มกันทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ข้อ 39 (3) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามี สิทธิที่จะได้รับไปจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป(4) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว ให้รัฐผู้รับอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่ส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้ามในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในคราอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดกและการรับมรดกนั้น ๆ ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับ เพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่ฝ่ายเดียวของผู้วายชนม์ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทนอนึ่ง อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1963 ได้บัญญัติไว้ว่า ?ข้อ 51 ในกรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล หรือของคนในครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว รัฐผู้รับ(ก) จะอนุญาตให้ส่งออกซึ่งสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ โดยมีข้อยกเว้นแก่ทรัพย์สินเช่นว่า ทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาในรัฐผู้รับนั้น ซึ่งการส่งออกของทรัพย์ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลดังกล่าวถึงแก่มรณกรรม(ข) จะไม่เรียกเก็บอากรกองมรดก อากรสืบช่วงมรดกหรืออากรรับมรดก และอากรการโอน ไม่ว่าจะเป็นอากรของชาติ ของภูมิภาค หรือของเทศบาล จากสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการที่สังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ในรัฐผู้รับก็เนื่องมาแต่ฝ่ายเดียว จากการที่ผู้วายชนม์อยู่ในรัฐนั้นฐานะบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุลหรือใน ฐานะคนในครอบครัวของบุคคลในที่ทำการกงสุล? ?ข้อ 53(5) กรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล คนในครอบครัวซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว จะคงได้รับอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ประสาทให้แก่ตนต่อไป จนกว่าตนจะออกไปจากรัฐผู้รับ หรือจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะสามารถให้ตนกระทำดังนั้นได้ แล้วแต่ว่าเวลาไหนจะมาถึงก่อนกัน? [การทูต] |
Declaration | คำประกาศ หรือ ปฏิญญา ตามความเห็นของผู้ทรงคุณความรู้ทางกฎหมายระหว่างประเทศ ส่วนมากได้ให้ความเห็นว่า คำนี้มีความหมายต่างกันอยู่สามประการ คือประการแรก ใช้เป็นชื่อเรียกข้อกำหนดต่าง ๆ ของสนธิสัญญา กล่าวคือ ตามสนธิสัญญานี้ ภาคีคู่สัญญารับที่จะปฏิบัติตามแนวทางบางประการในอนาคตประการที่สอง เป็นคำประกาศถ่ายเดียว (Unilateral Declaration) ซึ่งก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่แก่รัฐอื่นๆ เช่น คำประกาศสงครามประการสุดท้าย หมายถึง การกระทำซึ่งรัฐหนึ่งหรือหลายรัฐได้ติดต่อแจ้งไปยังรัฐอื่น ๆ ซึ่งเป็นการอธิบายหรือให้เหตุผลสนับสนุนพฤติกรรมของฝ่ายตนในอดีต หรืออธิบายทรรศนะและเจตจำนงเกี่ยวกับเรื่องบางเรื่อง คำประกาศสำหรับความหมายสองประการหลังไม่ถือว่ามีลักษณะเป็นสนธิสัญญาอนึ่ง ในกรณีคำประกาศถ่ายเดียว (Unilateral Declaration) นั้น บางทีรัฐหนึ่งต้องการเสนอนโยบายหรือหนทางปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งของตน โดยประกาศนโยบายหรือหนทางปฏิบัตินั้นไปให้รัฐอื่นๆ ทราบกันไว้ อาทิเช่น ลัทธิมอนโร (Monroe Doctrine) ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้ประกาศออกไปในรูปคำประกาศถ่ายเดียว เป็นต้น [การทูต] |
Diplomatic Expressions | ถ้อยคำสำนวนที่ใช้ในวงการทูต กล่าวคือ ในวงการทูตจะมีการนิยมใช้ถ้อยคำสำนวนการทูต ถือกันว่าเป็นภาษาที่สุภาพ ซึ่งจะมีความหมายลึกซื้งเพียงใดนั้น บรรดาเจ้าหน้าที่ทางการทูตจะทราบกันดี อาทิเช่น?My Government views with concern หรือ with grave concern? จะแสดงถึงท่าทีที่ไม่เห็นด้วย หรือแสดงการประท้วง?My Government cannot remain indifferent to the matter? จะส่อถึงเจตนาที่จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปส่วนถ้อยคำสำนวนที่ว่า ?In such event my Government would feel bound to reconsider its position หรือ to consider its own interest??My Government will have to claim a free hand? หรือ ?feel obliged to formulate express reservations regarding?เหล่านี้เป็นถ้อยคำสำนวนที่เตือนให้ทราบว่า อาจเกิดการแตกร้าว หรือตัดขาดในพันธไมตรีที่มีต่อกันได้เมื่อรัฐบาลหนึ่งประกาศถือว่าการกระทำ ของอีกรัฐบาลหนึ่งเป็น ?an unfriendly act? หรือการกระทำที่ไม่เป็นมิตรเช่นนี้ ย่อมหมายถึงการเตือนให้ทราบว่า การกระทำเช่นนั้นอาจนำไปสู่สงครามได้ถ้าหากในตอนเสร็จสิ้นการประชุมกันมีการ แถลงการณ์หรือโฆษกของที่ประชุมแจ้งให้ทราบว่า ที่ประชุมได้ทำความตกลงกันโดยสมบูรณ์ (Full agreement) แต่ไม่มีการเปิดเผยให้ทราบว่ามีการตกลงอะไรกันบ้าง จะทำให้เป็นที่สงสัยกันว่าได้มีการตกลงกันโดยสมบูรณ์จริงละหรือ ถ้าหากคำประกาศนั้นใช้ถ้อยคำว่า มี ?substantial agreement? ก็พอจะอนุมานได้ว่าแท้ที่จริงยังมีเรื่องสำคัญ ๆ ที่ยังตกลงกันไม่ได้อีกบางเรื่อง อนึ่ง หากว่ามีการแถลงว่า ?there was a full exchange of views? ก็เท่ากับพูดว่า มิได้มีการตกลงกันแต่อย่างใดทั้งสิ้น [การทูต] |
Diplomatic Pouch | ถุงเมล์ทางการทูตที่บรรจุหนังสือโต้ตอบทางราชการ ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาล กับสถานเอกอัครราชทูตต่าง ๆ ใน ต่างประเทศ ถุงเมล์ทูตจะถูกปิดประทับตราของทางราชการ และผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ แม้แต่เจ้าหน้าที่ศุลกากรก็ขอตรวจไม่ได้ คือได้รับการละเว้นจากการแทรกแซงใด ๆ ทั้งสิ้นเรื่องถุงเมล์ทางการทูตนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ว่า?1. ในรัฐผู้รับจะอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ทั้งมวลในการติดต่อกับคณะรัฐบาลและกับคณะผู้แทน และสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่งไม่ว่าตั้งอยู่ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางเหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้สื่อสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการทูตของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการทูตหมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงเมล์ทางการทูตจะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูตจะต้องมีเครื่องหมายติดไว้ภายนอกที่เห็น ชัดเจน แสดงลักษณะของถุงทางการทูตและอาจบรรจุเอกสารหรือสิ่งของทางการทูต ซึ่งได้เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่านั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการ แสดงสถานภาพของตนและจำนวนหีบห่อ ซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ และจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ในกรณีที่ ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการ แสดงจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุง แต่ไม่ให้ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางการทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรงและโดย เสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน?คำว่าถุงทางการทูตนี้ กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษเรียกว่า ?Diplomatic bag? ส่วนในภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า ?Valise Diplomatique? [การทูต] |
Diplomatic Privilege of Accommodation | มาตรา 21 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตบัญญัติไว้ว่า ?1. รัฐผู้ต้อนรับจะต้องอำนวยความสะดวกตามบทกฎหมายของประเทศของตน ในการจัดการให้ได้มาซึ่งดินแดนของตนให้แก่รัฐผู้ส่ง ซึ่งจำเป็นแก่การปฏิบัติภาระหน้าที่ของรัฐนั้น หรือช่วยเหลือให้รัฐผู้ส่งได้รับอาคารที่พำนักด้วยวิธีการหนึ่งใด 2. ในกรณีจำเป็น รัฐผู้รับจะต้องช่วยให้คณะเจ้าหน้าที่ทางการทูต ได้มีสถานที่อยู่อาศัยอย่างเหมาะสม?เมื่อตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่ง ตั้งได้เดินทางไปถึงประเทศที่เขาจะเข้าดำรงตำแหน่ง ซึ่ง ณ ที่นั้นมีคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลของเขาประจำทำงานอยู่แล้ว ตามปกติตัวแทนทูตดังกล่าวจะมีสำนักงานทางการทูตตั้งอยู่แล้วในสถานที่เหมาะ สม มีอุปกรณ์เครื่องใช้ไม้สอยสำหรับการปฏิบัติงานโดยครบครัน และผู้ที่ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าเขาหรืออุปทูตชั่วคราวมักจะเตรียมการไว้ก่อน แล้วเกี่ยวกับที่พักอาศัย เรียกว่าทำเนียบ นอกจากว่าจะมีทำเนียบตั้งอยู่ภายในบริเวณตึกสถานเอกอัครราชทูตซึ่งรัฐบาลของ เขาเป็นเจ้าของเองแต่ถ้าหากตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งใหม่ จะต้องตั้งคณะผู้แทนทางการทูตในประเทศที่เขาเข้าดำรงตำแหน่งเป็นครั้งแรก ก็จะต้องประสบกับปัญหาเรื่องหาสถานที่สำหรับใช้เป็นที่ตั้งสถานเอกอัคร ราชทูตขึ้น ในกรณีเช่นนี้จึงจำเป็นจะต้องอาศัยคำแนะนำและความช่วยเหลือจากกระทรวงการ ต่างประเทศของรัฐผู้รับ กระทรวงการต่างประเทศของบางประเทศจะมีแผนกหนึ่งทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกแก่คณะทูตต่างประเทศโดยเฉพาะ เป็นแผนกหนึ่งในกรมพิธีการทูต ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องทำนองนี้อยู่แล้ว [การทูต] |
Diplomatic Privileges and Immunities | เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตที่ได้ให้แก่เจ้า หน้าที่ทางการทูต โดยถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้แทนส่วนตัวของประมุขของรัฐ เหตุผลที่ให้มีการคุ้มกันทางการทูต ก็เพราะถือว่ารัฐบาลหนึ่งใดก็ตามจะถูกกีดกันขัดขวางด้วยการจับกุม หรือกีดกันมิให้ผู้แทนของรัฐบาลนั้นปฏิบัติหน้าที่ในความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศนั้นมิได้ ถ้าหากเห็นว่าผู้แทนนั้นมีพฤติกรรมหรือพฤติการณ์ที่ก้าวร้าวซึ่งรัฐผู้รับ ไม่อาจรับได้ก็ชอบที่รัฐผู้รับจะขอร้องให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวผู้แทนของตนกลับ ประเทศได้ อนึ่ง การที่สถานเอกอัครราชทูตได้รับความคุ้มกันจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ เพราะต้องการให้บรรดาผู้แทนทางการทูตเหล่านั้น รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาได้มีโอกาสมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของประเทศของเขาอนุสัญญากรุง เวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตมีบทบัญญัตินิยามคำว่า เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตในเรื่องต่างๆ ไว้มากพอสมควร เช่น เรื่องสถานที่ของคณะผู้แทนทางการทูต รวมทั้งบรรณสารและเอกสาร เรื่องการอำนวยความสะดวกให้แก่การปฏิบัติงานของคณะผู้แทน และเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายรวมทั้งการคมนาคมติดต่อ เป็นต้น [การทูต] |
Diplomatist หรือ Diplomat | ใช้กับราชการทุกคนที่ประจำทำงานในด้านทางการทูต ไม่ว่าจะประจำอยู่ในกระทรวงการต่างประเทศ หรือในราชการต่างประเทศ คือ ในสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล หรือในสำนักงานทางทูตอื่นๆในทรรศนะของ เซอร์แฮโรลด์ นิโคลสัน นักการทูตยอดเยี่ยมคนหนึ่งของอังกฤษ ได้ระบุไว้ว่า นักการทูตหรือ Diplomat จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ ยึดถือความเป็นจริง มีความแม่นยำ สงบเยือกเย็น มีความอดกลั้น อารมณ์ดี มีความสงบเสงี่ยมและมีความจงรักภักดี ทั้งยังจะต้องเป็นผู้ที่มีสติปัญญา มีความรู้ มองเห็นการณ์ไกล มีความสุขุมรอบคอบ ใจดีกับแขกและผู้แปลกหน้า มีเสน่ห์ มีความอุตสาหะวิริยะ มีความกล้า และมีปฏิภาณในทำนองเดียวกัน Francoise de Callieres (1645-1717) นักการทูตชั้นเยี่ยมของฝรั่งเศส ซึ่งเคยเป็นเอกอัครราชทูตประจำโปแลนด์ ซาวอย ฮอลแลนด์ บาวาเรีย และลอเรน ได้เขียนหนังสือไว้เล่มหนึ่งชื่อว่า De la miniere avec les souverains เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการเจรจาทางการทูต ซึ่งจนถึงปัจจุบันยังเป็นที่รับรองกันทั่วไปว่าเป็นหนังสือที่ดีเยี่ยมเล่ม หนึ่ง หรือเป็นจินตกวีนิพนธ์เรื่องการดำเนินการทูตกับเจ้าผู้ครองนคร (Princes) สมัยนั้นCallieres ได้วางมาตรฐานของนักการทูตไว้สูงมากเพราะเขาเห็นว่า ไม่มีงานราชการใด ๆ ที่จะยากยิ่งไปกว่าการเจรจา ในการเจรจานั้น ผู้เจรจาจะต้องสามารถมองเห็นเหตุการณ์ทะลุปรุโปร่ง หรือมีสติปัญญาเฉียบแหลม มีความคล่องแคล่วกระฉับกระเฉง มีความละมุนละไม มีความรอบรู้และความเข้าใจอย่างกว้างขวาง ตลอดจนข้อสำคัญที่สุด ต้องเป็นผู้มีความสุขุมคัมภีรภาพ สามารถมองเห็นการณ์ไกลชนิดเจาะลึกทีเดียว นอกจากนี้ จะต้องเป็นผู้มีอารมณ์ขันอย่างสม่ำเสมอ ไม่โกรธง่าย มีจิตใจสงบเยือกเย็น มีความอดกลั้น พร้อมเสมอที่จะรับฟังทุกคนที่เขาพบด้วยความตั้งอกตั้งใจ พูดจาอย่างเปิดเผย และมีอารมณ์ร่าเริงไม่หน้าเง้าหน้างอ มีอัธยาศัยไมตรี รวมทั้งมีกิริยาท่าทางเป็นที่ต้องตาต้องใจกับทุกคน ในฐานะนักเจรจา (Negotiator) นักการทูตจะต้องมีคุณลักษณะและคุณสมบัติตามที่กล่าวมานี้เป็นอย่างน้อย เนื่องจากมีการเจรจาเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดของนักการทูตนั่นเอง [การทูต] |
Duration of Diplomatic Privileges and Immunities | ระยะเวลาของการอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทาง การทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตราที่ 39 ว่า?1. บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกัน ที่จะได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันนั้นตั้งแต่ขณะที่บุคคลนั้นเข้ามาใน อาณาเขตของรัฐผู้รับในการเดินทางไปรับตำแหน่งของตน หรือถ้าอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับแล้ว ตั้งแต่ขณะที่ได้บอกกล่าวการแต่งตั้งของตนต่อกระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน 2. เมื่อภารกิจหน้าที่ของบุคคล ซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันยุติลง เอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามปกติให้สิ้นสุดลงขณะที่บุคคลนั้นออกไปจากประเทศ หรือเมื่อสิ้นกำหนดอันสมควรที่จะทำเช่นนั้น แต่จะยังมีอยู่จนกระทั่งเวลานั้น แม้ในกรณีของการขัดแย้งด้วยอาวุธ อย่างไรก็ดี ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปโดยบุคคลเช่นว่านั้น ในการปฏิบัติการหน้าที่ของตนในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน ความคุ้มกันนั้นให้มีอยู่สืบไป 3. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามีสิทธิที่จะได้สืบไป จนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป 4. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นอยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว รัฐผู้รับสามารถอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่การส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดก และการรับมรดกนั้น ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับเพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่เพียงถ่ายเดียวของผู้วายชนม์ ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน หรือในฐานะเป็นคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน? [การทูต] |
Drug-Free ASEAN | อาเซียนที่ปลอดจากยาเสพติด เป็นคำประกาศของอาเซียนในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน สมัยที่ 31 ที่กรุงมะนิลา เมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยการตั้งเป้าหมาย ที่จะทำให้ภูมิภาคนี้ปลอดจากยาเสพติดในปี พ.ศ. 2563 และต่อมา ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน สมัยที่ 33 ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2543 ได้ประกาศร่นกำหนดเวลาดังกล่าวให้เร็วขึ้น 5 ปี จากเดิมในปี พ.ศ. 2563 เป็นปี พ.ศ. 2558 [การทูต] |
Eisenhower Doctrine | ลัทธิไอเซนฮาวร์ เมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1957 ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความวิตกห่วงใยในสถานการณ์ที่ล่อแหลมต่ออันตรายในภูมิภาคตะวันออกกลาง ได้อ่านสารพิเศษต่อที่ประชุมร่วมระหว่างสภาผู้แทนกับวุฒิสภาขอร้องให้รัฐสภา สหรัฐฯ ลงมติรับรองโครงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและทางทหาร เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกราชแห่งชาติของบรรดาประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง ให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น ดังนั้น ในการสนองตอบสารพิเศษดังกล่าว รัฐสภาสหรัฐฯ ได้ผ่านข้อมติร่วมกันเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1957 มอบให้ประธานาธิบดีมีอำนาจให้ความร่วมมือและอำนวยความช่วยเหลือแก่ชาติหรือ กลุ่มชาติต่างๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งต้องการความช่วยเหลือเช่นนั้น ในการที่จะพัฒนาพลังทางเศรษฐกิจเพื่อรักษาไว้ซึ่งเอกราชแห่งชาติตน และให้จัดโครงการช่วยเหลือทางทหารแก่ชาติต่างๆ ในภาคนั้นซึ่งต้องการความช่วยเหลือดังกล่าว ทั้งได้มอบอำนาจให้ประธานาธิบดีสามารถใช้กองทัพสหรัฐฯ เข้าช่วยเหลือชาติเหล่านั้นที่แสดงเจตนาขอความช่วยเหลือ เพื่อต่อต้านการรุกรานจากประเทศใด ๆ ที่อยู่ใต้อำนาจควบคุมของคอมมิวนิสต์ระหว่างประเทศ [การทูต] |
Establishment of Diplomatic Relations and Missions | การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตและคณะผู้แทนถาวร ทางการทูต ข้อนี้มีบทบัญญัติไว้ในมาตรา 2 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตว่าการสถาปนาความ สัมพันธ์ทางการทูตระหว่างรัฐ และคณะผู้แทนถาวรทางการทูตมีขึ้นได้ด้วยความยินยอมของกันและกันในเรื่องนี้ รัฐที่มีอธิปไตยโดยสมบูรณ์ทุกรัฐ มีสิทธที่จะส่งตัวแทนทางการทูตไปทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนยังรัฐ อื่นๆ ซึ่งถือกันว่ามี Active right of legation แต่การใช้สิทธิดังกล่าว เป็นเรื่องดุลยพินิจของแต่ละรัฐ เพราะจะบังคับให้รัฐหนึ่งส่งคณะผู้แทนทางทูตประจำ ณ ที่ใดหาได้ไม่ ถ้าหากรัฐนั้นไม่ปรารถนาจะปฏิบัติเช่นนั้น ในทำนองเดียวกันจะมีการบังคับให้รัฐผู้รับต้องรับคณะผู้แทนทางการทูตจากรัฐ ใดหาได้ไม่ ทั้งนี้เพราะเป็นเรื่องดุลยพินิจของรัฐผู้รับเช่นกัน [การทูต] |
Exemption from Customs Duties and Inspection of Diplomatic Mission?s Articles | การยกเว้นจากอากรศุลกากร และการตรวจสิ่งของเครื่องใช้ของคณะผู้แทนทางการทูต การยกเว้นดังกล่าวนี้ไม่ถือว่าเป็นสิทธิ แต่เป็นเรื่องของการแสดงอัธยาศัยไมตรีระหว่งประเทศที่ให้ต่อกันมากกว่า กฎหมายระหว่างประเทศก็มิได้กำหนดพันธะที่จะต้องให้การยกเว้นจากอากรศุลกากร อย่างไรก็ดี รัฐส่วนมากได้แสดงอัธยาศัยไมตรีโดยให้ผู้แทนทางการทูตได้รับการยกเว้นอากร ศุลกากรแก่สินค้าและเครื่องใช้ที่นำเข้ามาใช้ในส่วนตัวเองอนุสัญญากรุง เวียนนาได้ระบุไว้ในมาตรที่ 36 ว่า1. รัฐผู้รับจะอนุญาตให้นำเข้าและอำนวยให้มีการยกเว้นจากอากรศุลกากร ภาษี ตลอดจนค่าภาระที่เกี่ยวข้องทั้งมวล นอกจากค่าภาระในการเก็บรักษา การขนส่งและบริการ ให้ทำนองเดียวกันตามกฎหมายหรือข้อบังคับ ซึ่งรัฐผู้รับอาจกำหนดไว้แก่ก. สิ่งของสำหรับใช้ในทางการของคณะผู้แทนข. สิ่งของสำหรับใช้ส่วนบุคคลของตัวแทนทางการทูต หรือคนในครอบครัวของตัวแทนทางการทูต ซึ่งประกอบเป็นส่วนครัวเรือนของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสิ่งของที่แสดงเจตนาสำหรับการตั้งถิ่นฐานของตัวแทนทางการทูตด้วย2. หีบห่อส่วนบุคคลของตัวแทนทางการทูต ให้ได้รับยกเว้นจากการตรวจตรา นอกจากมีมูลเหตุอันร้ายแรงที่ทำให้สันนิษฐานได้ว่า หีบห่อส่วนตัวนั้นบรรจุสิ่งของซึ่งไม่อยู่ในข่ายแห่งการยกเว้นที่ได้ระบุไว้ ในวรรค 1 ของข้อนี้ หรือสิ่งของซึ่งการนำเข้าหรือส่งออกนั้นต้องห้ามทางกฎหมาย หรือถูกควบคุมตามข้อบังคับว่าด้วยการกักตรวจโรคของรัฐผู้รับ การตรวจตราเช่นว่านี้ให้กระทำต่อหน้าตัวแทนทางการทูต หรือต่อหน้าผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจของตัวแทนทางการทูตเท่านั้น [การทูต] |
Extradition | การส่งผู้ร้ายข้ามแดน การที่ชาติหนึ่งยอมส่งคนในชาติของตนให้แก่อีกชาติหนึ่ง คือคนในชาติที่ถูกกล่าวหา หรือต้องโทษฐานกระทำความผิดภายนอกเขตแดนของตน และเป็นความผิดที่กระทำขึ้นในเขตอำนาจของอีกชาติหนึ่ง ซึ่งมีความสามารถที่จะตัดสินคดี รวมทั้งลงโทษบุคคลที่ถูกกล่าวหานั้นข้ออ้างว่า ในกรณีที่ชนชาติหนึ่งซึ่งถูกกล่าวหาว่าประกอบอาชญากรรมแล้วหลบหนีไปยังต่าง ประเทศนั้น รัฐของผู้ที่ประกอบอาชญากรรมมีสิทธิที่จะขอให้ต่างประเทศนั้นส่งตัวผู้กระทำ ผิดกลับคืนมา เพื่อส่งตัวขึ้นศาลเพื่อพิจารณาลงโทษได้ แต่หลายคนยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่ในข้อนี้ มีไม่น้อยที่สนับสนุนหลักการที่ว่า กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองหน้าที่ที่จะต้องส่งผู้ร้ายข้ามแดน กล่าวคือ นอกจากสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่มีต่อกันแล้ว กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองสิทธิที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่กัน อย่างไรก็ดี ตามสนธิสัญญาที่มีต่อกัน ผู้ร้ายที่หนีความยุติธรรมจะถูกส่งไปให้อีกประเทศหนึ่งตามสนธิสัญญานั้น จักกระทำโดยวิถีทางการทูต ส่วนผู้หลบหนีเจ้าหน้าที่เพราะเหตุผลทางการเมือง จะส่งข้ามแดนอย่างผู้ร้ายไม่ได้ และเมื่อหลบหนีไปยังอีกประเทศหนึ่งได้สำเร็จ ประเทศนั้นๆ มักจะให้อาศัยพักพิงในประเทศของตนเป็นในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง [การทูต] |
Exercise of Consular Functions in a Third State | การปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในรัฐที่สาม (A Third State) ในเรื่องนี้ข้อ 7 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้ระบุว่า?เมื่อได้บอกกล่าวให้รัฐที่เกี่ยวข้องทราบ แล้ว รัฐูผู้ส่งอาจมอบหมายให้สถานีที่ทำการทางกงสุลที่ได้ตั้งอยู่ในรัฐหนึ่งโดย เฉพาะปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในอีกรัฐหนึ่งได้ นอกจากจะมีการคัดค้านอย่างชัดเจนโดยรัฐหนึ่งในบรรดารัฐที่เกี่ยวข้อง?นอกจาก นี้ สถานที่ทำการทางกงสุลยังอาจปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลแทนรัฐที่สามได้ เรื่องนี้ข้อ 8 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้กำหนดว่า เมื่อบอกกล่าวอย่างเหมาะสมแก่รัฐผู้รับแล้ว สถานที่ทำการทางกงสุลของรัฐผู้ส่งอาจปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในรัฐผู้รับ แทนรัฐที่สามได้ นอกจากรัฐผู้รับนั้นจะคัดค้าน และพนักงานฝ่ายกงสุลอาจปฏิบัติการหน้าที่ของตนนอกเขตกงสุลได้ในพฤติการณ์ พิเศษ และด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อ 6 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนา อย่างไรก็ดี ยังไม่มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ที่จะให้พนักงานฝ่ายกงสุลปฏิบัติการหน้าที่ทาง กงสุลนอกเขตกงสุล ฝ่ายที่เห็นด้วยว่าควรปฏิบัติการนอกเขตกงสุลได้ อ้างว่า การใช้เอกสิทธิ์เช่นนั้นเป็นการชอบแล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่า อาจจะมีภาวะฉุกเฉินเกิดขึ้นในสถานที่นอกเขตกงสุล ซึ่งเป็นความจำเป็นที่พนักงานฝ่ายกงสุลจะได้ให้บริการในทันที่ที่มีการแจ้ง โดยกะทันหัน [การทูต] |
เบ่งกล้าม | [beng klām] (v, exp) EN: puff out one's muscle |
บอกกล่าว | [bøkklāo] (v) EN: let on ; give notice ; tell ; notify ; apprise ; inform ; announce to FR: informer ; aviser |
ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ | [chītyā khao klāmneūa] (v, exp) EN: intramuscular injection FR: faire une injection intramusculaire |
แดดกล้า | [daēt klā] (x) EN: burning sun |
ดังกล่าว | [dang klāo] (x) EN: aforementioned ; as above ; as stated ; as mentioned above ; aforesaid FR: comme mentionné ci-dessus ; supra |
ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว | [dangthī dāi klāo mā laēo] (xp) EN: as above-mentioned FR: comme mentionné précédemment |
หักล้าง | [haklāng] (v) EN: confute ; destroy ; erase ; obliterate ; refute ; disprove FR: réfuter |
ใจกล้า | [jaiklā] (adj) EN: fearless ; bold ; brave ; daring ; plucky ; courageous ; valiant ; adventuresome |
จนด้วยเกล้า | [jon dūay klāo] (x) EN: be baffled |
โจทนาว่ากล่าวซึ่งกันและกัน | [jōtthanā wā klāo seung kan lae kan] (v, exp) EN: indulge in mutual recriminations |
การบอกกล่าว | [kān bøkklāo] (n) EN: giving information ; notification ; telling ; advising ; informing FR: information [ f ] ; allégation [ f ] ; énonciation [ f ] |
การกล่าวหา | [kān klāohā] (v) EN: allegation ; accusation FR: accusation [ f ] ; allégation [ f ] |
การกล่าวคำหมิ่นประมาท | [kān klāo kham minpramāt] (n, exp) EN: slander |
การกล่าวโทษ | [kān klāothōt] (n) EN: indictment |
การโต้แย้งข้อกล่าวหา | [kān tōyaēng khøklāohā] (n, exp) EN: rebuttal |
การว่ากล่าวตักเตือน | [kān wāklāo takteūoen] (n, exp) EN: admonition |
เก่งกล้า | [kengklā] (adj) EN: brave |
เก่งกล้าสามารถ | [kengklāsāmāt] (adj) EN: brave |
คำคำบอกกล่าว | [khambøkklāo] (n) EN: notice |
คำกล่าว | [khamklāo] (n) EN: saying ; hearsay ; speaking ; speech ; remarks ; words ; utterance FR: paroles [ fpl ] ; dires [ mpl ] ; mots [ mpl ] |
คำกล่าวอ้าง | [kham klāo-āng] (n) EN: allusion ; reference FR: allusion [ f ] ; référence [ f ] |
คำกล่าวหา | [kham klāohā] (n) EN: charge ; accusation ; complaint FR: charge [ f ] ; accusation [ f ] |
คำกล่าวขวัญ | [kham klāokhwan] (n) EN: mention ; acknowledgment ; citation ; recognition |
คำกล่าวนำ | [kham klāonam] (n) EN: introduction FR: introduction [ f ] |
คำกล่าวปิดท้าย | [khamklāo pitthāi] (n, exp) EN: closing speech |
ข้าวกล้า | [khāoklā] (n) EN: rice seedlings ; germinating seed ; paddy sprout ; rice shoots |
คัดค้านคำกล่าวหา | [khatkhān kham klāohā] (v, exp) EN: reject an accusation |
ข้อกล่าวอ้าง | [khøklāo-āng] (n) EN: excuse ; defence |
ข้อกล่าวหา | [khøklāohā] (n) EN: indictment ; allegation ; accusation ; charge FR: accusation [ f ] ; incrimination [ f ] ; charge [ f ] |
ข้อกล่าวหาทางอาญา | [khøklāohā thāng āyā] (n, exp) EN: criminal charge FR: accusation criminelle [ f ] |
คนกล้า | [khon klā] (n, exp) EN: braver FR: brave [ m ] |
ครีมบรรเทาอาการปอดกล้ามเนื้อ | [khrīm banthāo ākān pøt klāmneūa] (n, exp) EN: analgesic cream FR: pommade analgésique [ f ] |
ความกล้าหาญ | [khwām klāhān] (n) EN: bravery ; courage ; valiance FR: courage |
ความกล้าหาญทางจริยธรรม | [khwām klāhān thāng jariyatham] (n, exp) EN: moral courage |
ความกล่าว | [khwām klāo] (n) FR: mention [ f ] |
กล้า | [klā] (n) EN: rice sprout ; paddy sprout ; seedling ; young plant FR: plant de riz [ m ] |
กล้า | [klā] (v) EN: dare ; venture FR: oser ; tenter ; faire preuve d'audace |
กล้า | [klā] (adj) EN: fearless ; bold ; brave ; daring ; enterprising ; courageous ; valiant ; gallant ; valorous ; audacious FR: courageux ; brave ; vaillant ; audacieux ; entreprenant ; volontaire |
กล้าได้กล้าเสีย | [klā dāi klā sīa] (adj) EN: sporting ; enterprising ; venturesome FR: risqué |
กล้าหาญ | [klāhān] (adj) EN: courageous ;bold FR: courageux ; audacieux ; brave |
กล้าม | [klām] (n) EN: muscle FR: muscle [ m ] |
กล้าม | [klām] (n) EN: coconut's kernel |
กล้ามเนื้อ | [klāmneūa] (n) EN: muscle FR: muscle [ m ] ; biceps [ m ] ; tissu musculaire [ m ] |
กล้ามเนื้อหัวใจ | [klāmneūa hūajai] (n, exp) EN: cardiac muscle |
กล้ามเนื้อกะบังลม | [klāmneūa kabang-lom] (n, exp) EN: diaphragm FR: diaphragme [ m ] |
กล้ามเนื้อลาย | [klāmneūa lāi] (n, exp) EN: reticular muscle |
กล้ามเนื้อเรียบ | [klāmneūa rīep] (n, exp) EN: smooth muscle |
กล้ามเนื้อตา | [klāmneūa tā] (n, exp) EN: ciliary muscle FR: muscle ciliaire [ m ] |
กล้ามเนื้อท้อง | [klāmneūa thøng] (n, exp) EN: abdominal muscles FR: abdominaux [ mpl ] |
กล่าว | [klāo] (n) EN: say ; speak ; talk ; deliver a speech ; remark ; utter ; pronounce ; state ; express ; mention ; declare FR: dire ; prononcer ; parler ; déclarer ; proférer ; faire une déclaration ; énoncer |
abuse | (vt) สบประมาท, See also: ดูถูก, ครหา, กล่าวร้าย, ประจาน, ผรุสวาท, Syn. revile, malign |
accusation | (n) การกล่าวหา, See also: การประณาม, การหาเหตุ, Syn. indictment, accusal, arraignment |
accusation | (n) ข้อกล่าวหา, See also: ข้อหา, คำกล่าวหา, Syn. charge, indictment, allegation |
accuse | (vt) กล่าวหา, See also: กล่าวโทษ, ปรักปรำ, Syn. blame, charge |
accused | (adj) ซึ่งถูกกล่าวหาหรือฟ้องร้อง, Syn. arraigned, indicted, blamed |
accused | (n) ผู้ต้องหา, See also: จำเลย, ผู้ถูกกล่าวหา |
accuser | (n) ผู้กล่าวหา, See also: โจทก์, ผู้ฟ้อง, ผู้ฟ้องร้อง, Syn. prosecutor, plaintiff, objector |
aforementioned | (adj) ดังที่กล่าวมาก่อนแล้ว, See also: ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น, ดังที่กล่าวมา |
aforesaid | (adj) ดังที่กล่าวมาก่อน |
again | (adv) เพิ่มจากที่กล่าวไปแล้ว, See also: นอกจากนี้, Syn. besides, further |
alibi | (n) คำกล่าวอ้างที่ผู้ถูกกล่าวหาอ้างว่าได้อยู่ที่อื่นขณะเกิดเหตุ, Syn. proof of absence, defense, defense of being elsewhere |
allegation | (n) การกล่าวหา, Syn. assertion, affirmation, charge |
allegation | (n) ข้อหา, See also: ข้อกล่าวหา |
allege | (vt) กล่าวหา, See also: กล่าวโทษ, กล่าวร้าย, ปรักปรำ |
allege | (vi) กล่าวหา, See also: กล่าวโทษ, กล่าวร้าย, ปรักปรำ, Syn. assert, affirm |
alleged | (adj) ซึ่งถูกกล่าวหา, Syn. asserted |
allegedly | (adv) ถูกกล่าวหา, Syn. assertedly |
arraign | (vt) กล่าวหา, Syn. accuse, charge, indict |
arraignment | (n) การกล่าวหา, Syn. accusation, blame |
accuse of | (phrv) กล่าวหาว่า, See also: กล่าวหา |
advert to | (phrv) พูดถึง, See also: เอ่ยถึง, พูด, บอก, กล่าว, Syn. bring up, mention, talk about |
and then some | (idm) มากกว่านั้น (คำไม่เป็นทางการ), See also: มากกว่าที่กล่าวมา |
apprise of | (phrv) ได้รับแจ้งเรื่องเกี่ยวกับ (ปกติใช้ passive voice), See also: ได้รับการบอกกล่าวเรื่อง |
as far as it goes | (idm) เท่าที่จะเป็นได้ (มักใช้กล่าวถึงสิ่งที่มีไม่พอ) |
at the end of the day | (idm) เมื่อไตร่ตรองทุกอย่างแล้ว (ใช้กล่าวก่อนเข้าสู่สิ่งสำคัญ), See also: เมื่อพิจารณาทุกอย่างแล้ว |
bird of prey | (n) นกล่าสัตว์อื่นหรือนกเล็กๆ เป็นอาหาร |
blame | (vt) ตำหนิ, See also: ว่ากล่าว, Syn. complain, criticize, Ant. praise |
blaspheme | (vt) พูดดูหมิ่นหรือสบประมาทศาสนา, See also: กล่าวถ้อยคำหยาบคาย, Syn. defile, desecrate, Ant. honor, revere |
blasted | (adj) ใช้กล่าวเมื่อไม่พอใจบางสิ่ง |
blasted | (adv) ใช้กล่าวเมื่อไม่พอใจบางสิ่ง |
broadside | (n) การกล่าวโจมตี |
bawl out | (phrv) ดุด่า (คำไม่เป็นทางการ), See also: ด่าว่า, ว่ากล่าว, Syn. tell off |
be at each other's throats | (idm) ทำให้กลัว (ด้วยการกระทำหรือคำพูด), See also: กล่าวโจมตี, ขู่ให้กลัว |
be on at | (phrv) ดุด่า, See also: ว่ากล่าว, Syn. go on at |
beyond words | (idm) เกินกว่าจะกล่าว (มักใช้กับ grateful และ thankful) |
blame for | (phrv) ตำหนิในเรื่อง, See also: ติเตียนในเรื่อง, กล่าวโทษ |
blame on | (phrv) ตำหนิ, See also: กล่าวโทษว่าเกิดจาก |
blow up | (phrv) กล่าวเกินจริง, See also: ทำให้เกินจริง |
bring up | (phrv) ดุด่า, See also: ว่ากล่าว, Syn. tell off |
brush down | (phrv) ตำหนิ, See also: ดุด่า, ว่ากล่าว, Syn. tell off |
burn up | (phrv) ดุด่า (คำไม่เป็นทางการ), See also: ว่ากล่าว, ด่าว่า, Syn. tell off |
calumniate | (vt) ใส่ร้าย, See also: กล่าวร้ายผู้อื่นเพื่อให้เสียชื่อเสียง, Syn. defame, slander |
censurable | (adj) ที่มีสิทธิที่จะว่ากล่าว, Syn. blameworthy, culpable |
censurably | (adv) อย่างมีสิทธิที่จะว่ากล่าว, Syn. blamably |
chain gang | (n) นักโทษที่ถูกล่ามโซ่ไว้ด้วยกัน (โดยเฉพาะที่ต้องออกไปทำงานนอกคุก) |
charge | (vt) กล่าวหา, See also: กล่าวโทษ, ใส่ความ, Syn. accuse, impute |
charge | (n) ข้อกล่าวหา, See also: คำกล่าวหา, Syn. aaccusation |
chaser | (n) ผู้ตามล่า, See also: นักล่า, Syn. pursuer, hunter |
cheers | (int) คำกล่าวเมื่อชนแก้วกันหมายถึงขอให้มีสุขภาพดี, Syn. to your health |
citation | (n) การกล่าวอ้าง, Syn. mention, citing, reference |
aba | (อะบา' อาบา) n. สิ่งทอขนอูฐหรือขนแกะเสื้อคลุมที่ไม่มีแขนที่ทำด้วยสิ่งทอดังกล่าว ใช้โดยชาวอาหรับ |
abuse | (อะบิวซ) vt., n. ใช้ในทางผิด, ใช้มากเกินไป, ใช้เป็นโทษ, หลอกลวง, ข่มขืน, ชำเรา, กล่าวร้าย. -abusive adj., -abuser n. |
acanthopterygian | (อะแคนธอพทะริจ' เจียน) adj. เกี่ยวกับปลาที่เหมือมีหนาม (Acanthopterygii) , ปลาดังกล่าว bass and perch) |
accusation | (แอคคิวเซ' เชิน) n. การกล่าวหา, คำประนาม, การตำหนิ, การกล่าวโทษ, การใส่ความ, Syn. allegation |
accusative | (อะคู' ซะทิฟว) adj. ซึ่งกล่าวหา |
accusatorial | (อะคูซะทอ' เรียล) adj. เกี่ยวกับผู้กล่าวหา, Syn. pertaining to an accuser |
accusatory | (อะคิว' ซะโทรี) adj. ซึ่งกล่าวหา, ซึ่งฟ้องร้อง, Syn. accusing, accusative |
accuse | (อะคิวซ') vt., vi. กล่าวหา, ต่อว่า, ใส่ความ, Syn. charge, blame, incriminate |
accused | (อะคิวซดฺ') adj., n. ซึ่งถูกกล่าวหาหรือฟ้องร้อง, ผู้ถูกกล่าวหาหรือฟ้องร้อง |
acidophil | (แอส' ซิโดฟิล, แอสซิด' โดฟิลลิค) adj. ซึ่งติดนิย้อม acid dyes ได้ดี, เซลล์หรือเนื้อเยื่อที่มีคุณสมบัติดังกล่าว., Syn. acidophilous |
admission | (แอคมิช' เชิน) n. การรับเข้า, การยอมรับรอง, การรับสารภาพ, สิทธหรือวิธีการเข้าไป, ราคาสำหรับเข้าไป, การยอมรับข้อกล่าวหาหรือความจริง, Syn. allowance, admittance |
admonish | (แอดมอน' นิช) vt. ตักเตือน, ให้สติ, ว่ากล่าว, ห้าม. -admonishment n. |
advert | (แอดเวอท') vi. ให้ความเห็น, หันความสนใจ, กล่าวถึง, พูดถึง, Syn. heed, refer |
aforementioned | (อะฟอร์' เมนเชินดฺ) adj. ดังที่กล่าวมาก่อนแล้ว, Syn. mentioned |
aforesaid | (อะฟอรฺ' เซด) adj. ดังที่กล่าวมาก่อน, Syn. said earlier |
agora | (แอก' โกระ) n., (pl. -orae) การชุมนุมทางการเมืองที่มีชื่อเสียง , สถานที่ ๆ มีการชุมนุมดังกล่าว (popular political assembly) |
allegation | (แอลลิเก' เชิน) n. การกล่าวหา, การยืนยัน, การอ้าง, ข้อกล่าวหา, ข้ออ้าง, ข้อยืนยัน, กล่าวหา, Syn. accusation, assertion |
allege | (อะเลจฺ') vt. กล่าวหา, อ้าง, ยืนยัน, แถลง. -allegeable adj. -alleger n. |
alleged | (อะเลดจฺดฺ') adj. ซึ่งกล่าวหา, ซึ่งยืนยัน, น่าสงสัย, ซึ่งกล่าวถึง. -alledgedly adv., Syn. assert |
allemande | (แอล' ลิมานดฺ) n., (pl. -mandes) การเต้นรำในศตวรรษที่ 17-18 ที่มีจังหวะคู่ที่ช้า, ดนตรีที่อาศัยหลักการเต้นรำดังกล่าว |
allen's law | เป็นภาวะที่เกิดในผู้ป่วยโรคเบาหวานซึ่งมีทฤษฎีนี้กล่าวว่า มีการรับคาร์โบไฮเดรตมากแต่มีการใช้ยิ่งน้อยลง |
alpaca | (แอลแพค' คะ) n. สัตว์คล้ายแกะในอเมริกาใต้ จำพวก Lama ขนของสัตว์ดังกล่าว, สิ่งทอที่ทำด้วยขนสัตว์ดังกล่าว, สิ่งทอที่ทำคล้ายหรือเลียนขนสัตว์ดังกล่าว (genus Lama) |
alpha test | การทดสอบรอบแรกหมายถึง การนำเอาโปรแกรมสำเร็จที่เขียนเสร็จใหม่ ๆ ไปให้ "กลุ่มลูกค้าประจำ" ทดลองใช้ดูก่อน หรือพูดง่าย ๆ ว่า ให้ช่วยเป็นผู้ตรวจสอบเบื้องต้นให้ เพื่อจะดูว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นนั้นใช้ได้ดีหรือไม่ ยังขาดตกบกพร่องอะไรบ้าง หรือมีปัญหาในเรื่องใด โดยปกติแล้ว การทดลองนำไปใช้ครั้งแรกนี้ จะยังมีเรื่องที่ต้องแก้ไขอีกมาก โปรแกรมดังกล่าวจะมีข้อความบ่งบอกไว้ว่า เป็น alpha version หมายความว่า รุ่นทดสอบรอบแรก ดู beta version ประกอบ |
alpha version | รุ่นทดสอบรอบแรกหมายถึง การนำเอาโปรแกรมสำเร็จที่เขียนเสร็จใหม่ ๆ ไปให้ "กลุ่มลูกค้าประจำ" ทดลองใช้ดูก่อน หรือพูดง่าย ๆ ว่า ให้ช่วยเป็นผู้ตรวจสอบเบื้องต้นให้ เพื่อจะดูว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นนั้นใช้ได้ดีหรือไม่ ยังขาดตกบกพร่องอะไรบ้าง หรือมีปัญหาในเรื่องใด โดยปกติแล้ว การทดลองนำไปใช้ครั้งแรกนี้ จะยังมีเรื่องที่ต้องแก้ไขอีกมาก โปรแกรมดังกล่าวจะต้องมีข้อความบ่งบอกไว้ว่าเป็นรุ่นทดสอบรอบแรก มีความหมายเหมือน alpha testดู beta version ประกอบ |
ambition | (แอมบิช' เชิน) n. ความทะเยอทะยาน, ความมักใหญ่ใฝ่สูง, ความปรารถนาอันแรงกล้า, เป้าหมายของความปรารถนาดังกล่าว . -vt. ปรารถนา อย่างแรงกล้า. -ambitionless adj., Syn. longing, goal, Ant. aimlessness |
americana | (อะเมริแคน' นะ) n. หนังสือหรือแผนที่ที่เกี่ยวกับอเมริกา, สิ่งสะสมดังกล่าว |
analog | (แอน' นะลอก) n. = analogue อะนาล็อก เชิงอุปมานหมายถึง วิธีการเก็บข้อมูลที่ได้จากการวัดในลักษณะต่อเนื่อง เช่น วัดความเร็วของรถยนต์จากการหมุนของวงล้อ ตรงข้ามกับ ดิจิตอล (digital) ซึ่งหมายถึง การเก็บข้อมูลที่เป็นตัวเลข นาฬิกามีใช้ทั้งสองแบบ ซึ่งจะบอกความแตกต่างระหว่างอะนาล็อกและดิจิตอลได้ชัดเจน กล่าวคือ แบบหนึ่งจะแสดงเวลาเป็นตัวเลข ส่วนอีกแบบหนึ่งใช้เข็มสั้นและเข็มยาวเป็นตัวบอกเวลา เรียกว่าแบบอะนาล็อก คอมพิวเตอร์นั้นมีสองชนิด คือชนิดอะนาล็อกและชนิดดิจิตอล แต่คอมพิวเตอร์ที่เรารู้จักกันนั้นจะเก็บเฉพาะข้อมูลที่เป็นดิจิตอล "เสียง" เป็นข้อมูลที่มีลักษณะเป็นอะนาล็อก เมื่อจะนำเข้าไปเก็บในคอมพิวเตอร์ จะต้องถูกนำไปเปลี่ยนเป็นดิจิตอลก่อน โดยให้ผ่านอุปกรณ์ชนิดหนึ่งเรียกว่า "โมเด็ม" ดู digital เปรียบเทียบ |
ancestry | (แอน' เซสทรี) n. บรรพบุรุษ, เทือกเถาเหล่ากอทั้งหลาย, วงศ์ตระกูล, มูลรากที่มาของปรากฎการณ์สิ่งของข้อคิดเห็นหรือรูปแบบ, ขบวนการหรือประวัติดังกล่าว, Syn. forefathers, lineage, origin, ancestral descent |
anchovy pear | ผลไม้ของต้น Grias cauliflora คล้ายผลมะม่วง, ต้นไม้ดังกล่าว (a West Indian tree) |
anglo-norman | (แอง' โกลนอร์' มัน) adj. เกี่ยวกับสมัย ค.ศ.1066-1155 เมื่ออังกฤษถูกปกครองโดยชาวนอร์มัน, เกี่ยวกับภาษาฝรั่งเศสที่ใช้ในอังกฤษในสมัยดังกล่าว. -n. คนหรือภาษาในสมัยดังกล่าว |
angora | (แองโก' ระ) n. ขนแพะของชนกระค่ายพันธุ์ Angora, สิ่งทอที่ทำจากขนดังกล่าว. =Ankara., Syn. Angora wool |
annuity | (อะนู' อิที) n. เงินรายได้เป็นรายปี, สิทธิที่จะได้รับเงินดังกล่าว, Syn. allowance |
anoxia | (แอนออค' เซีย) n. ภาวะที่มีอ็อกซิเจนในเนื้อเยื่อร่างกายต่ำกว่าปกติ, ภาวะผิดปกติทางกายและจิตที่เนื่องจากภาวะดังกล่าว. -anoxic adj. (abnormally low amount of oxygen) |
anthem | (แอน' เธม) n. เพลงสดุดี, เพลงสวด, เพลงชาติ, เพลงสรรเสริญพระบารมี, เพลงสรรเสริญที่ร้องโดยคนหลายคน. -vt. สดุดีด้วยเพลงดังกล่าว, Syn. hymn, song, psalm, chant |
anti-icer | (แอนทีไอ' เซอะ) n. เครื่องมือป้องกันการเกิดน้ำแข็ง, ของเหลวที่มีฤทธิ์ดังกล่าว |
anticlimax | (แอนทีไคล' แมคซฺ) n. เหตุการณ ์ (ข้อสรุป, บทความ, การพูด, เนื้อหา) ที่สำคัญน้อยกว่าที่คาดหมายอย่างกระทันหัน, การเปลี่ยนความเข้มข้นหรือความสำคัญของเรื่องราวดังกล่าวอย่างทันที. -anticlimac- |
anticoagulant | (แอนทีโคแอก' กิวเลินทฺ) adj., n. ซึ่งต้านการจับเป็นก้อนหรือลิ่มของเลือด, สารหรือยาที่มีฤทธิ์ดังกล่าว., Syn. anticoagulative |
anticorrosive | (แอนทีคะโร' ซิฟว) adj., n. ซึ่งป้องกันหรือต้านการสึกกร่อน, กันสนิม, สารที่ฤทธิ์ดังกล่าว |
antiknock | (แอนทินอค') adj., n. กันการระเบิดสะเทือนของเครื่องยนต์, สารที่มีฤทธิ์ดังกล่าว |
antipathetic | (al) (แอนทีพาเธท' ทิค, -เคิล) adj. เป็นปรปักษ์ต่อ, ไม่ชอบ, ไม่ลงรอยต่อ, เกลียด, ไม่พอใจกับ, ทำให้มีความรู้สึกดังกล่าว (averse) |
antiseptic | (แอนทีเซพ' ทิค) adj., n. ซึ่งป้องกันหรือทำให้ปราศจากเชื้อจุลินทรีย์, สารหรือ ยาที่มีฤทธิ์ดังกล่าว, Syn. aseptic, disinfectant |
antitrade | (แอน' ทีเทรด) n. ลมที่พัดเหนือลม, สินค้าในแถบร้อนของโลก. -adj. เกี่ยวกับลมดังกล่าว (that opposite to the trade winds) |
antivenin | (แอนทีเวน' นิน) n. สารต้านพิษงูในเลือดที่เกิดจากการฉีดพิษงูอ่อนมากหลาย ๆ ครั้ง, ซีรัมที่มีสารต้านพิษงูดังกล่าว (an antitoxin) |
apologia | (แอพพะโล'เจีย) n. หนังสือแก้ต่างหรือแก้ข้อกล่าวหา, การแก้ข้อกล่าวหา (apology) |
apologist | (อะพอล'โลจิสทฺ) n. ผู้ขออภัย, ผู้แก้ข้อกล่าวหา, Syn. advocate |
apple computer inc. | บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ <คำแปล>เป็นชื่อบริษัทที่ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ยี่ห้อแอปเปิล ชุดที่โด่งดังมาก ได้แก่ แอปเปิลทู (Apple II) และ แมคอินทอช (Macintosh) ฯ คอมพิวเตอร์แอปเปิลที่วางขาย ในตลาดรุ่นแรก ๆ นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างความฮือฮาอย่างมากในวงการคอมพิวเตอร์ เพราะเป็นครั้งแรก (ราว ค.ศ.1977) ที่มีการผลิตคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กในราคาที่คนทั่วไปจะหาไว้ใช้เป็นสมบัติส่วนตัวได้ ผู้ที่ช่วยกันริเริ่มคิดประดิษฐ์ได้แก่ Steve Jobs กับ Steve Wozniak สองสหายวัยรุ่นที่สร้างเครื่องต้นแบบเครื่องแรกในโรงรถ ส่วนเครื่องรุ่นแมคอินทอชนั้นเป็นคอมพิวเตอร์ยี่ห้อแรกที่เริ่มนำสัญรูป (icon) รายการคำสั่ง แบบดึงลง (pull down menu) กรอบสนทนา (dialog box) เมาส์ (mouse) ฯลฯ มาใช้ ทำให้คนทั่วไปเริ่มรู้สึกว่า การใช้คอมพิวเตอร์ไม่ใช่ของยากอะไรเลย ปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้หนักไปในด้านการผลิตสิ่งพิมพ์ (desktop publishing) อย่างไรก็ตาม หาใช่มีแต่เครื่องแอปเปิลแมคอินทอชเท่านั้นไม่ที่ใช้ระบบการทำงานดังที่กล่าวแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์พีซีก็เลียนแบบ โดยการนำเอาระบบวินโดว์มาใช้ |
apply | (อะไพล') vt., vi. ใช้, ใช้เป็นประโยชน์, ประยุกต์, แผ่บน, สมัคร, ขอ, ร้องเรียน, บอกกล่าว, |
apprise | (อะไพรซ') vt. แจ้งข่าว แนะนำ, บอกกล่าว, Syn. inform, notify, tell |
apprize | (อะไพรซ') vt. แจ้งข่าว แนะนำ, บอกกล่าว, Syn. inform, notify, tell |
aquatone | (แอค'วะโทน) n. ขบวนการพิมพ์ระบบออฟเซท (offset) จากแผ่นโลหะที่ฉาบด้วยแยลลาตีนที่ไวต่อแสง, สิ่งตีพิมพ์ด้วยระบบดังกล่าว |
accusation | (n) การกล่าวหา, การใส่ความ, การใส่ร้าย |
accuse | (vt) กล่าวหา, ใส่ร้าย, ใส่ความ |
accused | (n) จำเลย, ผู้ถูกกล่าวหา |
adage | (n) สุภาษิต, ภาษิต, คติพจน์, คำกล่าว |
address | (vt) กล่าวกับ, จ่าหน้าซองถึง |
admonish | (vt) ห้าม, ตักเตือน, ว่ากล่าว, ให้สติ |
admonition | (n) การว่ากล่าว, การห้าม, การตักเตือน |
admonitory | (adj) ซึ่งตักเตือน, ซึ่งว่ากล่าว, ซึ่งเตือนสติ |
aforesaid | (adj) ดังกล่าวมาแล้ว |
allegation | (n) การพูดพล่อย, การกล่าวหา, ข้อกล่าวหา, ข้ออ้าง |
allege | (vt) พูดพล่อย, อ้าง, กล่าวหา |
apologist | (n) ผู้ขอโทษ, ผู้ขออภัย, ผู้แก้ตัว, ผู้แก้ข้อกล่าวหา |
apply | (vi) สมัครงาน, ร้องเรียน, ขอ, ร้องขอ, บอกกล่าว |
arraign | (vt) ออกหมายเรียกตัว, กล่าวหา, นำตัวมาขึ้นศาล, ฟ้องร้อง |
arraignment | (n) การออกหมายเรียกตัว, การฟ้องร้อง, การกล่าวหา |
asperse | (vt) กล่าวหา, ใส่ร้ายป้ายสี, แพร่ข่าวเท็จ |
aspersion | (n) การกล่าวหา, การใส่ร้าย, ข่าวเท็จ |
belabour | (vt) ตี, เฆี่ยน, กล่าวหา, เหยียดหยาม |
blame | (vt) กล่าวโทษ, ติเตียน, ตำหนิ, ประณาม, กล่าวร้าย |
BOUNTY bounty hunter | (n) นักล่าเงินรางวัล |
charge | (vi) คิดราคา, กล่าวหา, ฟ้อง, บรรจุ, มอบหมาย, มอบให้ทำ |
charger | (n) ม้าศึก, เครื่องอัดไฟ, ผู้กล่าวหา, ผู้ฟ้องร้อง, ผู้เรียกเก็บเงิน |
check | (vt) ทำให้ชะงัก, ดึง, ทำให้หยุด, ทัดทาน, ว่ากล่าว, ตรวจสอบ |
circumstantial | (adj) สุดแต่โอกาส, ตามสถานการณ์, ตามสภาพแวดล้อม, กล่าวโดยละเอียด |
citation | (n) การอ้าง, การอ้างอิง, การกล่าวถึง, การส่งหมาย, หมายศาล |
cite | (vt) อ้างถึง, อ้างอิง, กล่าวถึง, ส่งหมาย, ออกหมายเรียก |
complain | (vi) บ่น, ร้องทุกข์, คร่ำครวญ, ฟ้อง, กล่าวหา |
condemn | (vt) กล่าวโทษ, ประณาม, ตำหนิ, ตราหน้า, ด่าว่า, ลงโทษ, ตัดสินความ |
condemnation | (n) การกล่าวโทษ, การประณาม, การตำหนิ, การลงโทษ, การตัดสินความ |
countercheck | (n) การตรวจทาน, การหยุดยั้ง, การยับยั้ง, การว่ากล่าวสั่งสอน |
declare | (vi, vt) ประกาศ, แถลง, เปิดเผย, บอกกล่าว, แจ้ง |
dedication | (n) การอุทิศ, คำกล่าวอุทิศ |
deliver | (vt) ช่วยให้รอดพ้น, ช่วยทำคลอด, นำส่ง, มอบ, โยน, กล่าว |
delivery | (n) การพูดจา, การกล่าวสุนทรพจน์, การส่งมอบ, การคลอดลูก |
denounce | (vt) ประณาม, หมิ่นประมาท, กล่าวโทษ, ปรักปรำ, ติเตียน |
denunciation | (n) การประณาม, การกล่าวโทษ, การติเตียน, การปรักปรำ |
detail | (vt) แจกแจงรายละเอียด, กล่าวโดยละเอียด |
dictum | (n) สุภาษิต, คำกล่าว, คำสั่ง |
dispraise | (vt) ตำหนิ, ติเตียน, ว่ากล่าว, กล่าวร้าย, ด่า |
ditto | (adi) เช่นเดียวกัน, อย่างเดียวกัน, เหมือนกัน, ดังที่กล่าวมาแล้ว |
ditto | (n) เครื่องหมายละ, สิ่งที่เหมือนกัน, สิ่งที่กล่าวมาแล้ว |
echo | (vi) ส่งเสียงก้อง, หวนกลับ, กล่าวซ้ำ, สะท้อนกลับ |
eulogise | (vt) กล่าวสรรเสริญ, สรรเสริญเยินยอ |
eulogize | (vt) กล่าวสรรเสริญ, สรรเสริญเยินยอ |
exonerate | (vt) ทำให้พ้นจากข้อครหา, ทำให้พ้นจากข้อกล่าวหา, ปลดเปลื้องภาระ |
expostulate | (vt) ขัดแย้ง, ทัดทาน, ว่ากล่าว, ตักเตือน, เตือน |
expostulation | (n) การขัดแย้ง, การทัดทาน, การว่ากล่าว, การตักเตือน |
game | (n) การละเล่น, เกม, เครื่องเล่น, กีฬา, สัตว์ที่ถูกล่า, การแข่งขัน, กลวิธี |
generalization | (n) การพูดคลุม, การกล่าวอย่างกว้างๆ, ลักษณะทั่วไป |
generalize | (vt) กล่าวอย่างกว้างๆ, วางหลัก, ลงความเห็น, พูดคุย |
Chloroprene rubber | (n) ยางคลอโรพรีน เป็นยางที่สังเคราะห์จากมอนอเมอร์ของคลอโรพรีน ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม เป็นยางที่มีขั้วเนื่องจากประกอบด้วยอะตอมของคลอรีน ทำให้ยางชนิดนี้มีสมบัติด้านการทนไฟ, ความทนต่อสารเคมีและน้ำมัน ซึ่งผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้งานในลักษณะดังกล่าวได้แก่ ยางซีล, ยางสายพานลำเลียงในเหมืองแร่ เป็นต้น |
community enterprise | กิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการ หรือการอื่น ๆ ที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการดังกล่าว เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชน และระหว่างชุมชน |
cooperage | (n) กิจการที่เกี่ยวกับการทำถังไม้ เช่น ถังไม้โอ๊คสำหรับบ่มไวน์ หรือสถานที่สำหรับดำเนินการดังกล่าว หรือสิ่งที่ช่างทำถัง (COOPER) ทำออกมา อ่านว่า คูป-เปอร์-ริจ |
Cosmic Consciousness | (jargon) จักรวาลพิชาน เป็นแนวคิดที่ถูกเสนอในปี 1901 กล่าวถึง "ความตระหนักรู้แจ้งในระดับที่เหนือกว่าคนทั่วไป" |
cyber security | ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์, ภาวะที่เครือข่าย ระบบคอมพิวเตอร์ โปรแกรม และข้อมูล พ้นจากภัยคุกคาม มีลักษณะสำคัญ ๓ ประการ คือ คงความลับ คงความถูกต้องครบถ้วน และคงความพร้อมใช้งาน ภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยบุคลากร กระบวนการทำงาน และเครื่องมือ ที่เหมาะสม [ ศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับราชบัณฑิตยสภา ] |
foregoing | [ฟอร์-โก-อิ้ง] (n, adj) สิ่งที่กล่าวมาก่อนหน้านี้, ข้อความก่อนหน้านี้ มักใช้ว่า the foregoing (อาจจะใช้ในเชิงกฎหมาย) เช่น The foregoing shall not affect the obligation of any person to comply with the applicable provisions of laws. ถ้าเป็น adj. จะใช้เติมนำหน้านามเท่านั้น, See also: A. following |
infarction | [อิน ฟาร์ค ชั่น] (n) เป็นการตายของเนื้อเยื่อ (necrosis)เนื่องจากบริเวรที่เกิดปัญหามีเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอหรือไม่มีเลือดไปเลี้ยงเลยทำให้เกีดเป็นบริเวณเนื้อตาย อาจเกีดจากการอุดตัน การแตกของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยง ซึ่งรอยโรคที่เกิดจากพภาวะดังกล่าวเรียกว่า an infarct (มาจากภาษาลาตินคำว่า infartus "อุดตัน.) ตัวอย่าง cerebral infarction "เนื้อสมองตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง" |
last but not least | สุดท้าย แต่สำคัญไม่น้อยกว่าคน หรือเรื่อง หรือสิ่ง ที่กล่าวมาแล้ว |
Literature Review | (n, phrase) การทบทวนงานวิจัย, การกล่าวถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง, Syn. Related Research |
malware | (n) Malicious software (mal-ware) is a form of computer program designed with malicious intent. This intent may be to cause annoying pop-up ads with the hope you click on one and generate revenue, or forms of spyware and viruses that can be used to steal your identity or track your activities. รูปแบบหนึ่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ถูกออกแบบมาด้วยจุดประสงค์แอบแฝงบางอย่าง จุดประสงค์ดังกล่าวอาจจะเพื่อสร้างหน้าต่างโฆษณาที่เปิดขึ้นมาเองโดยอัติโนมัติ ด้วยความหวังที่ว่าจะให้คุณกดเข้าไปและสร้างรายได้ให้กับบุคคลเหล่านั้น หรือ รูปแบบของ spyware และ ไวรัสคอมพิวเตอร์ ที่สามารถใช้เพื่อการขโมยตัวตนของคุณบนอินเตอร์เน็ต หรือ ติดตามกิจกรรมต่างของคุณ, Syn. Malicious software |
manufacturing facility | (n, countable, noun) โรงงาน สถานที่ผลิต (เป็นคำที่ใช้กล่าวถึงโรงงานอย่างเป็นทางการ) |
oligohydramnios | (n) ถุงน้ำคร่ำแตกตั้งแต่อายุครรภ์อ่อนๆ ทำให้น้ำคร่ำในโพรงมดลูกลดน้อยลง ทารกในครรภ์จะถูกกดทับโดยผนังมดลูกจนทำให้ทารกมีความพิการเกิดขึ้น เช่น เท้าปุก (club foot) บางครั้งทำให้ทารกมีกลุ่มอาการคล้ายกับที่พบใน Potter’s syndrom ซึ่งเรียกกลุ่มอาการดังกล่าวว่า |
oligohydramnios | (n) ถุงน้ำคร่ำแตกตั้งแต่อายุครรภ์อ่อนๆ ทำให้น้ำคร่ำในโพรงมดลูกลดน้อยลง ทารกในครรภ์จะถูกกดทับโดยผนังมดลูกจนทำให้ทารกมีความพิการเกิดขึ้น เช่น เท้าปุก (club foot) บางครั้งทำให้ทารกมีกลุ่มอาการคล้ายกับที่พบใน Potter’s syndrom ซึ่งเรียกกลุ่มอาการดังกล่าวว่า oligohydramnios tetrad |
overlapping territorial claims area | (n) พื้นที่ทับซ้อน, พื้นที่ทางบกหรือทางทะเลซึ่งมีประเทศมากกว่า ๑ ประเทศ อ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ สงคราม ความเชื่อทางศาสนา ที่ตั้งของชุมชนทางชาติพันธุ์หรือชนกลุ่มน้อย หรือผลประโยชน์แห่งรัฐ เช่น พื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารที่มีปัญหาการอ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่ดังกล่าว ระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา. หมู่เกาะสแปรตลีที่เป็นพื้นที่ทับซ้อน มีหลายประเทศต่างอ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะทั้งหมดหรือบางส่วนของหมู่เกาะ ได้แก่ จีน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน บูรไน และ มาเลเซีย |
panegyric | (n) บทสดุดี คือสุนทรพจน์อย่างเป็นทางการหรือต่อมาเป็นบทเขียนที่ใช้ในการสรรเสริญบุคคลหรือสิ่งของ เป็นคำที่มาจากภาษากรีกที่หมายถึงสุนทรพจน์ที่เหมาะแก่ที่ประชุม (panegyris) ในเอเธนส์การกล่าวบทสดุดีจะทำกันในเทศกาลระดับชาติหรือในการแข่งขันกีฬาโดยมีจุดประสงค์ในการเร้าใจผู้ที่มาร่วมเพื่อให้ปฏิบัติตนเช่นตัวอย่างอันดีของบรรพบุรุษ (Source:wikipedia.org), See also: eulogy |
Patmose | [พัท มอส] (n) Patmos เป็นชื่อเกาะขนาดเล็กใน(เป็นภาษากริก) Aegean ทะเลและสามารถพบได้ระหว่างเกาะ Leros และ Ikaria. ... ประมงประวัติของพิพิธภัณฑ์เป็นนักท่องเที่ยว Philoproodos กล่าวกันว่านักบุญจอห์นอีแวนเจลลิสเป็นคนคนเดียวกับ “นักบุญอัครสาวก” ... (ดูเพิ่ม นักบุญจอห์นเพรสไบเตอร์ (John the Presbyter) และ นักบุญจอห์นแห่งพัทโมส (John of Patmos) ...ได้เห็นนิมิตที่พระเจ้าททรงประทานให้พ่านทูตสวรรค์ และยอห์นเขียนขึ้นมาเป็นเล่มเรียกชื่อว่า "พระธรรมวิวรณ์" |
respondent | (n) (กฎหมาย) จำเลย.ผู้ถูกกล่าวโทษ, ผู้แก้ต่าง (ในคดี เช่น การฟ้องหย่า, การทำผิดเกี่ยวกับหลักทรัพย์ อาทิ การนำกำไรลูกค้าเข้าตัวเอง) |
RSV | (abbrev) ไวรัส RSV หรือ Respiratory Syncytial Virus เป็นสาเหตุของการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจตั้งแต่ส่วนบนจนถึงส่วนล่าง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหลอดลมฝอยอักเสบ (Acute bronchiolitis) และอาจทำให้ปอดอักเสบติดเชื้อได้ (Pneumonia) โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กที่มีโรคประจำตัว คลอดก่อนกำหนด ฯลฯ อาการเริ่มแรกเหมือนไข้หวัด คือ มีไข้ ไอ น้ำมูกไหล แต่จะมีไอมาก เสมหะเยอะและเหนียวข้น หายใจหอบเหนื่อย หน้าอกบุ๋ม อาจมีเสียหงายใจดังวี๊ดๆ ซึม ไม่กินน้ำ หงุดหงิด กระวุนกระวาย มีสีเขียวคล้ำบริเวณริมฝีปาก หรือ ปลายมือปลายเท้า เนื่องจากร่างกายขาดออกซิเจน หากมีอาการดังกล่าว ควรไปพบแพทย์ ที่มา: เอกสารแผ่นพับจากโรงเรียนอนุบาลชนานันท์ เรียบเรียงโดยก้านแก้ว จากการสัมภาษณ์ เรืออากาศเอกแพทย์หญิงหฤทัย กมลาภรณ์ โรงพยาบาลรามาธิบดี |
set out | (vt) แถลง, กล่าวหา, อ้าง, บรรยายข้อเท็จจริง |
Shrink Wrap License | สัญญาอนุญาตให้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาตัวอย่าง (Model Contract) เพื่อให้ผู้ที่ประสงค์จะขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวใช้เป็นแบบในการทำสัญญา |
the rich and famous | (n) บุคคลที่ร่ำรวยและโด่งดังในวงสังคม; กลุ่มคนดังกล่าว |
victim blaming | (phrase) การกล่าวโทษเหยื่อ |
victim blaming | (phrase) การกล่าวโทษเหยื่อ |
victim blaming | (phrase) การกล่าวโทษเหยื่อ |
victim blaming | (phrase) การกล่าวโทษเหยื่อ |
victim blaming | (phrase) การกล่าวโทษเหยื่อ |
water monitor | (n) ตะกวด ตัวเหี้ย สัตว์เลื้อยคลานประเภทดังกล่าว |
When it comes to (s/o, s/th) | (phrase) เมื่อพูดถึงคุณ, เมื่อกล่าวถึงคุณ, เมื่อนึกถึงคุณ |
Yoo | [ยู] หนึ่งเดียวเท่านั้น เช่น Your only one คนเดียวของคุณ เขาหรือคุณเป็นของเขาคนเดียวเป็นที่ต้องการเป็นที่รักที่กล่าวถึงผู้เดียว |
เกรียน | (n) เกรียน ในสมัยก่อนหมายถึงเด็กนักเรียนที่เรียนอยู่ในชั้น ประถม ถึง มัธยม แต่ในปัจจุบัน การกล่าวคำว่าเกรียนหมายถึง ผู้ใช้ อารมณ์ในการตัดสินปัญหา มากกว่าที่จะใช้ เหตุและผล ขาดความยั้งคิด และทำตัวเดือดร้อนให้แก่คนรอบข้าง มักพบได้ใน เด็ก ประถม ขึ้นไป |
書面 | [しょめん, shomen] เอกสาร (มักใช้หรือพูดในเวลาที่ต้องการจะกล่าวถึงวิธีการ เช่น บอกด้วยปากเปล่า อย่างกรณี 書面 นี้ก็จะเป็นว่า ด้วยเอกสาร หรืออาจจะใช้ในความหมายในลักษณะที่ว่า ในหน้าเอกสาร) ความแตกต่างระหว่าง 書類 ก็คือ 書類 มักใช้ในความหมายถึงเอกสารทั่วไปโดยปกติ, See also: R. 書類 |
申し訳ない | [もうしわけない, moushiwakenai] การกล่าวคำขอโทษ |
陳述 | [ちんじゅつ, chinjutsu] การแถลง(ความรู้สึกนึกคิด), การกล่าวฟ้อง(ของโจทก์) |
ボーカル | [ぼーかる, bokaru] (adj) (โว'เคิล) adj. เกี่ยวกับเสียงเปล่ง, เกี่ยวกับเสียงพูด, เกี่ยวกับเสียงร้อง, แสดงด้วยวาจา. n. เสียงดังกล่าว, เสียงร้อง., S. . vocally adv. |
先生 | [せんせい, sensei] (n) คุณครู อาจารย์ (ไม่ใช้คำนี้เวลากล่าวถึงอาชีพของตัวเอง) |
教師 | [きょうし, kyoushi] (n) คุณครู อาจารย์ ผู้สอน (เมื่อกล่าวถึงอาชีพของตัวเอง) |
先生 | [せんせい, sensei] (n) คุณครู, อาจารย์ (ไม่ใช้คำนี้เวลาจะกล่าวถึง อาชีพของตัวเอง) |
教師 | [きょうし, kyoushi] (n) คุณครู, อาจารย์, ผู้สอน (ใช้เมื่อกล่าวถึงอาชีพของตัวเอง) |
先生 | [せんせい, sensei, sensei , sensei] (n) คุณครู, อาจารย์ (ไม่ใช้คำนี้เวลากล่าวถึงอาชีพของตัวเอง) |
教師 | [きょうし, kyoushi, kyoushi , kyoushi] (n) คุณครู, อาจารย์, ผู้สอน, (ใช้คำนี้เมื่อกล่าวถึงอาชีพของตัวเอง) |
本人 | [ほんにん, honnin] เจ้าตัว บุคคลที่กล่าวถึงนี้ |
すなわち | [すなわち, sunawachi] (exp) นั่นคือ..., กล่าวคือ... |
Angaben | (n) |pl.| คำกล่าว |
Er sagt daß es dunkel ist. | เขากล่าวว่ามันมืดแล้ว He says that it is dark. |
Rede | (n) |die| คำกล่าว, สุนทรพจน์ |
wie gesagt | อย่างที่เคยกล่าวไว้, See also: sagen |
nämlich | กล่าวคือ |
sagen | พูด, กล่าว |sagte, gesagt| |
sagt | กล่าว (รูปอดีต), See also: sagten sagen |
sagte | กล่าว (รูปอดีต), See also: sagten sagen |
sprechen | (vi) |spricht, sprach, gesprochen| พูด, กล่าว, ปราศัย เช่น Wovon sprichst du? เธอพูดถึงอะไรนะ |
zwar | กล่าวคือ |
Herzlichen Glückwunsch! | (phrase) เป็นคำกล่าวแสดงความยินดีจากใจ เช่น Herzlichen Glückwunsch zum Geburtstag! สุขสันต์วันเกิด |
da | ที่นั่น (ใช้อ้างถึงสถานที่ที่ถูกกล่าวก่อนหน้านั้น) เช่น In der Nähe gibt es ein gutes Restaurant. Da können wir miteinander reden., See also: dort |
Unterlippe | (n) |die| ริมฝีปากล่าง, See also: A. Oberlippe |
ausserhalb | (prep) |+ G| นอกเหนือจากเวลาที่กล่าว หรือ นอกเหนือจากขอบเขตที่กล่าว เช่น Ausserhalb der Hochsaison ist es hier sehr ruhig., Unser Arzt ist auch ausserhalb der Sprechzeiten telefonisch erreichbar., Diese Befugnisse liegen ausserhalb meines Kompetenzbereichs., See also: A. innerhalb |
Auf Wiedersehen! | (phrase) ลาก่อน, แล้วพบกันใหม่ (โดยมาก ใช้กล่าวลากับคนที่ไม่ค่อยได้เจอกันบ่อยหรือตามร้านค้า), Syn. Tschüß! |
Bis dann! | บ๊ายบาย, แล้วเจอกัน (ใช้กล่าวลา ไม่ได้มีพิธีรีตองและเป็นที่รู้ว่าเดี๋ยวก็ได้เจอกันอีก), See also: Related: Bis später!, Bis nachher! |
Ostern | (n, uniq) |das, pl. Ostern, ส่วนใหญ่ใช้เป็น Pl.| เทศกาลอีสเตอร์ มีความสำคัญทางศาสนาคริสต์ กล่าวคือ เป็นเทศกาลที่ชาวคริสต์ระลึกถึงการฟื้นคืนชีพของพระเยซู นอกจากนี้ Ostern ยังจัดเป็นเทศกาลฉลองความเขียวชอุ่มและความอุดุมสมบูรณ์ที่ฤดูใบไม้ผลินำมาด้วย |
Spruch | (n) |der, pl. Sprüche| คำขวัญ, คติพจน์, คำกล่าว, สุภาษิตโบราณ, See also: das Sprichwort |